รถหายที่คอนโดฯ ! "นิติบุคคล-บริษัท รปภ." ต้องรับผิดชอบมั้ย? ต่อเนื่องจากเรื่องเดิม
ผมว่าอันนี้มีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆพี่ๆใน TOL ที่อาศัยอยู่ใน
คอนโด หรือ ทั้งหมู่บ้านจัดสรรนะครับ
ลองดูเพื่อไว้ป้องกันและเป็นอุทาหรณ์ครับผม
จากคุณ JackWisc Think of Living.com
.................
เช้ามาคุณโผงขับรถออกจากคอนโดมิเนียม เย็นค่ำทำงานเสร็จขับกลับไป มี รปภ.ที่นิติบุคคลคอนโดมิเนียมจ้างไว้ช่วยโบก ช่วยบอกให้ถอย ให้ซ้ายให้ขวา แล้วจอดไว้ที่ที่จอดรถ ก่อนล็อกเรียบร้อยเดินขึ้นลิฟต์ไปพักผ่อน...
ศาลฎีกาพิพากษายืนคือยืนว่า ไม่ต้องมีใครจ่ายแก่บริษัทประกันสักคนและสักบาท
อีกหนึ่งปัญหาของสังคมปัจจุบันนั่นคือ ทรัพย์สินหาย โดยเฉพาะรถยนต์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีราคาค่อนข้างจะสูง และควรได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดจากเจ้าของ แต่…เมื่อสิ่งนั่นคือสิ่งมีค่าและเป็นที่ต้องการของตลาดจึงเกิดการโจรกรรม ขึ้นคำถามในวันนี้คือ เมื่อรถหายที่คอนโดฯ ใครต้องรับผิดชอบ?
จะว่าไปคอนโดฯ เป็นสถานที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น ทั้งกล้องวงจรปิด พนักงานรักษาความปลอดภัยในการเข้าออกต้องแลกบัตร ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้มีรถยนต์ที่อาศัยในคอนโดฯ อุ่นใจขึ้นมามากพอสมควร แต่เมื่อเกิดรถหาย ใครละจะรับผิดชอบเรื่องนี้ วันนี้เราพอจะมีคำตอบของคำถามให้หายสงสัย
💥 กรณีที่1 หากทางนิติบุคคล ไม่ได้จัดการให้ต้องมีการแลกบัตรหรือแจกสติ๊กเกอร์หน้ารถ หรือแม้กระทั่งการมอบกุญแจไว้กับ พนักงานรักษาความปลอดภัย กรณีดังกล่าว ทางนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชดใช้
ทั้งนี้ ศาลเคยมีคำพิพากษาฎีกา ที่ 3088/2557 โดยเหตุผลในคำพิพากษา มีดังนี้
“นิติบุคคลอาคารชุดไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะดูแลรักษาทรัพย์สินของบุคคลผู้พักอาศัยในอาคารชุดแต่อย่างใด
การจอดรถ ไม่ต้องมอบกุญแจ ไม่ต้องแลกบัตร รวมทั้งไม่มีสติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ
ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า นิติบุคคลอาคารชุด จ้างบริษัท รปภ. มาดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลผู้พักอาศัยในอาคารชุด ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรับฝากรถยนต์ไว้โดยมีบำเหน็จ
เมื่อนิติบุคคล บริษัท รปภ. และ รปภ. เองไม่มีหน้าที่ในการดูแลรักษารถยนต์ ที่ประกันไว้กับบริษัท การที่รถยนต์ดังกล่าวสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรม จึงมิใช่เป็นความรับผิดของนิติบุคคล บริษัท รปภ.และ รปภ.”
(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2557)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 659 ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง
ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย
ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น
Cr: matichonOnline
(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2557)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง
ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย
ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น
Cr: matichonOnline
กรณีที่ 2 หากนิติบุคคล กำหนดไว้เป็นระเบียบของคอนโดมิเนียมว่าต้องมีบัตรผ่านเข้าออก หาก ไม่มีก็ต้องแลกบัตร หรือแจ้งชื่อ ที่อยู่ ไว้ กรณีนี้ หากรถหายไป ทางนิติบุคคล จะต้องรับผิดชอบ (รับผิดชอบร่วมกับบริษัทรักษาความปลอดภัย)
ทั้งนี้ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5259/2551 ดังนี้
“รถยนต์ของโจทก์ ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุดติดหน้ากระจกรถยนต์ ตามระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุด พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดำเนินการแลกบัตร หรือให้แจ้งชื่อที่อยู่ ของผู้ขับรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออกอาคารชุด คืนเกิดเหตุ พนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณป้อมยามของทางเข้าออกอาคารชุด เห็นแล้วว่า รถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุด มิให้เรียกให้หยุดรถเพื่อแลกบัตร หรือให้ผู้ขับรถยนต์แจ้งชื่อ ที่อยู่ตามระเบียบ กลับปล่อยให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านออกไป อันเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยบกพร่องของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นการประมาทเลินเล่อ กระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น นายจ้างของพนักงานรักษาความปลอดภัย จึงต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย”
ที่มา :: รายการฎีกาชาวบ้าน – MatichonTVขอบคุณภาพจาก :: http://car250.com
ที่มา :: รายการฎีกาชาวบ้าน – MatichonTVขอบคุณภาพจาก :: http://car250.com
No comments:
Post a Comment