6/01/2018

หม่าม้าหมุดเกมส์ 2561 ประกวดร้องเพลงลูกกรุงหญิง รุ่น 60-64 และ 65 ปีขึ้นไป

พิธีเปิด หม่าม้าหมุดเกมส์ กีฬา สันทนาการ ผู้สูงอายุ วันที่ 30 พค - 2 มิย 2561 โดย กรมพลศึกษา จัดที่ จังหวัดระยอง
VDO

รอบชิงชนะเลิศ ลูกกรุงหญิง แห่งประเทศไทย รุ่นอายุ 65 ปีขึ้นไป

หม่าม้าหมุดเกมส์ ประกาศชิงชนะเลิศ ลูกกรุงหญิง รุ่นอายุ 65 ปีขึ้นไป



ขรส ขม สุพัตรา หรรษา พี่แอ๊ด ตัวแทนแพร่ ลูกกรุงหญิง รุ่นอายุ 65 ขึ้นไป


กระซิบสวาท  ตัวแทนจาก อยุธยา ชนะเลิศลูกกรุงหญิง รุ่นอายุ 60-65


หม่าม้าหมุดเกมส์ ประกาศ ลูกกรุงหญิง รุ่นอายุ 60-65 ปี


ความคิดถึงเป็นส่วนหนึ่งของความรัก สุวณีย์ ตัวแทนจาก นครสวรรค์ 
ลูกกรุงหญิงที่ 3 รุ่นอายุ 60-65 ปี


หวานรัก หญิงลูกกรุง ที่ 4 รุ่นอายุ 65 ขึ้นไป จากจังหวัดอุดร คุณวราพร 

โดยสรุปในด้านเพลงประกวดของลูกกรุงหญิง เป็นเพลงสุนทราภรณ์ ถึง 
5 เพลง โดยที่ 1 ชนะเลิศของทั้ง 2 รุ่นอายุ คือ เพลงสุนทราภรณ์ ดังนี้

รุ่นอายุ 60-64 ปี ชนะเลิศ และ รองอันดับ 1 = 
2 เพลงของสุนทราภรณ์
  • ชนะเลิศ จากจังหวัดอยุธยา เพลง กระซิบสวาท ต้นฉบับ บุษยา รังสี  
  • รองชนะเลิศ  อันดับ 1 จากจังหวัดกาญจนบุรี เพลงแผ่นดินทอง ต้นฉบับ สุวณีย์
  • รองชนะเลิศ  อันดับ 2 จากจังหวัดนครสวรรค์ เพลงความคิดถึงเป็นส่วนหนึ่งของความรัก


รุ่นอายุ 65 ปีขึ้นไป ชนะเลิศ และ รองอันดับ 2 และ 3
= 3 เพลงของสุนทราภรณ์
  • ชนะเลิศ จากจังหวัดพิจิตร เพลงขวัญใจเจ้าทุย ต้นฉบับ รวงทอง ทองลั่นทม  
  • รองชนะเลิศ  อันดับ 1 จากจังหวัดสุพรรณ เพลงตะแลงแกงแคลงใจ ต้นฉบับ ศรวณี
  • รองชนะเลิศ  อันดับ 2 จากจังหวัดนนทบุรี เพลงยอดอนงค์
  • รองชนะเลิศ  อันดับ 3 จากจังหวัดอุดร เพลงหวานรัก ต้นฉบับ รวงทอง ทองลั่นทม
  • รองชนะเลิศ  อันดับ 4 จากจังหวัดแพร่ เพลงคมสวาท ต้นฉบับ ดาวใจ ไพจิตร
ขอรำลึกถึงเพลงที่ชนะเลิศ และ เป็นเพลงที่ส่งให้ ครูรวงทอง ดังแบบที่เรียกว่า พลุแตกชั่วข้ามคืน มาลองฟังเกร็ดเพลง....
คัดลอกข้อความบางตอนมาจาก  ครูใหญ่ นภายน หนังสือ ต่วยตูน พอกเก็ตแมกาซีน ปีที่ ๓๖ เล่มที่ ๒๒ ปักษ์หลัง กรกฎาคม ๒๕๕๐



เมื่อพูดถึงเพลงขวัญใจเจ้าทุยแล้ว ผมมีเกร็ดบ้างเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเพลงนี้

 ครั้งหนึ่งที่วงดนตรีสุนทราภรณ์หรือว่าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์นั่นแหละ
 จะต้องไปออกรายการที่ไทยทีวีช่อง ๔ บางขุนพรหมเป็นประจำทุกเดือน
 ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของกรมประชาสัมพันธ์ เมื่อส่งแต่เพลงล้วนๆก็กลัวท่านผู้ชม
 ทางบ้านจะเบื่อ จึงได้จัดให้เป็นการแสดงละครเพลงบ้าง ผู้ที่เขียนบทให้ก็มี
 คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์พี่ชอุ่ม ปัญจพรรค์ธาตรี (วิชัย โกกิลกนิษฐ์),
เล็ก โตปาน, สมศักดิ์ เทพานนท์ เมื่อถึงวันที่จะไปออกอากาศ
พวกเรานักดนตรีทั้งหลายจะต้องขนเครื่องไปถึงสถานีประมาณ ๑๐ โมงเช้า
เพื่อจะได้ดูที่ทางตั้งวงดนตรี ส่วนนักร้องทั้งหลายก็จะต้องไปต่อเพลง
กับ ครูสริ ยงยุทธ ผู้ที่ได้ร้องเพลงใหม่ในจำนวนนี้ก็มี รวงทอง ทองลั่นทม 
(ตอนหลังมาเปลี่ยนเป็น ทองลั่นธม”)
 จะร้องเพลงสำคัญในเรื่องคือเพลง “ขวัญใจเจ้าทุย” ความจริงคุณรวงทอง
 ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนว่าจะต้องร้องเพลง เมื่อมาถึงสถานี ครูสริก็เรียกให้
 คุณรวงทองมาต่อเพลงเพราะว่าเป็นเพลงใหม่ พอครูสริยื่นเนื้อร้องที่รับมาจาก
 หัวหน้าเอื้อส่งให้ คุณรวงทองก็โวยวายใหญ่พร้อมกับบ่นว่า จะให้เล่นกับสัตว์เลี้ยง
 มันก็น่าจะเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น นกแก้วนกขุนทองกระรอกกระแต
 หรือว่าตัวใหญ่หน่อยก็เป็นชะนี แต่นี่จะให้ไปเล่นกับควาย พร้อมพูดกับครูสริว่า
 หนูไม่ร้อง” แล้วร้องไห้และไม่ยอมต่อเพลง ครู่เดียวหัวหน้าเอื้อก็มาถึงสถานี
 ได้รับคำบอกเล่าจากครูสริว่ารวงทองไม่ยอมร้อง เท่านั้นแหละหัวหน้าโกรธมาก
 ถึงกับพูดกับคุณรวงทองว่า ถ้าไม่ยอมร้องเพลงนี้ ก็ไม่ต้องมาร้องร่วมวงกัน
 คุณรวงทองจึงยอมมาต่อเพลงกับครูสริ ร้องไปด้วยน้ำตาหยดไปด้วย
จนกระทั่งจบเพลง จากนั้นก็เลิกซ้อม


ครั้นเวลา ๒ ทุ่มก็มาซ้อมเพลงกับครูสริอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ

ครั้นได้เวลาการแสดง ทุกคนเตรียมตัวเข้าฉากตามที่นัดแนะกันไว้
วงดนตรีเริ่มบรรเลงเพลงไตเติ้ลจบลงแล้วกล้องก็จับภาพไปที่กระท่อมปลายนา
 มีชายชรานั่งอยู่บนแคร่กำลังสูบบุหรี่ใบจาก ตอนนี้วงดนตรีขึ้นอินโทรดักชั่น
ของเพลงแบ็คกราวนด์ คือเพลงไทยเดิม กล้องตัดภาพ
 ไปเป็นพระอาทิตย์กำลังทอแสง ก็มีเสียงร้องเพลงดังขึ้น


(เดี่ยว) แสงทองส่องนภากระจ่าง

(หมู่) พร่างพรายกระจ่างฟ้า


เมื่อเพลงจบท่อนนี้ ดนตรีก็เปลี่ยนเป็นจังหวะรำวง



(หมู่) โน่นตะวัน ส่องมาสดใส

ช้าทำไมรีบไปดีกว่า
พวกเราชาววัฒนา
มาเถิดมาจงอย่าไถล


* ตอนนี้กล้องตัดภาพเห็นชาวนากำลังเดินแกจอบแบกเสียมเป็นแถวตามคันนา

 เพลงนี้มีชื่อว่า ชาวนาวัฒนา” แต่งทำนองโดยครูเวส สุนทรจามร คำร้องโดย
 ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เมื่อเพลงจบ กล้องเฟดอินไปที่กระท่อม และดอลลี่เห็น
 ชายชรานั่งอยู่ที่เดิม*


(ชายชราพูด) รวงเอ๋ยเอ็งไปจูงไอ้ทุยออกมาแทนพ่อที

(เสียงเด็กสาว) จ๊ะพ่อหนูจะไปจูงมันออกไปนาเดี๋ยวนี้ล่ะจ้ะ


เมื่อรวงทองพูดจบ กล้องตัดภาพไปที่รวงทองกำลังยืนอยู่ข้างเจ้าทุย

 ดนตรีขึ้นอินโทรดักชั่นเพลง ขวัญใจเจ้าทุย รวงทองก็ร้อง
เจ้าทุยอยู่ไหน ได้ยินไหมใครมากู่กู่ เรียกหาเจ้าอยู่อยู่ หนใดรีบมา
เจ้าทุยเพื่อนฉัน ออกมาหากันดีกว่า อย่าเฉยเลยอย่าอย่า มะมาไวๆ
เกิดมามีแต่ทุยเป็นเพื่อนกัน ค่ำเช้าทำงาน ไม่ทิ้งกัน ไม่หายไป
ข้ามีข้าวและน้ำนำมาให้ อีกทั้งฟางกองใหญ่ อย่าช้าใย อย่าช้าใย (ฯลฯ)


พอกล้องเฟดอินจบเรื่องเท่านั้นแหละ เจ้าประคุณเอ๋ยสายโทรศัพท์ของทีวี

ช่อง ๔ กือบไหม้จนฟังไม่รู้ว่าใครเป็นใครชมเชยรายการแสดงละครเรื่องนี้
ของคุณรวงทองกับเพลงขวัญใจเจ้าทุย ทำให้ทุกคนหน้าบานไปตามๆกัน
รวงทองถึงกับเดินไปกราบหัวหน้าเอื้อที่แต่งเพลงนี้ให้ร้อง ครั้งนี้แหละ
ที่ทำให้คุณรวงทองดังเป็นพลุแตก ต่อมา คำว่า เจ้าทุย” ก็ขายดี
ไม่ว่าเพลงไหนๆที่แต่งออกมาใหม่ในตอนนั้น จะต้องมีคำว่า
เจ้าทุยเป็นหลัก ทั้งๆที่เจ้าทุยมันไม่รู้เรื่องเลยที่เอาชื่อของมัน
 มาหากินกันจนร่ำรวย ในคืนนั้นมันก็ยืนกินฟางที่เขากองไว้เป็นฉากหลัง
 นี่ถ้ามันรู้ว่าเอามันมายืนทรมาน มันคงไม่ยอมมาเข้าฉากเป็นแน่แท้
........ขอบใจเจ้าทุย ♥♥

ขอขอบคุณข้อมูลจาก อมตะเพลงสุนทราภรณ์

No comments: