4/18/2011

Travel Difficulties: Alzheimer's Disease - โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์



โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งของโรคที่พบบ่อยในกลุ่มโรคผิดปกติของสมอง " dementia" ซึ่ง
มีการถดถอยหน้าที่ของสมอง จำเหตุการณ์และช่วงเวลาได้ไม่แน่นอน ความจำเสื่อม มีปฏิกิริยา
โต้ตอบอย่างแปลกๆ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม อารมณ์จะไม่สม่ำเสมอ
กลุ่มผิดปกติของสมองที่เรียก dementia นี้ อาจเป็นผลมาจากเส้นเลือดในสมองแข็งและแคบ
ลง ในคนสูงอายุ หรืออาจไม่ทราบสาเหตุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ และอื่นๆ คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
จะมีการเสียพื้นที่ของสมอง ที่ควบคุมความคิด ความจำและการเรียบเรียงภาษาพูด จะมีอาการ
สับสนและไม่สามารถปฏิบัติงานที่เคยทำตามปกติได้

The Alzheimers-Reversing Breakthrough หนังสือที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
A Groundbreaking Scientifically Proven Method For Curing AlzheimersClick Here!

ในระยะเวลาแรกๆ คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะขี้หลงขี้ลืมเล็กๆ น้อยๆ (mild forgetfulness)
และในระยะต่อมาจะมีพฤติกรรมและบุคลิกเปลี่ยนไป เช่น ก้าวร้าว และความทรงจำความนึกคิด
และการมีเหตุมีผล (cognitive) เสื่อมลงอย่างมาก

สาเหตุของอัลไซเมอร์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีนักวิจัยกำลังหาสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
อัลไซเมอร์ และก็ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หาย สิ่งที่รู้คือโรคนี้มักจะเกิดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี
ขึ้นไป และอาจจะพบในคนที่มีอายุน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่อัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์มี
อัตราเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย คนอเมริกาประมาณ 4 ล้านคน กำลังทนทุกข์ทรมานจาก
โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งร้อยละ 70 ของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะรักษาอยู่กับบ้าน โดยมีญาติพี่น้อง
ลูก หลานเป็นผู้ดูแล ผู้ที่ดูแล
คนเป็นโรคนี้ก็จะเสียสุขภาพจิตไปด้วย ซึ่งนับวันก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆแพทย์วินิจฉัยได้
อย่างไรว่าคนไข้เป็นโรคอัลไซเมอร์คณะผู้วิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาว์วาร์ดได้
รายงานเมื่อเร็วๆนี้ว่า พวกเขาได้ใช้ยาหยอดตาที่ชื่อว่า โทรพิกาไมด์ (tropicamide) ซึ่ง
ปกติจักษุแพทย์ใช้ขยายม่านตาก่อนจะตรวจจอรับภาพ พบว่าคนไข้อัลไซเมอร์มีการตอบสนอง
ต่อยานี้เร็วกว่าปกติ (highly senstiive) ในการตรวจศพ ส่วนสมองของคนที่เสียชีวิตจาก
โรคอัลไซเมอร์ จะพบ " plagues" เป็นปื้นๆ ประกอบไปด้วยกลุ่มของเส้นประสาทที่เสีย
หรือถูกทำลายไปแล้ว และพบเซลล์ " drendrites" อยู่รอบๆ บริเวณที่ติดสีแดง (amyloid)
และในพื้นที่เดียวกันนั้นจะเป็น " tangle" ซึ่งเป็นใยประสาทที่ยุ่งเหยิงเป็นบริเวณในพื้นที่
ของสมองที่เสีย สิ่งที่ตรวจพบดังกล่าวพยาธิแพทย์ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

คนไข้ที่มีชีวิตอยู่แพทย์จะวินิจฉัย ว่าคนนั้นน่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (probable
diagnosis) ได้จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเชาว์ และสติปัญญาของคนไข้
แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะวินิจฉัยแยกโรค เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคแพ้ยา โรคซึมเศร้า
มะเร็งของสมอง และความจำเสื่อมจากหลอดเลือดสมองแข็งหรือตีบจากอายุออกไปก่อน แล้ว
จะเลือกอัลไซเมอร์เป็นข้อสรุป
ในการซักประวัติจะต้องดูประวัติปัจจุบัน ประวัติอตีด และการตรวจในขณะที่ซักประวัติว่า
คนไข้สามารถปฏิบัติภารกิจที่เคยทำได้แล้วอยู่ๆทำไม่ได้ เป็นส่วนประกอบด้วย การตรวจ
เพื่อแยกโรคอื่นที่กล่าวมาข้างต้น จะต้องตรวจเลือดดูหน้าที่ของต่อมไทรอยด์ ตรวจปัสสาวะ
และตรวจน้ำไขสันหลัง (spinal fluid) ตรวจคอมพิวเตอร์โตโมแกรมของสมองด้วยแม่เหล็ก
(Magnetic Resonance lmaging = MRI) หรือตรวจ PET (Positron Emission
Testing) เพื่อจะดูพื้นที่ของสมองที่เสียไป การตรวจจิตและประสาท จะมีการประเมิน
วุฒิภาวะของสมอง (mentality) ในส่วนที่เกี่ยวกับความจำ
ยกตัวอย่าง เช่น ตั้งโจทย์ให้คนไข้แก้ปัญหา สังเกตความเอาใจใส่ (สมาธิ) การคำนวณและ
การใช้ภาษาต่างๆ การตรวจหลายๆ อย่าง ดังกล่าวมาแล้วจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัย
แยกโรค และได้
ข้อสรุปว่าคนไข้นั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ แม้การวิเคราะห์วินิจฉัยดังกล่าวจะไม่ถึง
100% แต่ในศูนย์โรคอัลไซเมอร์ที่มีผู้เชี่ยวชาญอยู่จะวินิจฉัยได้แม่นยำ 80 ถึง 90%

การรักษา อัลไซเมอร์ มีหลายระดับ ระดับแรก จะหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ จนถึงระดับที่เป็นมาก
ความจำเสื่อมลงมากพร้อมกับมีอาการก้าวร้าว แม้ว่าการพัฒนาไปสู่ระยะสุดท้ายจะแปร
เปลี่ยนไปเป็นคนละคน
โดยทั่วไปอาการของโรคตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งตายและใช้เวลาอยู่ถึงระหว่าง 5-20 ปี
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายได้ หรือแม้แต่จะยับยั้งการพัฒนาไปสู่ระยะสุดท้าย อย่างไรก็
ตามในทางการวิจัยเขาได้วิจัยยาชื่อ แทครีน (tacrine hydrochloride) ซึ่งคณะ
กรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อณุญาติให้จดทะเบียนใช้ได้ตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1993 และมีแนวโน้มว่ายานี้ช่วยให้คนไข้บรรเทาอาการได้มากทีเดียว อันดับแรกการ
ให้ยานี้จะช่วยให้คนไข้ควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มาช่วย
บริบาลเขาสะดวกสบายในการที่จะดูแลคนไข้ คนไข้นอนหลับได้ลดการเดินหรือเคลื่อนไหว
โดยไม่รู้จุดหมาย ลดความกังวล ลดความซึมเศร้า
คนไข้อัลไซเมอร์ ต้องได้รับการตรวจดูแลติดตามโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อทราบอาการ
ของโรคว่าทรุดเร็วแค่ไหน จะได้รักษาความก้าวร้าวของคนไข้ ขณะที่ไปเยี่ยมตรวจคนไข้
แพทย์ต้องแนะนำวิธีบริบาลคนไข้ให้แก่ญาติที่ดูแลคนไข้วันต่อวัน เมื่อโรคก้าวหน้าไปมาก
การรักษาต้องใกล้ชิด อาจต้องอยู่ในโรงพยาบาล
ในช่วงสุดท้ายของโรค ต้องให้กำลังใจญาติ และดูแลสุขภาพของพวกเขาด้วย

The Alzheimers-Reversing Breakthrough หนังสือที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
A Groundbreaking Scientifically Proven Method For Curing AlzheimersClick Here!

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์เป็นอาการสมองเสื่อม (DEMENTIA ) ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากการ
ตายของเซลล์สมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตร
ประจำวันของผู้ป่วย ในช่วง 8-10 ปี หลังจากเริ่มมีอาการและไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยโรค
อัลไซเมอร์จะมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตามปกติ แม้กระทั่งการแปรงฟัน โรคนี้ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ตรง
ที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เป็นความผิดปกติที่มีผลโดยตรงต่อสมองซึ่งเป็นศูนย์การสื่อสารที่น่ามหัศจรรย์
ในการควบคุมความ ความรู้สึก และการตอบสนองของเรา การสื่อสารที่สำคัญต่าง ๆ ใน
ร่างกายจะถูกส่งผ่านสมอง โดยมีสารเคมีที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (NEURO-
TRANSMITTER) เป็นตัวสื่อสาร สารนี้จะช่วยนำคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะเป้าหมาย
เพื่อให้เกิดการทำงานขึ้น สำหรับสารสื่อประสาทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความจำของเราคือ
สารอะเซติลโคลีน (ACETYLCHOLINE) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารนี้ช่วยทำให้มนุษย์
มีความสามารถในการจำ ดังนั้นปัญหาที่รุนแรงอาจเกิดขึ้น หากในสมองมีสารนี้ลดน้อยลงมาก
จะทำให้เซลล์สมองมีปัญหาในการสื่อสาร และพบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีระดับของสาร
อะเซติลโคลีนลดลงอย่างมาก ซึ่งเชื่อว่าเป็นเหตุทำให้ความสามารถในการจำและการใช้
เหตุผลของผู้ป่วยลดลงตามไปด้วย ปริมาณสารอะเซติลโคลีนนี้ส่วนหนึ่งถูกควบคุมโดย
เอนไซม์ที่มีชื่อว่า อะเซติล-โคลีนเอสเทอเรส ซึ่งจะทำหน้าที่ย่อยอะเซติลโคลีน ทำให้สาร
สื่อประสาทนี้มีปริมาณน้อยลงในสมอง ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์คือการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
อะเซติลโคลีนเอสเทอเรสและการเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
มีปัจจัยที่ไม่อาจจะควบคุมได้หลายประการที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ปัจจัยที่สำคัญ
มากที่สุดคือ อายุ ในคนอายุ 80 ปี มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงกว่าคนมีอายุ 65-69 ปี ถึง 10 เท่า
ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งประชากรมีอายุยาวนานขึ้นจึงทำให้พบ
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นด้วย ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากกว่า
4 ล้านคน ภายในปี 2040 คาดว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นเป็น 7-10 ล้านคน

อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือกรรมพันธุ์
จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีโอกาสเป็นโรคนี้มาก
กว่าคนทั่วไป

การตรวจวินิจฉัย
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีลักษณะอาการและพฤติกรรมที่เป็นรูปแบบเด่นชัด ทำให้สามารถคาดเดา
ได้ว่าผู้ป่วยรายใดตกเป็นเหยื่อของโรคนี้โดยดูจากลักษณะอาการและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญ จะใช้วิธีการตรวจสอบหลายวิธีในการประเมินอาการของผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยว่าเป็น
โรคอัลไซเมอร์หรือwbr โดยการตรวจสอบความสามารถในการรับรู้ของผู้ป่วย เช่น ความจำ
ความใส่ใจ การใช้ภาษา การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา รวมถึงการทดสอบทางห้องปฎิบัติการ
และการเอ็กซเรย์สมอง (BRAIN SCAN) เพื่อให้การวินิจฉัยโรคถูกต้องมากขึ้น
แพทย์จะถามถึงความสามารถของผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น
- การกิน
- การอาบน้ำ
- การเดิน
- การแต่งตัว
- การซื้อของ
- การทำอาหาร
- การใช้โทรศัพท์
การวินิจฉัยโรคทางคลินิกด้วยวิธีดังกล่าวให้ความถูกต้องสูงถึง 80-90% ในการบ่งชี้ว่าผู้ป่วย
เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ มีเพียงวิธีเดียวที่จะให้แน่ใจร้อยเปอร์เซนต์ ก็คือการตรวจชิ้นเนื้อ
สมอง

โรคอัลไซเมอร์ รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
พบว่าในปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นการรักษาเพื่อให้อาการ
ดีขึ้น ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เหตุผลหนึ่งที่ผู้ป่วย
โรคอัลไซเมอร์มีความจำเสื่อมเนื่องจากมีระดับของสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน จึงมีการ
พัฒนายาซึ่งสามารถยับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ซึ่งน่าจะให้สารอะเซติลโคลีน
คงเหลืออยู่มากขึ้น ปัจจุบันมียาที่เรียกว่าสารยับยั้งอะเซติลโคลีนเอสเทอเรส ซึ่งช่วยลดการ
ย่อยสารอะเซติลโคลีนและเป็นการรักษาระดับของอะเซติลโคลีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นและระยะปานกลางในการรักษาอาการความจำเสื่อม

สารยับยั้งอะเซติลโคลีนเอสเทอเรสหลายตัวอาจมีอาการข้างเคียงในคนไข้บางคน เช่น ทำให้
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในระยะต้นๆ มักมีพฤติกรรมต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ซึมเศร้านอนไม่หลับ
ตื่นตกใจง่าย
ก้าวร้าว ไม่สนใจทำกิจวัตรประจำวัน การให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ผู้ป่วย
ลดความวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ พร้อมทั้งการให้ยาเพื่อรักษาอาการ
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม
ที่สุด

The Alzheimers-Reversing Breakthrough หนังสือที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
A Groundbreaking Scientifically Proven Method For Curing AlzheimersClick Here!

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์
แบบทดสอบเบื้องต้น เพื่อประเมินว่าคนที่คุณรักอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ ทำเครื่องหมายลง
ในช่องว่าง ที่คุณพบว่าเป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณ
...... อาการหลงลืม เช่น ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้
...... หลงลืมสิ่งของ จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหนและคิดว่ามีคนขโมยไป
...... สับสนเรื่องเวลา สถานที่ กลับบ้านไม่ถูก
...... ปัญหาเรื่องการพูด ลืมหรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ
...... ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก
...... จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า
...... ปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์
...... พฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว
...... ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น
หากพบว่าผู้สูงอายุในครอบครัวมีปัญหาดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า อาจเป็นไปได้ว่า
ผู้สูงอายุท่านนั้นกำลังเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์หรืออาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ

การดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยโรค อัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ของสมองส่วนต่างๆ แสดงออกเป็น
กลุ่มอาการในเรื่องความจำบกพร่อง สติปัญญา ความสามารถลดลง การตัดสินใจไม่เหมาะสม
ปัญหาทางบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง อารมณ์ผิดปกติ พฤติกรรมบกพร่อง การเคลื่อนไหวผิดปกติ
จนถึงอาการของโรคจิตที่มีประสาทหลอน หลงผิดได้
โรคอัลไซเมอร์มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจไม่เฉพาะต่อผู้ป่วยเอง ยังมีผลกระทบต่อญาติ
หรือผู้ดูแลที่ต้องรับภาระที่มีปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจ อาจก่อให้เกิดความเครียดเหนื่อยล้า
เบื่อหน่าย กังวล ผิดหวัง เศร้า ว้าเหว่เหมือนถูกทอดทิ้ง บางครั้งผู้ดูแลหรือญาติ อาจเกิด
ปัญหา หรือมีคำถามต่าง ๆ อยากปรึกษาแต่….. ไม่รู้จะถามใครดี…..
...... ถามอะไรบ้าง
...... สิ่งที่ทำไปถูกต้องดีหรือยัง
...... รู้สึกผิดคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอารมณ์ในผู้ป่วย

บทบาทของผู้ดูแลหรือญาติ
1. ยอมรับว่าโรคนี้รักษาไม่หาย แต่การช่วยดูแลจะทำให้ผลกระทบด้านต่าง ๆ ลดลง
2. เข้าใจว่าโรคนี้ก่อให้เกิดอาการได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิด สติปัญญา
ความจำที่ บกพร่องและถดถอย ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ รวมทั้งอาการทางอารมณ์
ไม่ว่าจะซึมเศร้า หรือก้าวร้าว รวมทั้งอาการทางกาย เพื่อการช่วยเหลือดูแลได้อย่างถูกต้อง
3. ดูแลเอาใจใส่ สังเกตุว่าอาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ เช่น นอนไม่หลับ
แยกตัว เครียด อาจมีสิ่งกระตุ้น ช่วยแก้ไขสาเหตุเหล่านั้น ช่วยลดความเครียดแก่ผู้ป่วย
4. ให้ความอบอุ่น ดูแลใกล้ชิด ด้วยการติดต่อสื่อสารที่ถูกต้อง อย่าเผชิญหน้า โต้เถียง หรือ
ต่อว่าลงโทษ อาจแสดงได้โดยการติดต่อ สื่อสาร นอกจากคำพูด เช่นการแสดงสีหน้า
ท่าทาง สายตารวมทั้งการสัมผัส
5. สนับสนุนให้กำลังใจและช่วยเหลือ กระตุ้น ให้ผู้ป่วยทำในสิ่งที่ทำได้ และช่วยเหลือ
ตามความเหมาะสมกับระยะของอาการของโรค
6. มีส่วนช่วยในการรักษา สังเกตุถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ ก้าวร้าวมากขึ้น
มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ซึมเศร้า ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา

ตัวอย่างการแก้ปัญหาและแนวทางแก้ไข
1. เมื่อผู้ป่วยมีความบกพร่องในเรื่องของความทรงจำ การถามคำถาม เดิมซ้ำ ๆ ไม่ทำกิจกรรม
ตามที่เคยบอกไว้ พูดแต่เรื่องเก่า ๆ จำวันเวลาสถานที่ไม่ได้ หรือจำคนใกล้ชิดไม่ได้
ตอบคำถามช้า ๆ ชัด ๆ ด้วยคำพูดง่าย ๆให้ความมั่นใจในคำตอบ เบนความสนใจไปเรื่องอื่น
ใช้เหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ป่วยมีส่วนร่วมนำสู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าผู้อื่นเพราะ
อาจทำให้ผู้ป่วยขายหน้า อาย ลดความภูมิใจ และคุณค่าของตัวเองใช้สัญลักษณ์หรือสิ่ง
ทดแทนโดยการใช้สิ่งของ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่าโต้แย้ง โกรธหรือดุว่าผู้ป่วย
ในเรื่องของความจำบกพร่อง
2. เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาทางอารมณ์ ก้าวร้าว หงุดหงิด ฉุนเฉียว อย่าโต้เถียง หรือต่อว่าผู้ป่วย
โดยตรง อย่ากระตุ้นอารมณ์โกรธ หาว่าอะไรเป็นสาเหตุ บางครั้งผู้ป่วยไม่ได้โกรธผู้ดูแล
แต่เกิดจากความคิดของผู้ป่วยและอาการที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เอง
3. เมื่อผู้ป่วยพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง ไม่อาบน้ำ เร่ร่อน มีพฤติกรรม
ทางเพศไม่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์เพื่ออาจใช้ยาควบคุมพฤติกรรม

การดูแลที่ถูกต้อง
1. มีเวลาพักสลับสับเปลี่ยน ไม่ใช่ดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาไม่มีเวลาพักเลย จะก่อให้เกิดความ
เครียดและปัญหาอารมณ์ง่ายขึ้น
2. หากำลังใจ แรงสนับสนุนจากผู้รู้ เช่น ผู้มีประสบการณ์ แพทย์ บุคลากร สาธารณสุข เพื่อ
การปรับตัวและแก้ปัญหาเพื่อการดูแลได้ถูกต้อง
3. ปรึกษาหารือข้อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ดูแลด้วยกันให้เกิดประสบการณ์ในการดูแล
มากขึ้น และเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
4. ขอความช่วยเหลือหรือรับการดูแลรักษาเมื่อรู้ว่าตัวเองมีความเครียด หรือปัญหาอารมณ์
เกิดขึ้น

The Alzheimers-Reversing Breakthrough หนังสือที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
A Groundbreaking Scientifically Proven Method For Curing AlzheimersClick Here!
--------------------------------------------------------------------------------

คุณอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่
ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถทราบสาเหตุของโรคได้อย่างแน่ชัด แต่ก็ได้มีการระบุ ปัจจัยหลายๆ
อย่างที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Possible Risk Factors for
Alzheimer's disease) คือ
1. การสูงอายุ โดยภาวะการเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น โดย
ช่วงอายุระหว่าง 65 - 74 ปี พบว่าจะมีอัตราเสี่ยงโดยเฉลี่ย 3%
ช่วงอายุระหว่าง 75 - 84 ปี พบว่ามีอัตราเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 19%
2. ประวัติครอบครัว กรรมพันธุ์ และ Down Syndrome จากการศึกษาพบว่าใน
คู่แฝดแท้ ถ้าแฝดคนหนึ่ง ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้ว คู่แฝดอีกคนหนึ่งจะมี
ภาวะความเสี่ยงสูงถึง 40-50% และนอกจากนั้นถ้าหากมีญาติในครอบครัว
ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ พบว่าก็จะมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นเพิ่มสูงขึ้น
ในเรื่องกรรมพันธุ์พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของยีนและในผู้ที่เป็น Down
Syndrome ถ้ามีอายุยืนถึง 40-50 ปี จะพบว่ามีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้น
3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่ายีนจะเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงอัลไซเมอร์ใน
คู่แฝดแท้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งแวดล้อมก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เสี่ยงต่อ
การเกิดโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากใพบว่าคู่แฝดนั้นอาจได้รับการวินิจฉัยว่า
เป็นโรคอัลไซเมอร์ต่างกันถึง 15 ปี และผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในฮาวาย
จะมีอัตรา การเป็นอัลไซเมอร์สูงกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยุ่ในญี่ปุ่น
4. การตรวจพบโปรตีนชนิดหนึ่งในยีนที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 19 ผลจากหลายๆ
การวิจัย ระบุว่า apolipoprotein E4 (APOE4)จะเพิ่มภาวะความเสี่ยงต่อการ
เป็นโรคอัลไซเมอร์การค้นพบครั้งนี้จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการป้องกัน
ได้ถ้ามีการพัฒนายา
5. การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ อย่างไม่สม่ำเสมอ จากการศึกษา
พบว่าผู้ที่ใช้ยาในกลุ่ม NSAIDS เป็นประจำ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี มี
อัตราเสี่ยงน้อยลงถึง 30-60 % ที่จะเป็นอัลไซเมอร์ งานวิจัยอีกขั้นหนึ่งระบุว่า
หลังจากที่มีการใช้ NSAIDS เพิ่มขึ้นพบว่า ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
และอารมณ์ลดลง อย่างไรก็ตามปัญหาของการใช้ยากลุ่มนี้คือมีผลต่อ
กระเพาะอาหาร เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
6. การใช้หรือไม่ได้ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนระยะสั่นในวัยหมดประจำเดือนจาก
หลายๆกรณีการศึกษาวิจัย พบว่าหญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมน
ทดแทนสามารถป้องกันหรือ ชลอโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจน
อาจมีผลต่อการช่วยรักษาโรคนี้ได้ ผลเสียของการใช้วิธีนี้ก็คือ ทำให้มีภาวะ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึง 20-30 % และยังเสี่ยงต่อการ
เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นถ้าใช้ฮอร์โมนเอสดตรเจนเพียงอย่างเดียวโดย
ไม่มีการใช้โปรเจสเตอโรน ร่วมด้วย
7. ภาวะขาดสารอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์ เป็นที่เชื่อกันว่า โมเลกุออกซิเจน
ในร่างกาย หรทอเรียกว่า Free radicles เป็นต้นต่อของการเกิดมะเร็งโรค
ลำไส้และยังมีส่วนทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ สารอาหารที่มีสารแอนตี้
ออกซิแดนท์เป็นองค์ประกอบ วิตามินเอ / ซี / อี / ซีเลเนียม
8. ภาวะเกิดสมองกระทบกระเทือน มีหลักฐานที่ชี้แนะว่า การที่สมองได้รับการ
กระทบกระเทือนจนทำให้หมดสติจะมีผลทำให้เกิดโอกาสเป็นอัลไซเมอร์สูงขึ้น
9. มีระวัติ Down Syndrome ในครอบครัว ถ้ามีญาติใกล้ชิดป็นโรคดาวน์
ซินโดรม จะปรากฏว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น
10. การสัมผัสหรือเจือปนกับสารสังกะสี จำนวนมากนักวิจัยชาวออสเตรเลีย
พบว่า การได้รับสารสังกะสีมากเกินไป จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบาง
อย่างของสมองคล้ายกับที่พบในอัลไซเมอร์ ยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้
11. การสัมผัสหรือเจือปนกับสารอลูมิเนียมสารอลูมิเนียมปกติจะอยู่ในเนื้อเยื่อ
ของพยาธสภาพบางอย่างในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ได้มีการศึกษาหนึ่ง
ระบุว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์ กับปริมาณ
น้ำดื่มที่มีอลูมิเนียมสูงกว่า 11 ไมโครกรัม/ลิตร ขึ้นไป อย่างไรก็ตามยังหา
ข้อสรุปความสัมพันธืนี้ไม่ได้
thailabonline.com

The Alzheimers-Reversing Breakthrough หนังสือที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
A Groundbreaking Scientifically Proven Method For Curing AlzheimersClick Here!

No comments: