1/12/2015

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ Tuna; ญี่ปุ่น: マグロ

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ [1](อังกฤษTunaญี่ปุ่นマグロ) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในเผ่า Thunnini วงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุลThunnus [2]จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาซิมิ
ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก[3] เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก[4]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า "ทูน่า" มาจากคำว่า Thunnus ซึ่งเป็นภาษาละติน จากภาษากรีกโบราณθύννος(thýnnos)tunny-ปลา – ซึ่งแปลงมาจากคำว่า θύνω(thynō) หมายถึง "ที่พุ่ง; ที่โผ"[5]
ส่วนคำว่า "ปลาโอ" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาไทย [3]จะหมายถึง ปลาทูน่าขนาดเล็ก ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-100 เซนติเมตร[1]

การจำแนก[แก้]

  • วงศ์ Scombridae
    • เผ่า Thunnini: ปลาทูน่า
      • สกุล Allothunnus:
      • สกุล Auxis:
      • สกุล Euthynnus:
      • สกุล Katsuwonus: ปลาทูน่าท้องแถบ
      • สกุล Thunnus: ปลาอัลบาคอร์, ปลาทูน่าแท้
        • สกุลย่อย Thunnus (Thunnus): กลุ่มปลาทูน่าครีบน้ำเงิน
        • สกุลย่อย Thunnus (Neothunnus): กลุ่มปลาทูน่าครีบเหลือง[2]
การจับปลาทูน่าในประเทศญี่ปุ่น
ปลาทูน่า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดหาง 458 เซนติเมตร น้ำหนัก 684 กิโลกรัม โดยปลาทูน่าจัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เพราะมีรูปร่างเหมือนตอร์ปิโด สามารถว่ายน้ำได้เร็ว 70-74 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ กระโดดขึ้นไป:1.0 1.1 คู่มือการจำแนกปลาโอและปลาทูน่าในภาคสนาม
  2. ↑ กระโดดขึ้นไป:2.0 2.1 Graham, Jeffrey B.; Dickson, Kathryn A. (2004). "Tuna Comparative Physiology" (PDF). The Journal of Experimental Biology 207: 4015–4024. doi:10.1242/jeb.01267. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  3. ↑ กระโดดขึ้นไป:3.0 3.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 966. ISBN 974-8122-79-4
  4. ↑ กระโดดขึ้นไป:4.0 4.1 หน้า 125-126, เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park คอลัมน์ Blue Planet โดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2: กรกฎาคม 2012
  5. กระโดดขึ้น Liddell, H.G.; Scott, R.; Whiton, J.M. (1887). A lexicon abridged from Liddell and Scott's Greek-English lexicon (17th ed.). Ginn & Co.

No comments: