Business Plan หรือ แผนธุรกิจ นั้นเป็นเสมือนกรอบแนวทางที่ทำให้การดำเนินการธุรกิจเป็นไปตามแผนงานที่วางเอาไว้ ทำให้ผู้ประกอบการทั่วไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหม่มีความคิดและเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ประกอบการที่กำลังคิดจะขยายกิจการ แผนธุรกิจก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้ร่วมทุน หรือสถาบันการเงินที่คุณต้องกู้ยืมเงินอีกด้วย
แผนธุรกิจเปรียบเสมือนแผนที่ที่คอยบอกทาง ยิ่งนักเดินทางมีแผนที่ที่ดีมากเท่าไหร่ ก็จะไปถึงจุดมุ่งหมายได้เร็วเท่านั้น
แผนธุรกิจจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการจะประกอบธุรกิจ ทั้งการจัดทำก็ยังมีวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน ทำให้การที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะการทำแผนธุรกิจที่ไม่ดีอาจส่งผลต่อกิจการในระยะยาวได้ การจะเขียนแผนธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมขั้นพื้นฐานก่อน ซึ่งเราจะอธิบายเทคนิคดังกล่าวควบคู่ไปกับส่วนองค์ประกอบของแผนธุรกิจ ดังต่อไปนี้
เป็นส่วนที่สรุปภาพรวมของแผนธุรกิจนั้นๆไว้ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่ผู้ร่วมทุน และสถาบันการเงินจะอ่านก่อนเป็นอย่างแรก และตัดสินใจว่าจะอ่านต่อจนจบหรือไม่ ผู้ประกอบการจึงควรสละเวลาเป็นพิเศษในการทำให้บทสรุปผู้บริหารนี้น่าเชื่อถือ หนักแน่น และน่าติดตาม โดยเน้นหนักเรื่องโอกาสทางการตลาดที่ธุรกิจของเราคิดจะทำ และชี้ให้เห็นว่าสินค้าและบริการของเรานั้นจะสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการตลาดที่ว่าได้อย่างไรบ้างเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ร่วมทุน และสถาบันการเงินให้การสนับสนุนธุรกิจของคุณ
เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการก่อตั้ง การจดทะเบียน การดำเนินธุรกิจ แนวคิดและที่มาของการมองเห็นตลาด ไปจนถึงการคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การเขียนส่วนนี้ควรจะเพิ่มเรื่องเป้าหมายในอนาคตไว้ด้วยเพื่อให้ผู้ร่วมทุน และสถาบันการเงินได้หัวคิดก้าวหน้าของบริษัท
การวิเคราะห์สถานการณ์เป็นข้อมูลที่จำเป็นในการกำหนดทิศทาง กลยุทธิ์ และแผนการดำเนินงานของกิจการ จึงเป็นงานอันดับแรกที่คุณควรกระทำ เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นั้นเรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยภายในอย่างจุดแข็ง (Strength) และ จุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ รวมไปถึงโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก
คือ ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องได้รับในช่วงระยะเวลาของแผนนั่นเอง การวางแผนเป้าหมายทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือนั้นคุณจะต้องแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ ที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การเขียนแผนการตลาด ผู้เขียนจะต้องอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ ร่วมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจที่ได้กล่าวไปในข้อ 3 และข้อสี่ เพื่อใช้หาเป้าหมายทางการตลาด ทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายนั้น และสร้างกลยุทธิ์ต่างๆ เช่น กลยุทธ์การตลาดเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน กลยุทธ์เพื่อการเติบโตทางการตลาด และกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด
การเขียนแผนการผลิตนี้ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนเรื่องแผนการผลิตและการปฏิบัติให้ละเอียด เพราะมันเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของกิจการในการจัดการกระบวนการผลิตและปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ที่สำคัญต้องมุ่งเน้นประเด็นการจัดการระบบการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิตให้เป็นผลผลิต ซึ่งในที่นี้คือจำนวนหรือมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตได้นั่นเอง
ส่วนนี้คือการเขียนแผนผังโครงสร้างขององค์กรนั่นเอง ผู้จัดทำแผนจะต้องระบุตำแหน่ง หน้าที่ และประโยชน์ของหน่วยงานในองค์กร คณะกรรมการ คณะผู้บริหาร ไปจนถึงผู้ร่วมทุน นอกจากนี้การเขียนแผนการจัดการยังต้องแสดงให้เห็นว่าคุณผู้บริหารรวมตัวกันในบทบาทของทีมงานที่ดี มีความสมดุลเรื่องความรู้ ความสามารถ และมีความชำนาญในงานที่ทำอีกด้วย
แผนการเงินจะประกอบด้วยสมมติฐานต่างๆทางการเงิน เช่น ประมาณการงบดุล ประมาณการงบกระแสเงินสด จำนวนเดือนที่จะถึงจุดคุ้มทุนและกระแสเงินสดเป็นบวก การควบคุมต้นทุน เป็นต้น แผนการเงินนั้นมีส่วนช่วยให้ผู้ร่วมลงทุนและสถานบันการเงินเกิดความมั่นใจ เพราะถ้าหากเราตั้งสมมติฐานทางการเงินอย่างสมเหตุสมผลเราก็จะดูน่าเชื่อถือ ในทางตรงกันข้ามถ้าเราตั้งสมมติฐานทางการเงินไม่สมเหตุสมผลก็จะทำให้เราดูอ่อนประสบการณ์ไปโดยปริยาย
คือการจัดทำรายละเอียดของกลยุทธิ์แต่ละด้านให้เป็นรูปธรรมนั่นเอง ผู้ประกอบการอาจจะสร้างเป็นตารางแจกแจงให้เห็นเป้าหมาย กลยุทธ์ วิธีการ งบประมาณ และระยะเวลาดำเนินการ เป็นรายเดือนหรือรายปี เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจก็ได้
การมีแผนฉุกเฉินจะช่วยทำให้ผู้ร่วมลงทุน และสถาบันการเงินเห็นความพร้อมของคุณ
เป็นแผนสุดท้ายที่จำเป็นต้องมีเพื่อเอาไว้รับมือกับสถานการณ์ที่ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น คู่แข่งขายสินค้าตัดราคา สินค้าถูกเลียนแบบ หรือวัตถุดิบไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้กิจการได้รับผลในด้านลบ ผู้ประกอบการควรอธิบายเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นควบคู่กับแผนฉุกเฉินเอาไว้ล่วงหน้า เพราะนอกจากจะได้เป็นการเตรียมการในการแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้ผู้ร่วมลงทุน และสถาบันการเงินเห็นความพร้อมของเราอีกด้วย
การเขียนแผนธุรกิจที่ดีนั้นนอกจากจะทำให้กิจการมีแผนการดำเนินการทางธุรกิจที่ชัดเจนแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงสะท้อนให้เห็นความเป็นมืออาชีพซึ่งมีการเตรียมพร้อมที่ดี และมีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมของผู้ประกอบการอีกด้วย กล่าวคือถ้าเปรียบผู้ประกอบการเป็นนักเดินทางแล้ว Business Plan หรือแผนธุรกิจก็เปรียบเสมือนแผนที่ที่คอยบอกทาง และถ้านักเดินทางมีแผนที่ที่ดีมากเท่าไหร่เขาก็จะไปถึงจุดมุ่งหมายได้เร็วเท่านั้น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่มีแผนธุรกิจที่ยิ่งดีเท่าไหร่ เขาก็จะยิ่งประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เร็วขึ้นเท่านั้นเช่นกัน
แผนธุรกิจ (Business Plan)
แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นแผนงานทางธุรกิจที่แสดงกิจกรรมต่างๆ
ที่จะต้องปฏิบัติในการลงทุนประกอบการ
โดยมีจุดเริ่มต้นจากจะผลิตสินค้าและบริการอะไร มีกระบวนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง
และผลจากการปฏิบัติออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ใช้งบประมาณและกำลังคนเท่าไร
เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการแก่ลูกค้า และจะบริหารธุรกิจอย่างไรธุรกิจจึงจะอยู่รอด
(มาณพ ชิวธนาสุนท. 2547 : 4)
แผนธุรกิจ ควรมีเนื้อหาได้ใจความครบถ้วน กระชับไม่เยิ่นเย้อ
จัดทำในรูปแบบที่เรียบร้อย อ่านง่าย เป็นระเบียบ และที่สำคัญ คือ แผนงานธุรกิจต้องมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์
มีรายละเอียดเพียงพอให้เข้าใจและดึงดูดใจทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นประกอบการธุรกิจนี้
ในการจัดทำแผนธุรกิจกำหนดให้ต้องมีหัวข้อหลักอย่างน้อย 10
หัวข้อ ดังต่อไปนี้
แผนธุรกิจ
|
แนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ
|
1.
บทสรุป
ผู้บริหาร
|
เป็นส่วนที่สรุปใจความสำคัญ ๆ
ของแผนธุรกิจทั้งหมด และต้องเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ในตัวเอง (Stand alone document) โดยจะชี้ให้เห็นประเด็น ที่มีความสำคัญ คือ
จะชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสจริงเกิดขึ้นได้ในตลาดสำหรับธุรกิจที่กำลังคิดจะทำ และชี้ให้เห็นว่า
สินค้าและบริการที่จะทำนั้น สามารถใช้โอกาสในตลาดให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร
บทสรุปมีความจำเป็นต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อ หนักแน่น
มีความเป็นไปได้ เนื่องจากบทสรุปของ ผู้บริหารเป็นเพียง "บทสรุป"
จึงต้องเขียนให้สั้น กระชับ และกะทัดรัด (ไม่ควรเกิน 2 - 3
หน้า) และเป็นส่วนสุดท้ายในการเขียนแผนทั้งหมด
เนื้อหาในบทสรุปของผู้บริหารควรได้กล่าวถึง
- จะทำธุรกิจอะไร
มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจนั้นอย่างไร โดยอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของสินค้าและ
บริการ
- โอกาสและกลยุทธ์ บอกถึงความน่าสนใจ
ตลอดจนแนวโน้มของธุรกิจ ที่จะแสดงว่าโอกาสทางการตลาดนั้นเปิดทางให้
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
อธิบายถึงลักษณะทางการตลาด กลุ่มลูกค้าหลัก การวางแผนการเข้าถึงลูกค้า
- ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ
รวมถึงทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ และความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน
- ทีมผู้บริหาร สรุปถึงความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และทักษะ ควรจำกัดไม่เกิน 3 - 5 คน และเป็น ผู้ที่มีผลกระทบต่ออนาคต และ
ความสำเร็จของธุรกิจ
- แผนการเงิน/การลงทุนโดยระบุถึงเงินลงทุน
จะทำอะไร ผลตอบแทนของการลงทุน จะเป็นเท่าไร
|
แผนธุรกิจ
|
แนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ
|
2
องค์การธุรกิจและอุตสาหกรรม
|
ในส่วนนี้เป็นการเกริ่นนำเกี่ยวกับปูมหลังของธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม
โดยให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อตั้ง / จดทะเบียน
ตลอดจนแนวคิด และการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด
แนวทางในการดำเนินงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
รวมทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่ประสบมา
อธิบายถึงการคิดค้น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะนำเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เป็นการกล่าวภาพรวมของอุตสาหกรรม และแนวโนมการเติบโต
ตลอดจนลักษณะ เฉพาะของอุตสาหกรรม เพื่อให ผูอานแผนธุรกิจ ไดเขาใจถึงลักษณะสําคัญของอุตสาหกรรมที่กิจการดําเนินงานอยู และทราบถึงแนวโนมที่จะเปนไปในอนาคต
ทั้งนี้ เพื่อเปนประโยชน ตอการประเมินความเปนไปไดในการลงทุน
หรือความเหมาะสมในการใหสินเชื่อแก กิจการ
ที่สําคัญเปนการทบทวนแกเจาของกิจการ อีกครั้งวาอุตสาหกรรมที่ตนดําเนินงานอยูนั้นนาลงทุนจริงหรือไม และอยูในยุคที่กําลังเติบโตหรือตกต่ำ
ควรมีหลักฐานอ้างอิงประกอบด้วย
|
3. สินค้าและบริการ
|
นำเสนอรายละเอียดของสินค้าและบริการในแง่มุมประโยชน์ใช้สอย
หน้าที่พิเศษหรือคุณสมบัติที่เหนือกว่าสินค้าและบริการของคู่แข่งขัน และถ้ามีความเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ ทางปัญญา
เช่น สิทธิบัตร ควรระบุไว้ด้วย
การพัฒนาสินค้าหรือบริการ
มีโอกาสในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนทำให้สินค้าหรือบริการมีความหลากหลาย
ครบถ้วนตามที่ลูกค้าต้องการ
และถ้าสินค้าที่นำเสนอเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในท้องตลาด
ควรมีรูปแสดงให้เห็นลักษณะของสินค้าหรือตัวต้นแบบด้วย
กระทำการประเมินศักยภาพของสินค้าและบริการในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยประเมินว่าสินค้าอยู่ในช่วงใดของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
จะมีศักยภาพทางการตลาดเป็นอย่างไร ราคาสินค้าควรเป็นเท่าไร ควรทำการตลาดอย่างไร
ให้ประเมินและวิเคราะห์ให้มีความชัดเจน
|
4. การประเมินศักยภาพทางการตลาด
|
ศักยภาพทางการตลาดเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการดำเนินงาน
เพราะการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจต้องมีความมั่นใจในรายได้ที่จะรับเข้ามาในระดับหนึ่งที่พอเพียงให้ธุรกิจมีกำไรอยู่รอดได้ในขั้นต้น
และมีกระแสเงินหมุนเวียนเข้ามาหล่อเลี้ยงสภาพคล่องของธุรกิจ
นอกจากนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักส่วนใหญ่ของธุรกิจ
ซึ่งต้องระบุได้ชัดเจนอาจจำแนกได้ตามอายุ
พฤติกรรมการซื้อ การใช้ เขตพื้นที่ตามภูมิศาสตร์
รวมทั้งต้องประเมินขนาดของตลาดอันจะทำให้สามารถประเมินยอดขายได้คร่าว ๆ
อาจนับเป็นจำนวนลูกค้าหรือจำนวนเงิน และขนาดของตลาดควรใหญ่พอเพียงที่ธุรกิจจะลงทุน
นอกจากนั้นผู้ประกอบการควรคำนึงถึงส่วนแบ่งตลาด (Market share) ที่จะได้เมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรม
ควรประเมินว่าธุรกิจสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้กี่เปอร์เซ็นถ้าทั้งอุตสาหกรรมคิดเป็น
100 %
การแข่งขัน
เป็นการเปรียบเทียบธุรกิจที่ดำเนินการกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันโดยใช้ “SWOT ANALYSIS” แบ่งออกเป็น
2 ส่วน คือ
การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เป็นการตรวจสอบความสามารถ
ความพร้อมของกิจการในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ และ
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้
ในลักษณะที่เป็นโอกาส (Opportunities) หรืออุปสรรค (Threats)ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการควร ได้เริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ด้วย
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
|
แผนธุรกิจ
|
แนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ
|
|
เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการ
ไม่สามารถควบคุมได้ โดยทั่วไปปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญที่ผู้ประกอบการ
ควรจะต้องให้ความสนใจ มี 7 ประการ สามารถเรียกง่าย ๆ ว่า “MC-STEPS”
โดยมีความหมายพอสรุป ได้ ดังนี้
M = Market คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
C = Competition คือ สถานการณ์การแข่งขัน
S = Social คือ ค่านิยมทางวัฒนธรรมของสังคม เช่น การใช้สินค้าที่มียี่ห้อ
T = Technology คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
E = Economic คือ สถานการณ์
P = Political &
Legal คือ สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ
S = Suppliers คือ กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ / กลุ่มผู้ผลิตและเครือข่าย
|
5. วิสัยทัศน์ พันธกิจ
และเป้าหมาย
|
หัวขอนี้จําเปนอยางยิ่งที่จะตองระบุใหชัดเจนเพื่อใหผูอานแผนธุรกิจไดทราบถึงทิศทางที่กิจการจะ กาว ไป และเปาหมายในอนาคตทั้งระยะสั้น และระยะยาวที่กิจการจะทํา
• วิสัยทัศน (Vision) คือ การกลาวโดยสรุปถึงภาพของกิจการที่ตองการจะเปนในอนาคต 3-5 ปขางหนา โดยมีพื้นฐานอยูบนความเปนจริงในปจจุบัน (ควรเขียนไมเกิน 5 บรรทัด)
• พันธกิจ (
• เปาหมาย (Goal)
คือ
การกําหนดสิ่งที่กิจการจะลงมือทําเพื่อใหบรรลุตามพันธกิจ
มีกําหนดเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน โดยระบุเปนขอ ๆ แบงเปนเปาหมายระยะสั้น (1 ป) ระยะปานกลาง
(3 ป) และระยะยาว (5 ปขึ้นไป) ทั้งนี้เปาหมายในแตละระยะเวลาควรสอดคลองกัน สามารถวัดผลลัพทเปนตัวเลขได
และกําหนดเวลาแลวเสร็จอยางชัดเจน
- เปาหมายระยะสั้น กําหนดแลวเสร็จภายใน 1 ป
- เปาหมายระยะปานกลาง กําหนดแลวเสร็จภายใน 3-5
ป
- เปาหมายระยะยาว
กําหนดแลวเสร็จ 5 ปขึ้นไป
|
6. แผนงานการตลาด
|
ในการทำธุรกิจนั้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมุมมองทางด้านการตลาด ผู้ประกอบการจะต้องหาให้ได้
หรือมองให้ออกว่าผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วผลิตสินค้า
หรือบริการเพื่อสนองความต้องการนั้น กำไรที่เกิดขึ้นนั้นคือผลงาน
จากการทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด แผนการตลาดเป็นจุดเริ่มต้น
ของธุรกิจว่าจะมีความเป็นไปได้แค่ไหน โดยทั่วไปจะเป็นการวิเคราะห์
เพื่อกำหนดแผนการตลาด ดังนี้
5.1 กำหนดขอบเขตธุรกิจหรือขอบเขตการตลาด (Market Definition)
5.2
การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis) มีองค์ประกอบที่สำคัญ
ดังนี้
วิเคราะห์ลูกค้า วิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ต้นทุนและวิเคราะห์แนวโน้ม ส่วนใหญ่
5.3
การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) โดยทั่วไปจะนิยมแบ่งส่วนตลาดใน
4 ลักษณะ คือ ภูมิศาสตร์
ประชากรศาสตร์
จิตวิทยาและพฤติกรรม (ภาค อายุ รูปแบบการดำเนินชีวิต โอกาสซื้อบ่อยแค่ไหน ในเมืองหรือชนบท เพศ ชั้นวรรณะ สูง กลาง ต่ำ ความภักดีต่อสินค้า รายได้ ฯลฯ)
กลยุทธ์ทางการตลาด
โดยทั่วไปการวางแผนทางด้านการตลาด มักจะมีขั้นตอนง่าย ๆ เรียกว่า STP&4P' s ดังนี้
|
แผนธุรกิจ
|
แนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ
|
|
1. S มาจาก Segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาด
ดังได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ 5.3
2. T มาจาก Targeting คือ
การกำหนดลูกค้าเป้าหมายว่ากลุ่มไหนที่เราจะเลือก
3. P มาจาก
Positioning คือ การสร้างภาพพจน์ในใจของลูกค้า
4. 4 P' s มาจากส่วนผสมที่ลงตัวในโปรแกรมทางการตลาด 4 ตัว
เปรียบเสมือนแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ทางการตลาด
ดังนี้ 1) Product คือ สินค้า/บริการ 2) Price คือ ราคา 3) Place คือ
ช่องทางการจำหน่าย และ 4) Promotion คือ การส่งเสริมทางการตลาด
นอกจากส่วนประสมทางการตลาด
4 P' s ที่กล่าวมาแล้ว ยังมี
5.
2) Customer Benefits คือ ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ 3)
Convenience คือ เป็นสินค้าที่สะดวก และ 4) Communication
คือ การรับรู้ข่าวสารสินค้า
|
7. แผนการบริหารจัดการและแผนดำเนินงาน
|
เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กร
และผู้บริหารที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจด้านอื่น ๆ ของกิจการ
มีแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่ดี ในส่วนนี้จะประกอบ ไปด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
• สถานที่ตั้ง
• รูปแบบธุรกิจ
•โครงสร้างองค์กร และผังบริหาร
• ทีมผูบริหารและหลักการบริหารงาน
• แผนด้านบุคลากร
จำนวน เวลาทำงาน ค่าตอบแทน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ
• เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์ (ซื้อ เช่า หรือเช่าซื้อ)
|
8. แผนงานการผลิต/ปฏิบัติการ
|
แผนการผลิตและปฏิบัติการที่ดีต้องสะท้อนความสามารถขององค์กรใน
“การจัดการกระบวนการผลิตและปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล” เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจให้กับธุรกิจ
โดยมุ่งเน้นประเด็นการจัดการไปยังกระบวนการแปลงสภาพวัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิต
ในการวางแผนปฏิบัติการ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในประเด็นต่อไปนี้ 1) คุณภาพ 2) การออกแบบสินค้าและบริการ 3) การออกแบบกระบวนการผลิต
และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิต 4)
การออกแบบผังของสถานประกอบการ และ 5) การออกแบบระบบงาน
และวางแผนอัตรากำลังคนในกระบวนการผลิต
ขั้นตอนการผลิต (ให้จัดทำ Flow
Chart แสดงให้เห็นขั้นตอนการผลิตสินค้า ตั้งแต่จัดเตรียมวัตถุดิบ
จนกระทั่งสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป
และระบุเวลาโดยประมาณของแต่ละขั้นตอนหากสามารถระบุได้)
• ทำเลที่ตั้ง และการวางผังโรงงาน
• เครื่องจักรและอุปกรณ์
• กำลังการผลิต/การให้บริการ และปริมาณที่ผลิต
/การให้บริการ
• ต้นทุนการผลิตสินค้า/การให้บริการ
-
ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง / วัสดุสิ้นเปลือง
ต้นทุนแรงงานทางตรง
-
ต้นทุนค่าใช้จ่ายโรงงาน
|
แผนธุรกิจ
|
แนวทางการจัดทำแผนธุรกิจ
|
9. แผนงานการเงิน
|
• ตารางแสดงโครงสรางการใชเงินลงทุน (หากบางรายการไมสามารถแจกแจงโดยละเอียดได
ใหใสตัวเลขเปนยอดรวม)
• ประมาณการทางการเงินของกิจการในอนาคต 3-5 ปี
-
สมมติฐานทางการบัญชีและการเงิน (บอกสมมติฐาน
ซึ่งเป็นที่มาของตัวเลขที่จะนำไปใช้คำนวณประมาณการงบการเงินของกิจการ)
-
ประมาณการงบการเงิน ประกอบด้วย
1. งบกำไรขาดทุน 2. งบดุล 3. งบประมาณเงินสด/ งบกระแสเงินสด
• การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน
- จุดคุมทุน (Break-even Point)
- ระยะเวลาคืนทุน (Pay-back Period)
- มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน (Net Present Value : NPV)
- อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)
|
10. แผนฉุกเฉิน
|
เป็นการบอกถึงเรื่องถ้าเกิดการผิดพลาด
กล่าวคือ ถ้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
ยังมีแผนอื่นมารองรับที่จะทำอะไรต่อไปได้กับธุรกิจนี้ อาทิเช่น แปรผันธุรกิจ
หรือบริการนี้ไปยังธุรกิจอื่นไปยังแหล่งอื่น หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น เป็นต้น
ตัวอย่าง ของประเด็นความเสี่ยง และ การเตรียมความพร้อม
ที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน อาทิเช่น
ยอดขาย/เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ตามคาดหมาย
ทำให้เงินสดหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง และธนาคารไม่ให้วงเงินกู้หรือลดวงเงินกู้
คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า
ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่อุตสาหกรรม
หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกต้อง
สินค้าผลิตไม่ทันตามคำสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
สินค้าผลิตมากจนเกินไป
ทำให้มีสินค้าในสต็อกเหลือมาก
ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้
|
11. ภาคผนวก
|
อาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของคู่แข่งขันที่มีอยู่ในตลาด
ของผู้ประกอบการเดิม มีจำนวนมากน้อยเท่าไร และแสดงให้เห็นถึง
โอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่ง ระบุถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน
ทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ เน้นถึงจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบ
กับผลิตภัณฑ์เดิม บริการเดิมในตลาด แสดงให้เห็นถึงโอกาส ความได้เปรียบในด้านต่าง
ๆ
|
No comments:
Post a Comment