ธุรกิจนำเที่ยว
ลักษณะธุรกิจ
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการ
หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจร
หรือมัคคุเทศก์ ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมุ่งหมายถึง "การนำเที่ยว"
เป็นสำคัญ โดยจะเป็นการนำเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ
การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
ประเภทบุคคลธรรมดา
มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน
หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน
ผู้ประกอบธุรกิจบริการนำเที่ยวประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ประเภทนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
กรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียน ณ
สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 - 7 และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ต่างจังหวัด
ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
- ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน 1,000 บาท
-
ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน
ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก
คนละ 200 บาท
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 - 25,000 บาท
- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด 5,000 - 250,000 บาท
ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา
ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่
ที่ตั้งของสถานประกอบการ
· ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี
เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (ภ.ง.ด.90 และ 94)
· หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.
30
นิติบุคคล
ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่
ที่ตั้งของสถานประกอบการ
· ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (ภ.ง.ด.50 และ 51)
· หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.
30
ภาษีป้าย
ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่
จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน
และจะต้องยื่นชำระภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ ยื่นขอ ณ
สำนักงานเขต ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ
องค์การบริหารส่วนตำบล
ซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม
สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ
กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจ
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
สถานที่ขออนุญาต
กรุงเทพฯ
และจังหวัดภาคกลาง ยื่นขอ ณ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กทม.
จังหวัด อื่น ยื่นขอ ณ
สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ประจำภูมิภาค
ภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งอยู่ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 100 -500 บาท
ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดนำเที่ยว
ค่าหลักประกัน ตั้งแต่ 10,000 - 500,000 บาท/2 ปี
ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดนำเที่ยว
นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้าน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ
รายละเอียดการลงทุน
ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น
จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ
จำแนกเป็น
· ค่าตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน
คิดเป็นร้อยละ 48
· เงินทุนหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 52 ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเป็นค่าเช่าสถานที่ ค่ามัคคุเทศก์
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์ เป็นต้น
อัตราผลตอบแทนทางการเงิน
อัตราผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจนำเที่ยวขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของธุรกิจภาวะการแข่งขัน
และความสามารถในการบริหารธุรกิจ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากรายได้ทั้งปี ประมาณ
ร้อยละ 9 ส่วนผลตอบแทนที่ได้จากเงินลงทุนทั้งหมด ประมาณร้อยละ 13 ต่อปี
โดยจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืน ภายในระยะเวลาประมาณ 4 ปี
การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม
ปัจจัยการตั้งราคา
ประกอบด้วย
· ต้นทุน
· ลักษณะของกลุ่มลูกค้า สนใจด้านคุณภาพ หรือ ราคา
· ช่วงเวลาการให้บริการ
ในหรือนอกฤดูการท่องเที่ยว
· ปริมาณของการซื้อบริการในแต่ละครั้ง
· ค่าบริการของการผู้ประกอบกิจการรายอื่นระดับเดียวกันในท้องตลาด
โครงสร้างราคา
คำนวณโดย ต้นทุนผันแปร บวก ต้นทุนคงที่จัดสรร
บวก กำไรที่ต้องการ
ต้นทุนผันแปร ประกอบด้วย ค่าเช่ายานพาหนะ ค่าโรงแรม/ที่พักแรม ค่าน้ำมันรถ และค่ามัคคุเทศก์ เป็นต้น
ต้นทุนคงที่จัดสรร
ประกอบด้วย ค่าเช่าสถานที่ ทำการ
เงินเดือนพนักงาน ค่าบริการสาธารณูปโภค ค่าเสื่อม ราคาสิ่งปลูกสร้างและ
เครื่องมืออุปกรณ์
การบริหาร/การจัดการ
โครงสร้างองค์กร
ประกอบด้วยงานหลักดังนี้
1. ด้านการบริหาร
รับผิดชอบด้านบัญชี การเงิน จัดซื้อ บุคคล การตลาด ธุรการ และบริหารงานทั่วไปด้านการให้บริการ
2. ด้านบริการลูกค้า
รับผิดชอบด้านการจัดนำเที่ยว จำหน่ายโปรแกรมการท่องเที่ยว รับจองตั๋วโรงแรม เครื่องบิน รถไฟ และบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องการการท่องเที่ยว
พนักงานและการอบรมพนักงาน
พนักงาน
·
ธุรกิจนำเที่ยวจะมีพนักงานประจำเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า
· การจ้างมัคคุเทศก์
จะพิจารณาจากผลการทดลองงาน เพื่อกำหนดอัตราค่าจ้าง
จำนวนมัคคุเทศก์จะขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่มาใช้บริการ
การอบรมพนักงาน
จะเน้นการให้บริการ เลือกบุคลากรที่มีบุคลิกภาพที่ดี และมีใจรักด้านบริการ
วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค
ข้อดีและข้อด้อย
ข้อดี
1.
เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก
โดยเฉพาะการเป็นตัวแทนรับจองตั๋วเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำลงทุนต่ำ
เครื่องมืออุปกรณ์ไม่แพง สามารถหาซื้อง่าย
2.
ผู้ประกอบกิจการที่รักการเดินทางท่องเที่ยวสามารถหาความรู้เพิ่มเติมทักษะประสบการณ์ได้ตลอดเวลา
ข้อด้อย
1.
พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีใจรักด้านการบริการจะหาได้ค่อนข้างยากมัคคุเทศก์ที่มีความสามารถหาได้ยาก
2.
ทำเลที่เหมาะสมมีค่อนข้างจำกัด
ต้องเสียค่าเช่าในอัตราสูง
โอกาสและอุปสรรค
โอกาส
1.
ผู้ใช้บริการนำเที่ยวในปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สนใจใช้บริการเพิ่มขึ้น
2.
รัฐบาลโดย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยว
3.
ค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ราคาสินค้า อาหารและที่พักในประเทศถูกลง
จูงใจให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
4.
ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นจำนวนมากและมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
5.
ประเทศไทยมีการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและการคมนาคมสะดวกรวดเร็ว
อุปสรรค
1.
การปรับราคาของค่าโดยสารเครื่องบิน
รถทัวร์และค่าใช้จ่ายด้านที่พัก/โรงแรม
2.
แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งที่มีผู้ไปใช้บริการจำนวนมากขาดการปรับปรุงพัฒนาทำให้มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
3.
การจราจรในกรุงเทพค่อนข้างหนาแน่น
ติดขัดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน
4.
ปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ข้อเสนอแนะ
ด้านการบริหารจัดการ
1.
ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในธุรกิจให้บริการของตนเอง
2.
ผู้ประกอบกิจการต้องมีความเป็นผู้นำและมีพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
3.
ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
4.
ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกระดับ
และมีระบบสิ่งจูงใจที่เหมาะสม
5.
สร้างความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
6.
ควรดำเนินการให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภาครัฐ
7.
ควรจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง
8.
เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับการบริหารธุรกิจอย่างใกล้ชิด
ด้านการตลาด
การบริการและสถานที่ให้บริการ
การบริการ
1.
ให้บริการที่รวดเร็ว
และตรงต่อเวลา แก่ผู้มาใช้บริการ
2.
ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์
จริงใจ ยืดหยุ่น และเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ
3.
สร้างตราหรือเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้าระลึกและจดจำได้ง่าย
4.
สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ
สถานที่ให้บริการ
1. เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมและสะดวกต่อการเดินทางมาติดต่อ
2. ตกแต่งสำนักงานให้เหมาะสม
สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การส่งเสริมการขาย
1. ลงโฆษณาในสื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2. ทำโบชัวร์ แผ่นพับ
และเอกสารอื่นๆเพื่อเผยแพร่และแนะนำบริการ เพื่อแจกจ่ายยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ด้านบัญชีและการเงิน
1.
ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
2.
มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม
ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป
3.
บริหารด้านการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
4.
พยายามนำกำไรจากการดำเนินงานมาเป็นเงินทุนสำรองหรือใช้สำหรับการขยายธุรกิจ
5.
แยกบัญชีและการเงินระหว่างของธุรกิจและส่วนตัว
6.
ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง
7.
การนำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีและอื่นๆมาช่วยในการทำงาน
ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
โทร 0-2547-5954-5 โทรสาร 0-2547-5954
ตัวอย่าง รายละเอียดเงินลงทุนของธุรกิจนำเที่ยว
รายการ จำนวนเงิน(บาท)
ค่าตกแต่งสำนักงาน 65,000
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน
-
ชุดรับแขก
3,400
-
โต๊ะ/เก้าอี้ 17,000
-
ตู้เอกสาร/ตู้โชว์ 11,000
-
เครื่องปรับอากาศ 40,000
-
ตู้เย็น
5,200
-
เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ 126,000
-
เครื่องถ่ายเอกสาร 40,000
-
เครื่องโทรสาร
8,800
-
เครื่องโทรศัพท์ 36,000
-
เครื่องคิดเลข
2,800
-
เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ 12,000
รวม 302,200
เงินทุนหมุนเวียน 390,000
รวม 757,200
ที่มา ประมาณการจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบกิจการจำนวน 10
ราย ในช่วงเดือน
ธันวาคม
พ.ศ.2543-มกราคม พ.ศ.2544 และปรับรายการลงทุนซึ่งผู้ประกอบกิจการ
ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนและมีความจำเป็นต่ำออก
ตัวอย่าง รายละเอียดรายรับ - รายจ่าย ของธุรกิจนำเที่ยว
รายการ จำนวนเงิน(บาท)
รายรับ 1,776,000
รายจ่าย
-
เงินเดือนพนักงาน
641,400
-
ค่าจ้างรายวัน
73,200
-
ค่าเช่าสถานที่
193,440
-
ค่าเช่ายานพาหนะ
144,000
-
ค่าเช่าเครื่องมืออุปกรณ์
28,200
-
ค่าวัสดุสิ้นเปลือง
14,550
-
ค่าน้ำมัน
36,000
-
ค่าน้ำประปา
1,572
-
ค่าไฟฟ้า
49,800
-
ค่าโทรศัพท์
85,800
-
ค่าประกันภัย
32,635
-
ค่าภาษีต่างๆ
10,140
-
ค่าต่อทะเบียน
7,000
-
ค่าทำบัญชี
17,000
-
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
60,460
-
ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย
155,958
รวม 1,551,155
กำไร(ขาดทุน)ก่อนหักภาษีเงินได้
224,845
หัก
ภาษีเงินได้(30%)
67,454
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ
157,392
ที่มา ค่าเฉลี่ยจากผลประกอบการปี พ.ศ.2543
ของผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย
ตัวอย่าง การคำนวณราคา
ผู้ประกอบกิจการนำเที่ยวรายหนึ่งลงทุนเช่าอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 1 คูหา อายุสัญญาเช่า 3
ปี ค่าเช่าเดือนละ 7,000 บาท
มีพนักงานประจำ 3 คนและมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ต้นทุนคงที่
1.1 ต้นทุนคงที่ที่เป็นตัวเงิน (ต่อปี)
(1)
ค่าเช่าอาคาร = 84,000 บาท
(2)
เงินเดือนพนักงาน = 180,000 บาท
(3)
ค่าไฟฟ้า = 48,000 บาท
(4)
ค่าน้ำประปา = 6,000 บาท
(5)
ค่าโทรศัพท์ = 240,000 บาท
(6)
ค่าประกันภัย = 20,000 บาท
(7)
ค่าภาษี = 50,000 บาท
(8)
ค่าทำบัญชี = 36,000 บาท
รวม = 664,000 บาท
1.2 ต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นตัวเงิน
(1) ค่าตกแต่งอาคาร 20,000 บาท
คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ
20 = 4,000 บาท
(2) ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน
207,000 บาท
คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20 = 41,400 บาท
รวม = 45,400 บาท
รวมต้นทุนคงที่ทั้งหมดต่อปี = 709,400 บาท
2. ประมาณการจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการต่อปี
2.1 ในเวลา 1 ปี สามารถให้บริการลูกค้าได้สูงสุด = 1,200 คน
2.2 ประมาณการมีลูกค้ามาใช้บริการร้อยละ 80 =
960 คน
3. ต้นทุนคงที่จัดสรรต่อคน
= 709,400 =
738.96 บาท
960
4. ต้นทุนผันแปรต่อคนต่อโปรแกรม (โปรแกรมนี้มีผู้เดินทาง 30 คน)
(บาท/คน)
4.1 ค่าเช่ายานพาหนะ 30,000
บาท เฉลี่ยต่อคน = 1,000 บาท
4.2 ค่าที่พักแรม = 1,200 บาท
4.3 ค่าอาหาร =
400 บาท
4.4 ค่าน้ำมันรถ 3,000 บาท เฉลี่ยต่อคน = 100 บาท
4.5 ค่ามัคคุเทศก์ 1,500 บาท เฉลี่ยต่อคน = 50 บาท
รวม = 2,750 บาท
5. ต้นทุนทั้งหมดต่อคน = 2,750.00 +
738.96 = 3,488.96 บาท
6. ผู้ประกอบกิจการต้องการมีกำไรร้อยละ 30
ของต้นทุนทั้งหมด =
1,046.69 บาท
7. ผู้ประกอบกิจการตั้งราคาให้บริการโปรแกรมท่องเที่ยวต่อคน
= 3,488.96 + 1,046.69 บาท
= 4,535.65 บาท
หรือประมาณ = 4,500 บาท/โปรแกรมท่องเที่ยว
No comments:
Post a Comment