ทนายอ้วนพาเที่ยว พระธาตุดอยสุเทพ
วัดพระธาตุดอยสุเทพ - เชียงใหม่
องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานชั้นล่างของเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่
มีเรื่องเล่ากันมาว่าแต่เดิมดอยสุเทพเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี
ในพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีพระภิกษุชาวลังการูปหนึ่ง ชื่อว่าพระสุมนเถระ เป็นพระที่มีความรู้แตกฉานในเรื่องพระธรรมวินัยและรอบรู้ในพระไตรปิฏกเป็นอย่างดี และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป พระสุมนเถระรูปนี้เข้ามาสุโขทัยเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนานิกายเถราวาทแบบลังกา โดยเฉพาะที่อำเภอศรีสัชชนาลัยและสวรรคโลก นับได้ว่าพระพุทธศาสนานิกายเถราวาทได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในสุโขทัยยุคนั้นภายในช่วงเวลาไม่นานนัก
ตามตำนานเล่าว่าคืนหนึ่งขณะพระสุมนเถระกำลังนอนหลับ มีเทวดาองค์หนึ่งมาบอกว่า ในสมัยพระเจ้าธรรมมาโศกราช พระองค์ได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ ขณะนี้เจดีย์องค์นั้นได้ชำรุดทลายพังลงมาหมดแล้ว ไม่มีใครทราบชัดเจนว่าเจดีย์นั้นตั้งอยู่ตรงไหน เทวดายังบอกต่อไปอีกว่า ให้ท่านไปเมืองปางจาอยู่บนถนนสายสุโขทัย-ศรีสัชชนาลัย (หมายถึงสวรรคโลกในปัจจุบัน) ภายในซากโบราณสถานเหล่านั้น คือฐานที่ตั้งขององค์พระเจดีย์ โดยจะมีพุ่มดอกเข็มกอหนึ่งมีรูปลักษณะเหมือนม้านั่งขึ้นอยู่แทนที่ ภายใต้พุ่มดอกเข็มนั้นจะมีผอบบรรจุพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าอยู่ ขอให้ท่านไปขุดเอาไว้สักการะบูชาและเก็บไว้ในที่อันสมควรด้วย
วันรุ่งขึ้นท่านจึงสั่งให้ลงมือขุดดินตรงบริเวณพุ่มดอกเข็ม พอขุดลงไปสักครู่หนึ่งก็พบอิฐปูลาดอยู่ เมื่อยกอิฐออกหมดก็พบแผ่นศิลา เมื่องัดแผ่นศิลาขึ้นมาก็ได้พบผอบทองเหลือง เปิดผอบทองเหลืองออกพบผอบเงิน เปิดผอบเงินพบผอบทองคำ เปิดผอบทองคำพบผอบแก้วประพาฬ เมื่อเปิดผอบแก้วประพาฬออกจึงพบพระบรมธาตุขนาดเท่าผลทับทิม เนื่องจากพระบรมธาตุขนาดใหญ่เกินไป พระสุมนเถระจึงเกิดความสงสัยว่าจะไม่ใช่พระธาตุหลังจากพยายามอยู่ครู่หนึ่งก็พบว่าสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นพระธาตุนั้นที่แท้เป็นผอบอีกชั้นหนึ่ง เมื่อเปิดผอบนั้นออกมาจึงพบพระบรมธาตุที่แท้จริง 1 องค์มีขนาดสัณฐานเท่าเม็ดถั่วเขียว มีสีสวยงามดังสีทอง
ในปี พ.ศ. 1910 (ค.ศ.1367) กษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์เม็งรายแห่งนครลานนาไทยชื่อ พระจ้ากือนาพระองค์ทรงประสงค์ที่จะพัฒนาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลานนาไทยให้เจริญรุ่งเรือง จึงได้ส่งผู้แทนจำนวน 3 คน คือ หมื่นเงินกอง ผ้าขาวยอด ผ้าขาวสาย เดินทางไปยังนครสุโขทัย เพื่อนิมนต์พระสุมนเถระขึ้นไปอยู่เชียงใหม่ (หมื่น เป็นยศชั้นปกครองสมัยก่อน ผ้าขาว ผู้นุ่งขาว ถือศีล 8) เนื่องจากมีข่าวแพร่สะพัดไปถึงเชียงใหม่ว่าพระพุทธศาสนาในสุโขทัยได้เจริญรุ่งเรืองมากมาเป็นอย่างดี ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระสุมนเถระ พระองค์จึงต้องการตัวพระสุมนเถระขึ้นไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลานนาไทยโดยเฉพาะที่เชียงใหม่
ด้วยความเห็นชอบของพระเจ้าธรรมราชาแห่งนครสุโขทัย พระสุมนเถระจึงรับนิมนต์ และได้เดินทางขึ้นไปเชียงใหม่พร้อมกับพระบรมธาตุที่ได้มาจากเมืองปางจา
ด้วยความเห็นชอบของพระเจ้าธรรมราชาแห่งนครสุโขทัย พระสุมนเถระจึงรับนิมนต์ และได้เดินทางขึ้นไปเชียงใหม่พร้อมกับพระบรมธาตุที่ได้มาจากเมืองปางจา
ในปี พ.ศ. 1912 (ค.ศ 1369) พระสุมนเถระ ได้เดินทางมาถึงเมืองลำพูนพระเจ้ากือนา พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย จึงได้เดินทางไปต้อนรับพระสุมนเถระ ที่ตำบลแสนข้าวห่อ เชียงเรือ จังหวัดลำพูน เมื่อมาถึงวัดพระยืน ห่างจากตัวเมืองลำพูน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กม. พระสุมนเถระจึงชอบบรรยากาศที่วัดพระยืนนี้มาก จึงขอพระราชานุญาติจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ก่อน ซึ่งขณะนั้นพระสุมนเถระมีอายุได้ 60 ปีพอดี
พระสุมนเถระจำพรรษาอยู่ที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ 2 ปี ต่อมาปี 1914 (ค.ศ. 1371) พระเจ้ากือนา จึงได้ยกสวนหลวง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ สร้างวัดใหม่ขึ้นสำหรับพระสุมนเถระ โดยตั้งชื่อว่า วัดบุพพารามต่อมาวัดบุพพาราม ก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสวนดอก ตราบเท่าทุกวันนี้
พระสุมนเถระจำพรรษาอยู่ที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ 2 ปี ต่อมาปี 1914 (ค.ศ. 1371) พระเจ้ากือนา จึงได้ยกสวนหลวง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ สร้างวัดใหม่ขึ้นสำหรับพระสุมนเถระ โดยตั้งชื่อว่า วัดบุพพารามต่อมาวัดบุพพาราม ก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสวนดอก ตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ากือนา จึงไปนิมนต์พระสุมนเถระขึ้นมาอยู่ประจำวัดนี้พระสุมนเถระได้ขึ้นมาตามคำนิมนต์พร้อมกับนำเอาพระบรมธาตุติดตัวมาด้วยพระเจ้ากือนาได้เลื่อมใสและศรัทธาในพระสุมนเถระมาก จึงได้สถาปนาสมณศักดิ์ให้พระสุมนเถระเป็น พระสุมนบุพพารัตนมหาสวามี
หลังจากพระมหาสวามีมาอยู่ที่วัดสวนดอกตามคำนิมนต์ของพระเจ้ากือนา พระมหาสวามีได้ปรึกษากับพระเจ้ากือนาถึงการสร้างพระเจดีย์ใหญ่ในวัดสวนดอก เมื่อพระเจ้ากือนาทรงเห็นชอบแล้ว จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ขึ้นก่อนที่จะขุดหลุมเพื่อบรรจุพระบรมธาตุลงไปนั้น พระมหาสวามี ได้นำเอาพระบรมธาตุนั้นออกมาวางไว้ในถาดทองคำ เพื่อให้พระองค์และประชาชนได้ทำการสักการะบูชาเสียก่อน เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหาสวามีจึงได้นำเอาพระบรมธาตุออกมาจากถาดเพื่อเตรียมจะบรรจุลงในพระเจดีย์พระมหาสวามีจึง เกิดความประหลาดใจขึ้นเมื่อพระบรมธาตุที่อยู่ในถาดทองคำนั้นได้แยกออกเป็น 2 องค์ ขนาดเท่าเดิมองค์หนึ่งและอีกองค์หนึ่งเล็กกว่าเล็กน้อย
ต่อมาพระเจ้ากือนาจึงได้นำเอาพระบรมธาตุองค์ที่เล็กกว่านั้นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดสวนดอกตราบเท่าทุกวัน
ต่อมาพระเจ้ากือนาจึงได้นำเอาพระบรมธาตุองค์ที่เล็กกว่านั้นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ในวัดสวนดอกตราบเท่าทุกวัน
พระองค์และพระมหาสวามีได้พยายามหาที่เหมาะสมที่สร้างพระเจดีย์อีกองค์หนึ่ง เพื่อจะบรรจุพระบรมธาตุองค์เดิมที่นำมาจากเมืองปางจา สุโขทัย พระองค์ได้นำเอาพระบรมธาตุนั้นขึ้นไว้บนหลังช้างเผือกมงคลและอธิษฐานเสี่ยงทายว่า " เมื่อช้างได้นำพระบรมธาตุไปถึงที่ ๆ เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาพระบรมธาตุนี้แล้วไซร้ ขอพระบรมธาตุได้แสดงอภินิหารบังคับให้ช้างหยุดอยู่ตรงนั้นเถิด " พออธิษฐานเสร็จแล้วพระองค์ก็ทรงปล่อยช้างให้ออกไปจากประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือกปัจจุบัน)
เมื่อช้างออกจากประตูไปแล้วก็เปล่งเสียงร้องขึ้น 3 ครั้งแล้วหันหน้าไปทางทิศตะวันตกและเดินมุ่งหน้าไปทางภูเขา พระองค์และพระมหาสวามี ตลอดถึงประชาชนผู้สนใจในพิธีได้เดินตามช้างไปเป็นเวลายาวนาน
เมื่อช้างไปถึงยอดเขาแห่งหนึ่ง จึงชลอพักเอาแรงสักครู่หนึ่งและก็เดินทางต่อไป ภูเขาลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า " ดอยช้างนอน " ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เมื่อช้างไปถึงยอดเขาแห่งหนึ่ง จึงชลอพักเอาแรงสักครู่หนึ่งและก็เดินทางต่อไป ภูเขาลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า " ดอยช้างนอน " ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ช้างมงคลได้มุ่งหน้าเดินทางต่อไปจนถึงยอดเขาอีกลูกหนึ่ง ซึ่งเป็นลานกว้างและเหมาะสมดีที่จะสร้างพระเจดีย์ไว้ทุกคนก็คาดหวังว่าช้างจะต้องหยุดตรงนี้ ไม่ยอมหยุด คงมุ่งหน้าเดินทางต่อไปอีก ดอยลูกนี้ชาวบ้านเรียกว่า "สนามดอยงาม" จนถึงทุกวันนี้
ในที่สุดช้างก็ไปถึงเชิงเขาสุเทพ เดินปีนเขาขึ้นไปจนถึงยอดเขา จากนั้นช้างก็เดินวนซ้ายอยู่ 3 รอบ และหยุดคุกเข่าหมอบลงพร้อมกับเปล่งเสียงร้อง 3 ครั้งอีกรอบหนึ่ง พระองค์และพระมหาสวามี ต่างก็ปีติยินดีที่ได้พบสถานที่ๆ จะเก็บรักษาพระบรมธาตุไว้ภายในพระเจดีย์ที่จะสร้างขึ้นใหม่ จึงได้ช่วยกันนำเอาพระบรมธาตุลงจากหลังช้างด้วยความเคารพ
พระเจ้ากือนา ทรงสั่งให้คนงานทั้งหมดปรับพื้นที่ราบดอยสุเทพให้เรียบร้อย และขุดหลุมขนาดลึก 8 ศอก กว้าง 1 วา 3 ศอก และให้เอาแผ่นหินขนาด 7 ศอก 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐาน พร้อมด้วยเครื่องสักการะบูชาจำนวนมากใส่ลงไป เมื่อปิดหีบจากนั้นถมด้วยหิน พระองค์จึงสั่งให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งมีขนาดสูง 5 วา ครอบเหนือหีบพระบรมธาตุนั้น เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาแก่คนทั้งปวง และพอจะอนุมานสรุปได้ว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างโดยพระเจ้ากือนา
ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น
ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น
ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์
และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่น (ทองจังโก) ติดที่พระบรมธาตุ 2 ชั้น
และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่น (ทองจังโก) ติดที่พระบรมธาตุ 2 ชั้น
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร เป็นวัดที่ดังมาก
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่
ยอดฉัตรของพระเจดีย์ ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงถึง 2 ครั้งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แกนเหล็กของยอดฉัตรที่สร้างมานาน ตากแดดตากฝนและถูกลมก็ชำรุดผุกร่อน เพราะถูกสนิมกัด
แผ่นดินไหวครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 ทำให้ยอดฉัตรหัก แต่ไม่ตกลงพื้น เพราะมีลวดสลิงมัดรวบไว้อีกชั้นหนึ่ง การซ่อมแซมครั้งนี้ใช้เวลาถึง 2 เดือน
แผ่นดินไหวครั้งที่ 2 เมื่อเช้ามืดของวันที่ 1 2 กรกฎาคม 2538 เวลา 4.45 น. ลูกแก้วบนยอดฉัตรได้รับความสั่นสะเทือนมากถึงกับหลุดตกลงมาแตกกับพื้น
เมื่อข่าวความเสียหายนี้ไปถึงสำนักพระรชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงพระราชทานลูกแก้วหลวงลูกใหม่ เพื่อนำไปประดิษฐานบนยอดฉัตรพระเจดีย์แทน พิธีพระราชทานลูกแก้วหลวง ได้จัดขึ้นที่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2538 เวลา 15.15 น. และลูกแก้วหลวงนี้ ก็ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษ ฐานบนยอดฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2539 เวลา 10.30 น. และมีการฉลองสมโภชยอดพระเจดีย์ไหม่ ในบริเวณแห่งนี้
รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ ได้แก่
๑. ฉัตร ๔ มุม ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปใน ทั้ง ๔ ทิศ
๒. สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์ เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ
๓. หอยอ ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
๔. หอท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึง ที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่
๑. ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ
๒. ท้าวธตรัฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก
๓. ท้าววิรูฬปักข์ มีฝูงนาคเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก
๔. ท้าววิรุฬหก มีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้
๕. ไหดอกบัว หรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย
คำไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ รอบ)
สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง
สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา.
แผ่นดินไหวครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 ทำให้ยอดฉัตรหัก แต่ไม่ตกลงพื้น เพราะมีลวดสลิงมัดรวบไว้อีกชั้นหนึ่ง การซ่อมแซมครั้งนี้ใช้เวลาถึง 2 เดือน
แผ่นดินไหวครั้งที่ 2 เมื่อเช้ามืดของวันที่ 1 2 กรกฎาคม 2538 เวลา 4.45 น. ลูกแก้วบนยอดฉัตรได้รับความสั่นสะเทือนมากถึงกับหลุดตกลงมาแตกกับพื้น
เมื่อข่าวความเสียหายนี้ไปถึงสำนักพระรชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงพระราชทานลูกแก้วหลวงลูกใหม่ เพื่อนำไปประดิษฐานบนยอดฉัตรพระเจดีย์แทน พิธีพระราชทานลูกแก้วหลวง ได้จัดขึ้นที่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2538 เวลา 15.15 น. และลูกแก้วหลวงนี้ ก็ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษ ฐานบนยอดฉัตรพระเจดีย์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2539 เวลา 10.30 น. และมีการฉลองสมโภชยอดพระเจดีย์ไหม่ ในบริเวณแห่งนี้
รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการ ได้แก่
๑. ฉัตร ๔ มุม ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปใน ทั้ง ๔ ทิศ
๒. สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์ เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ
๓. หอยอ ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
๔. หอท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึง ที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่
๑. ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ
๒. ท้าวธตรัฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก
๓. ท้าววิรูฬปักข์ มีฝูงนาคเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก
๔. ท้าววิรุฬหก มีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้
๕. ไหดอกบัว หรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย
คำไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ รอบ)
สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง
สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา.
วิหารพระพฤหัส
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศเหนือของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราช รูปเหมือนครูบาศรีววิชัย และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหาร มีภาพเขียนเรื่องราวตำนานพระธาตุดอยสุเทพ
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบสักการะบูชาพระประธานในพระวิหารได้ หรือการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกก็ดูน่าศักดิ์สิทธิ์ แต่ทางวัดขอความร่วมมือให้นั่งลงขณะถ่ายภาพ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศเหนือของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราช รูปเหมือนครูบาศรีววิชัย และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหาร มีภาพเขียนเรื่องราวตำนานพระธาตุดอยสุเทพ
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบสักการะบูชาพระประธานในพระวิหารได้ หรือการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกก็ดูน่าศักดิ์สิทธิ์ แต่ทางวัดขอความร่วมมือให้นั่งลงขณะถ่ายภาพ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
วิหารพระเจ้าอุ่นเมือง
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระเจ้าอุ่นเมือง 1 องค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบน และองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่ง ศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์) และพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อีกจำนวนหนึ่ง เป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือ สำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระเจ้าอุ่นเมือง 1 องค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบน และองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่ง ศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์) และพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อีกจำนวนหนึ่ง เป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือ สำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์
วิหารพระพุทธชินสีห์สุวรรณเจดีย์
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมธาตุ พระวิหารพระพุทธ สร้างขึ้นโดยพระเจ้ากาวิละ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ เช่นทำวัตร สวดมนต์ ตลอดพิธีกรรมสำคัญต่างๆ ทางศาสนา ข้างในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราช และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหาร มีภาพเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นภาพเก่า
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมธาตุ พระวิหารพระพุทธ สร้างขึ้นโดยพระเจ้ากาวิละ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ เช่นทำวัตร สวดมนต์ ตลอดพิธีกรรมสำคัญต่างๆ ทางศาสนา ข้างในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราช และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหาร มีภาพเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นภาพเก่า
วิหารพระเจ้าทันใจ
เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระเจ้าทันใจ 1 องค์ งประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบน และองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่ง ศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์)เป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือ สำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์
ศาลาบาตร
อยู่รอบองค์พระบรมธาตุ เป็นศาลาสำหรับการใช้สำหรับพิธีทำบุญตักบาตร โดยพิธีทำบุญทางล้านนาในวันศีล (วันพระ) พระภิกษุสงฆ์จะนำเอาบาตรมาวางเรียงลำดับในศาลา เพื่อให้ญาติโยมนำเอาข้าวปลาอาหารมาใส่ในบาตร เมื่อวัดมีพิธีอื่นๆ ก็ใช้เป็นสถานที่สำหรับนั่งประกอบพิธีกรรมของศรัทธาสาธุชน รอบ ๔ ทิศ แต่เดิมยังเป็นที่พักสำหรับผู้มาจำศีลในวันพระอีกด้วย
ในศาลาบาตร ยังมีพระพุทธรูปเรียงรายอย่างงดงามประดิษฐานอยู่ทุกทิศ มีจำนวน ๔๓ องค์ ได้แก่
ทิศตะวันออก มี ๑๑ องค์
ทิศตะวันตก มี ๗ องค์
ทิศเหนือ มี ๑๒ องค์
ทิศใต้ มี ๑๓ องค์
วิหารครูบาศรีวิชัย
ตั้งอยู่ด้านนอกของเขตพระบรมธาตุด้านทิศตะวันตก
เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ผู้นำการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และรูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาสพระธาตุดอยสุเทพ เช่น ครูบาเถิ้ม พระราชรัตนากร เป็นต้น
แต่ละวัน มีประชาชนมากราบนมัสการรูปปั้นครูบาศรีวิชัยและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอย สุเทพ มิได้ขาด ด้วยระลึกถึงพระคุณของพระมหาเถระทั้งหลายที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและ วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา
อยู่รอบองค์พระบรมธาตุ เป็นศาลาสำหรับการใช้สำหรับพิธีทำบุญตักบาตร โดยพิธีทำบุญทางล้านนาในวันศีล (วันพระ) พระภิกษุสงฆ์จะนำเอาบาตรมาวางเรียงลำดับในศาลา เพื่อให้ญาติโยมนำเอาข้าวปลาอาหารมาใส่ในบาตร เมื่อวัดมีพิธีอื่นๆ ก็ใช้เป็นสถานที่สำหรับนั่งประกอบพิธีกรรมของศรัทธาสาธุชน รอบ ๔ ทิศ แต่เดิมยังเป็นที่พักสำหรับผู้มาจำศีลในวันพระอีกด้วย
ในศาลาบาตร ยังมีพระพุทธรูปเรียงรายอย่างงดงามประดิษฐานอยู่ทุกทิศ มีจำนวน ๔๓ องค์ ได้แก่
ทิศตะวันออก มี ๑๑ องค์
ทิศตะวันตก มี ๗ องค์
ทิศเหนือ มี ๑๒ องค์
ทิศใต้ มี ๑๓ องค์
วิหารครูบาศรีวิชัย
ตั้งอยู่ด้านนอกของเขตพระบรมธาตุด้านทิศตะวันตก
เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ผู้นำการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ และรูปหล่อของอดีตเจ้าอาวาสพระธาตุดอยสุเทพ เช่น ครูบาเถิ้ม พระราชรัตนากร เป็นต้น
แต่ละวัน มีประชาชนมากราบนมัสการรูปปั้นครูบาศรีวิชัยและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอย สุเทพ มิได้ขาด ด้วยระลึกถึงพระคุณของพระมหาเถระทั้งหลายที่มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและ วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา
อนุเสาวรีย์ช้างเผือก
ช้างเผือกมงคลเชื่อกนี้ เป็นเชือกที่พระเจ้ากือนา เจ้าครองนครเชียงใหม่ ได้ทรงคัดเลือกเพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นไว้บนหลังช้าง และทำพิธีเสียงทายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อดลบันดาลให้ช้างเผือกมงคลนำพระบรมสารีริกธาตุไปยังสถานที่อันเหมาะสมที่จะประดิษฐาน และแล้วช้างเผือกมงคลเชือกนี้ ก็ได้เดินมุ่งหน้าขึ้นสู่ยอดดอยสุเทพ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุตั้งแต่บัดนั้นมา
เพื่อเป็นการระลึกถึงช้างเผือกเชือกนั้น จึงได้สร้างอนุเสาวรีย์ช้างเผือกมงคลเชือกนี้ไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๒ เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้รับทราบถึงความเป็นมาในอดีตมา อนุเสาวรีย์ตั้งอยู่ที่ข้างวิหารครูบาศรีวิชัย ทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุ
พระอุโบสถ
อุโบสถวัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองเกษเกล้า โดยอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่ง ชื่อ มงคลศิลา เป็นผู้สร้างถวาย โดยได้อาราธนาพระมหาราชา วัดบุบผาราม (วัดสวนดอก) เป็นประธานผูกพัทธสีมา
อุโบสถ เป็นสถานที่สำคัญสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ซึ่งมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง (ประกอบสังฆกรรม) ได้ในเขตพัทธสีมาเท่านั้น ซึ่งได้แก่อุโบสถอันเป็นพื้นที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์ผู้ปกครองหรือเจ้าของรัฐอย่างถูกต้อง สังฆกรรมที่กระทำในอุโบสถได้แก่ พิธีอุปสมบทพระภิกษุ พิธีกรานกฐิน พิธีฟังพระปาติโมกข์ เป็นต้น ภายนอกรอบอุโบสถ มีพัทธสีมา (พัทธสีมา คือหลักเขตแดนบอกให้ทราบถึงเขตของอุโบสถที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากกษัตริย์) ซึ่งมีทั้งหลักพัทธสีมาดั้งเดิมที่เป็นหิน และหลักพัทธสีมาใหม่ที่ทำจากคอนกรีต ด้านล่างของพัทธสีมา มีลูกนิมิต (ลูกหินกลมขนาดใหญ่) ฝังอยู่ในดิน
ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธศิลปเชียงแสนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อในคราวเสด็จนมัสการพระบรมธาตุสุเทพ เมื่อวันมาฆบูชา ที่ ๑ มีนาคม
อุโบสถวัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองเกษเกล้า โดยอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่ง ชื่อ มงคลศิลา เป็นผู้สร้างถวาย โดยได้อาราธนาพระมหาราชา วัดบุบผาราม (วัดสวนดอก) เป็นประธานผูกพัทธสีมา
อุโบสถ เป็นสถานที่สำคัญสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ซึ่งมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง (ประกอบสังฆกรรม) ได้ในเขตพัทธสีมาเท่านั้น ซึ่งได้แก่อุโบสถอันเป็นพื้นที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์ผู้ปกครองหรือเจ้าของรัฐอย่างถูกต้อง สังฆกรรมที่กระทำในอุโบสถได้แก่ พิธีอุปสมบทพระภิกษุ พิธีกรานกฐิน พิธีฟังพระปาติโมกข์ เป็นต้น ภายนอกรอบอุโบสถ มีพัทธสีมา (พัทธสีมา คือหลักเขตแดนบอกให้ทราบถึงเขตของอุโบสถที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากกษัตริย์) ซึ่งมีทั้งหลักพัทธสีมาดั้งเดิมที่เป็นหิน และหลักพัทธสีมาใหม่ที่ทำจากคอนกรีต ด้านล่างของพัทธสีมา มีลูกนิมิต (ลูกหินกลมขนาดใหญ่) ฝังอยู่ในดิน
ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธศิลปเชียงแสนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อในคราวเสด็จนมัสการพระบรมธาตุสุเทพ เมื่อวันมาฆบูชา ที่ ๑ มีนาคม
วิหารพระเจ้ากือนา
วิหารพระเจ้ากือนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยพระราชรัตนากร (คำ ธมมจาโร) อดีตผู้เป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ลำดับที่ 6 ได้ดำเนินการสร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง รูปแบบลักษณะคล้ายวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีขนาดกว้าง 8 วา ยาว 12 วา เพื่อเป็นราชานุสรณ์และกตัญญูกตเวทิตธรรม แด่พระเจ้ากือนาพร้อมด้วยพระมหาสุมนเถระ พระผู้อัญเชิญพระบรมธาตุประดิษฐานบนหลังพญาช้างขึ้นมาถึงยอดสุเทวบรรพต ก่อเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นปฐมเหตุให้สถานที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นศรีแก่นพบุรีมาตราบเท่าทุกวันนี้การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปก่อน ต่อมาพระญาณสมโพธิ (ธงชัย สุวรรณสิริ) ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ลำดับที่ 7 ได้สืบสานเจตนารมณ์ ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2545 สิ้นค่าใช้จ่าย 5,000,000 (ห้าล้านบาทถ้วน)
วิหารพระเจ้ากือนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยพระราชรัตนากร (คำ ธมมจาโร) อดีตผู้เป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ลำดับที่ 6 ได้ดำเนินการสร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง รูปแบบลักษณะคล้ายวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีขนาดกว้าง 8 วา ยาว 12 วา เพื่อเป็นราชานุสรณ์และกตัญญูกตเวทิตธรรม แด่พระเจ้ากือนาพร้อมด้วยพระมหาสุมนเถระ พระผู้อัญเชิญพระบรมธาตุประดิษฐานบนหลังพญาช้างขึ้นมาถึงยอดสุเทวบรรพต ก่อเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นปฐมเหตุให้สถานที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นศรีแก่นพบุรีมาตราบเท่าทุกวันนี้การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปก่อน ต่อมาพระญาณสมโพธิ (ธงชัย สุวรรณสิริ) ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ลำดับที่ 7 ได้สืบสานเจตนารมณ์ ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2545 สิ้นค่าใช้จ่าย 5,000,000 (ห้าล้านบาทถ้วน)
ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป นามว่า "พระศรีสุคตนบุรี"
ขอขอบคุณคุณ moonfleet ที่เป็นแรงบันดาลใจในการไปเที่ยววัดสวยๆในเชียงใหม่ครับ
นี่เป็นบล็อกของคุณ moonfleet รวบรวมวัดต่างๆในเชียงใหม่ครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=01-04-2010&group=113&gblog=172
ขอบคุณเวบไซต์ของวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สำหรับขอมูลดีๆครับ
http://www.doisuthep.com/index.php?option=com_frontpage&Itemid=1
No comments:
Post a Comment