" ส้มตำหลวงพระบาง " ... ที่ ป่าตัน ... เชียงใหม่
ถ้าถามว่า " ส้มตำ " เป็นอาหารของ ชนชาติใด ? ... คงต้องค้นหาความจริงกันยืดยาวเลยทีเดียวเชียวครับ ... เพราะถ้าเป็น ส้มตำ ที่ใช้ มะละกอทำก็ยิ่งต้อง ดูกันอย่างละเอียดลงไปอีกครับ ... ที่กล่าวอย่างนี้่ก็เพราะ เจ้า มะละกอ นี่แหละครับ ...
กล่าวถึง ที่มาที่ไปของส้มตำ มาซะยืดยาวเลยนะครับ ก็เพราะวันนี้จะแนะนำร้านอาหารที่มีชื่อ ส้มตำ นำหน้าครับ ... " ส้มตำหลวงพระบาง " ครับ ... ถ้าเราขับรถมาตาม ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ มุ่งหน้าออกนอกเมือง พอผ่านแยกข่วงสิงห์ ก็ชิดซ้ายออกทางคู่ขนาน ผ่านหน้าโรงพยาบาล ลานนา ... ตรงไปจนเกือบสุด แม่น้ำปิง มีถนนทางด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเลยครับ ย่านนั้นเค้าเรียกว่า ป่าตัน ครับ ขับรถเข้ามาไม่ถึง กิโล ก็จะเห็นร้านนี้อยู่ทางซ้ายมือครับ
จริงๆแล้ววันนี้ ตั้งใจจะไปชิมอีกร้านนึงครับ ที่เพิ่งเปิดใหม่ชื่อ Cafe de Ping ร้านอาหารไทยเจ้าของเดียวกันกับ Cafe de Nimman นั่นเองครับ แต่เผอิญผมไม่ได้เช็คก่อนครับ ว่า เค้าปิดตอนกลางวัน ... พอมาถึงหน้าร้านปรากฏว่า ร้านปิด เลยอดชิมเลยครับ (เดี๋ยวต้องกลับมาใหม่ครับ มีคนกระซิบมาว่า อร่อย ครับ) ... พอร้านไม่เปิดก็ขับรถเลยมานิดนึง เห็นป้ายร้าน ส้มตำหลวงพระบาง อยู่ใกล้ๆกันนี่เองครับ ผมหันไปถาม น้องๆที่ทำงาน ที่มาด้วยว่า " ลองร้านนี้เลยแล้วกันนะ คนเยอะดี " ... ไม่มีคำตอบจากใครเลยครับ แต่ทุกคนทำท่า ซื๊ดดดดปาก แบบเปรี้ยวปากสุดๆ เลยครับ
เข้ามาในร้านนี้ตอนเที่ยงกว่าๆ ... โอวววว เต็มทุกโต๊ะ เลยครับ เห็นลูกค้านั่งปั้นข้าวนึ่ง จิ้มส้มตำ แล้วแทบทนไม่ไหวครับ ... รีบสั่งอาหารโดยทันทีครับ : ส้มตำหลวงพระบาง , ส้มตำปู ปลาร้า , ป่นปลา , ปลาร้าทรงเครื่อง , ไส้อั่วหมู แบบลาว , ปีกไก่ทอดน้ำปลา , ปลาทับทิมทอดกระเทียม , แกงส้มปลา พร้อม ข้าวนึ่ง คนละ ติ๊บ ครับ ... สั่งเสร็จ น้องคนเสิร์ฟก็ออกตัวไว้ก่อนเลยครับ ว่า " วันนี้คนแน่นหน่อย อาหารอาจช้าซักนิดนึง นะค๊ะ " น่ารักดีนะครับ ทำให้เราไม่รู้สึกหงุดหงิดกับการรอ อาหารที่สั่งไปครับ แถมรู้สึกว่า แป้บเดียวอาหารก็มาแล้วครับ (ร้านอื่นๆ ก็เอาไปใช้ได้นะครับ )
ครู่เดียวเท่านั้นครับ อาหารจานแรกยกมาแล้วครับ " ส้มตำหลวงพระบาง " ครับ ... ผมจำได้ว่าผมเคยไปหลวงพระบาง มาแล้วกว่า 10 ครั้งเลยครับ ไปจนเคยคิดจะไปเปิดกิจการร้านอาหารที่นั่น แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ทำครับ .. ทุกครั้งที่ไปหลวงพระบางก็ เมนูนี้ แหละครับ ที่หลวงพระบางเค้าจะใช้ มะละกอ ที่ฝานเป็นแผ่นบางๆ กว้างประมาณซักนิ้วนึง แล้วที่แตกต่างจากส้มตำบ้านเราก็คือเค้าใส่มะกอกน้ำ ลงไปตำด้วยครับ นอกนั้นก็ปรุงแบบคล้ายๆบ้านเรานั่นแหละครับ ปลาร้า อะไรต่อมิอะไร ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ครับ ... แต่พอได้ตักลิ้มรส แล้วถึงกับต้องอุทานในใจดังๆ จนเสียงออกมาได้ยินทั้งโต๊ะเลยครับ ... โอวววววว แม่เจ้าโว๊ย " แซ้บอีหลีตั้ว " อร่อยแบบหลวงพระบางจริงครับ ... ทานไปได้ซักคนละคำเท่านั้น ผมก็ถามน้องๆว่า " เบิ้ล มั้ย " ... ไม่มีคำตอบครับ ทุกคนซับเหงื่อแล้วพยักหน้า อืมมม อืมมม ... ว่าแล้วก็จัดมาอีก 2 ที่ครับ
ซักพักเดียวครับ อาหารมาเป็นชุดครับ ... ส้มตำ ปู ปลาร้า (แบบอีสาน บ้านเฮา) โอววว แซ้บอีหลี เด้อครับ ... ถัดมา " ปลาร้าทรงเครื่อง " พอตักเข้าปากเท่านั้นผมร้อง โอวววว อีกแล้วครับ ผมขอ ยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่า ปลาร้าทรงเครื่อง ที่นี่ อร่อยไมแพ้ใครเลย นับตั้งแต่ลองทาน ปลาร้า มากว่า 30 ปีครับ (ไม่เว่อร์นะครับ) ... ต่อมา " ป่นปลา " ครับ ...อยากจะเขียนว่าร้อง โอววว ก็กลัวหาว่าซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ก็ขออีกทีนะครับ โอววววววววววววว อร่อยมากครับ (ป่นปลา คล้ายๆกับน้ำพริกปลาของคนเมืองครับ) ... แกงส้มปลา อร่อยคล้ายต้มแซ้บครับ ปลากระพงขาวสดมากครับ ... ไส้อั่วหมู ไส้อั่วที่ร้านนี้ทำแบบในลาวเลยครับ ไม่จัดจ้านเหมือนไส้อั่วทางเหนือของเราครับ ... ปลาทับทิมทอดกระเทียมพริกไท น่าทานเลยครับ แต่น้องๆเค้าสั่งมา ผมไม่ได้ชิมหรอกครับ เพราะผมไม่ทาน ปลาทับทิม ครับ
ทั้งหมดมาพร้อม ข้าวนึ่ง คนละ กระติ๊บ ... ชั่วพริบตาเท่านั้นครับ บนโต๊ะเหลือแต่ความว่างเปล่าครับ อร่อยทุกจานที่สั่งครับ
ใครที่ชอบส้มตำ และ อาหารสไตลส์แบบอีสานแล้วละก้อ ไม่ควรพลาดร้านนี้โดยเด็ดขาดครับ ... " ส้มตำหลวงพระบาง " ที่ตำบล ป่าตัน อำเภอเมือง เชียงใหม่ครับ ลองแวะไปลิ้มรสกันดูนะครับ
พิกัด GPS : 18.81321,99.001562 (แผนที่จาก Google Map)
โทร : 053-211-670
เวลาเปิด-ปิด : 10:00 น. – 22:00 น.
ป๋าปึกส์
9/1/2556
ขอแนะนำ ร้านโปรดของผู้เขียน
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2010/11/tengoku-1.html
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2010/11/tengoku-2.html
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2011/05/tengoku-de-cuisine.html
" มะละกอ " เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดใน อเมริกากลาง และ ถูกนำเข้ามาปลูกใน ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ชาวสเปน และ โปตุเกส ในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา ... ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบันทึกไว้ว่า ทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นิโคลาส์ แชรแวส และ เดอ ลาลูแบร์ ต่างพรรณาว่า ในเวลานั้น มะละกอ ได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว แถมยังกล่าวถึง กระเทียม , มะนาว , มะม่วง , กุ้งแห้ง , แตงกวา , น้ำตาลที่ทำจากมะพร้าว , แตงกวา ... ซึ่งล้วนแล้วแต่ ส่วนประกอบที่สามารถใช้ทำส้มตำได้ทั้งนั้น ... ขณะเดียวกันก็ได้เขียนบันทึกไว้ว่า ในขณะนั้น สยาม ไม่มี กระหล่ำปลี ฯลฯ .... บันทึกเหล่านี้ พอจะพิจารณาได้ว่า " ส้มตำ " ที่ทำจาก มะละกอ น่าจะเกิดขึ้น ในดินแดน สยาม ก่อนประเทศใดๆ (ขอบคุณข้อมูลจาก สารานุกรม วิกีพีเดีย)
กล่าวถึง ที่มาที่ไปของส้มตำ มาซะยืดยาวเลยนะครับ ก็เพราะวันนี้จะแนะนำร้านอาหารที่มีชื่อ ส้มตำ นำหน้าครับ ... " ส้มตำหลวงพระบาง " ครับ ... ถ้าเราขับรถมาตาม ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ มุ่งหน้าออกนอกเมือง พอผ่านแยกข่วงสิงห์ ก็ชิดซ้ายออกทางคู่ขนาน ผ่านหน้าโรงพยาบาล ลานนา ... ตรงไปจนเกือบสุด แม่น้ำปิง มีถนนทางด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเลยครับ ย่านนั้นเค้าเรียกว่า ป่าตัน ครับ ขับรถเข้ามาไม่ถึง กิโล ก็จะเห็นร้านนี้อยู่ทางซ้ายมือครับ
จริงๆแล้ววันนี้ ตั้งใจจะไปชิมอีกร้านนึงครับ ที่เพิ่งเปิดใหม่ชื่อ Cafe de Ping ร้านอาหารไทยเจ้าของเดียวกันกับ Cafe de Nimman นั่นเองครับ แต่เผอิญผมไม่ได้เช็คก่อนครับ ว่า เค้าปิดตอนกลางวัน ... พอมาถึงหน้าร้านปรากฏว่า ร้านปิด เลยอดชิมเลยครับ (เดี๋ยวต้องกลับมาใหม่ครับ มีคนกระซิบมาว่า อร่อย ครับ) ... พอร้านไม่เปิดก็ขับรถเลยมานิดนึง เห็นป้ายร้าน ส้มตำหลวงพระบาง อยู่ใกล้ๆกันนี่เองครับ ผมหันไปถาม น้องๆที่ทำงาน ที่มาด้วยว่า " ลองร้านนี้เลยแล้วกันนะ คนเยอะดี " ... ไม่มีคำตอบจากใครเลยครับ แต่ทุกคนทำท่า ซื๊ดดดดปาก แบบเปรี้ยวปากสุดๆ เลยครับ
เข้ามาในร้านนี้ตอนเที่ยงกว่าๆ ... โอวววว เต็มทุกโต๊ะ เลยครับ เห็นลูกค้านั่งปั้นข้าวนึ่ง จิ้มส้มตำ แล้วแทบทนไม่ไหวครับ ... รีบสั่งอาหารโดยทันทีครับ : ส้มตำหลวงพระบาง , ส้มตำปู ปลาร้า , ป่นปลา , ปลาร้าทรงเครื่อง , ไส้อั่วหมู แบบลาว , ปีกไก่ทอดน้ำปลา , ปลาทับทิมทอดกระเทียม , แกงส้มปลา พร้อม ข้าวนึ่ง คนละ ติ๊บ ครับ ... สั่งเสร็จ น้องคนเสิร์ฟก็ออกตัวไว้ก่อนเลยครับ ว่า " วันนี้คนแน่นหน่อย อาหารอาจช้าซักนิดนึง นะค๊ะ " น่ารักดีนะครับ ทำให้เราไม่รู้สึกหงุดหงิดกับการรอ อาหารที่สั่งไปครับ แถมรู้สึกว่า แป้บเดียวอาหารก็มาแล้วครับ (ร้านอื่นๆ ก็เอาไปใช้ได้นะครับ )
ครู่เดียวเท่านั้นครับ อาหารจานแรกยกมาแล้วครับ " ส้มตำหลวงพระบาง " ครับ ... ผมจำได้ว่าผมเคยไปหลวงพระบาง มาแล้วกว่า 10 ครั้งเลยครับ ไปจนเคยคิดจะไปเปิดกิจการร้านอาหารที่นั่น แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ทำครับ .. ทุกครั้งที่ไปหลวงพระบางก็ เมนูนี้ แหละครับ ที่หลวงพระบางเค้าจะใช้ มะละกอ ที่ฝานเป็นแผ่นบางๆ กว้างประมาณซักนิ้วนึง แล้วที่แตกต่างจากส้มตำบ้านเราก็คือเค้าใส่มะกอกน้ำ ลงไปตำด้วยครับ นอกนั้นก็ปรุงแบบคล้ายๆบ้านเรานั่นแหละครับ ปลาร้า อะไรต่อมิอะไร ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ครับ ... แต่พอได้ตักลิ้มรส แล้วถึงกับต้องอุทานในใจดังๆ จนเสียงออกมาได้ยินทั้งโต๊ะเลยครับ ... โอวววววว แม่เจ้าโว๊ย " แซ้บอีหลีตั้ว " อร่อยแบบหลวงพระบางจริงครับ ... ทานไปได้ซักคนละคำเท่านั้น ผมก็ถามน้องๆว่า " เบิ้ล มั้ย " ... ไม่มีคำตอบครับ ทุกคนซับเหงื่อแล้วพยักหน้า อืมมม อืมมม ... ว่าแล้วก็จัดมาอีก 2 ที่ครับ
ซักพักเดียวครับ อาหารมาเป็นชุดครับ ... ส้มตำ ปู ปลาร้า (แบบอีสาน บ้านเฮา) โอววว แซ้บอีหลี เด้อครับ ... ถัดมา " ปลาร้าทรงเครื่อง " พอตักเข้าปากเท่านั้นผมร้อง โอวววว อีกแล้วครับ ผมขอ ยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่า ปลาร้าทรงเครื่อง ที่นี่ อร่อยไมแพ้ใครเลย นับตั้งแต่ลองทาน ปลาร้า มากว่า 30 ปีครับ (ไม่เว่อร์นะครับ) ... ต่อมา " ป่นปลา " ครับ ...อยากจะเขียนว่าร้อง โอววว ก็กลัวหาว่าซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ก็ขออีกทีนะครับ โอววววววววววววว อร่อยมากครับ (ป่นปลา คล้ายๆกับน้ำพริกปลาของคนเมืองครับ) ... แกงส้มปลา อร่อยคล้ายต้มแซ้บครับ ปลากระพงขาวสดมากครับ ... ไส้อั่วหมู ไส้อั่วที่ร้านนี้ทำแบบในลาวเลยครับ ไม่จัดจ้านเหมือนไส้อั่วทางเหนือของเราครับ ... ปลาทับทิมทอดกระเทียมพริกไท น่าทานเลยครับ แต่น้องๆเค้าสั่งมา ผมไม่ได้ชิมหรอกครับ เพราะผมไม่ทาน ปลาทับทิม ครับ
ทั้งหมดมาพร้อม ข้าวนึ่ง คนละ กระติ๊บ ... ชั่วพริบตาเท่านั้นครับ บนโต๊ะเหลือแต่ความว่างเปล่าครับ อร่อยทุกจานที่สั่งครับ
ใครที่ชอบส้มตำ และ อาหารสไตลส์แบบอีสานแล้วละก้อ ไม่ควรพลาดร้านนี้โดยเด็ดขาดครับ ... " ส้มตำหลวงพระบาง " ที่ตำบล ป่าตัน อำเภอเมือง เชียงใหม่ครับ ลองแวะไปลิ้มรสกันดูนะครับ
พิกัด GPS : 18.81321,99.001562 (แผนที่จาก Google Map)
โทร : 053-211-670
เวลาเปิด-ปิด : 10:00 น. – 22:00 น.
ป๋าปึกส์
9/1/2556
ขอแนะนำ ร้านโปรดของผู้เขียน
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2010/11/tengoku-1.html
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2010/11/tengoku-2.html
: http://restaurantaroi.blogspot.com/2011/05/tengoku-de-cuisine.html
No comments:
Post a Comment