5/21/2014

วิธีฝึกร้องเพลง / ร้องเพลงอย่างไรให้ไพเราะ

วิธีฝึกร้องเพลง / ร้องเพลงอย่างไรให้ไพเราะ


เรียนร้องเพลง 1005 วอร์มเสียง Chest Tone ชาย

Pam Lalita Pam Lalita·592 วิดีโอ
16,378

อา  อี  เอ  โอ  อู

THE TIPS : การวอร์มเสียงก่อนร้องเพลง กับ เจ๋ง Big Ass




The Tips กับ อ๊อฟ ปองศักดิ์ (วิธีการฝึกการหายใจ)




เรียนร้องเพลง 1011 วอร์มเสียง Chest, Mix, Head ชาย



การฝึกทำลูกคอ




เรียนร้องเพลง 2019 Adlib การเอื้อน




เรียนร้องเพลง 1033 แก้เสียงแหบ 3





วิธีฝึกร้องเพลง / ร้องเพลงอย่างไรให้ไพเราะ 



ผมเชื่อว่าหลายคนนั้นเกิดมาพร้อมกับเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน และมีหลายต่อหลายคนที่ร้องเพลงได้ดีทั้งๆที่ไม่ได้ฝึกฝนอะไรมากมาย อันนี้เขาเรียนกันว่าพรสวรรค์ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ร้องเพลงถึงขั้นไม่ได้เรื่องเลย และผมก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น ผมเลยอยากจะเอาความรู้ที่ผมได้ร่ำเรียนมาแนะนำให้ผู้ที่สนใจ การที่จะเรียนร้องเพลงก็ไม่ใช่เรื่องอยากเย็นอะไรขอเพียงมีความตั้งใจและฝึกฝนบ่อยๆ จะทำให้ขากรรไกร กล้ามเนื้อส่วนต่างๆจดจำวิธีการเปล่งเสียง ในการร้องเพลงโดยอัตโนมัติ เมื่อพร้อมแล้วก็ลุยกันเลย

ขั้นแรก ฝึกการหายใจ การหายใจในการร้องเพลงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกกันอย่างจริงจัง เพราะถ้าหากหายใจไม่ถูกวิธีจะไม่สามารถเปล่งเสียงในบางคำออกมาได้ หรือเสียงไม่มีพลังและไม่สามารถที่จะร้องจบวรรคได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราจึงมาฝึกการหายใจก่อนนะครับ
1. หายใจให้ลมเข้าทางปากและจมูกพร้อมกัน (หายใจเข้าให้ท้องพองออก ห้ามยกหน้าอกขึ้น หากยกหน้าอกขึ้นจะทำให้เสียงที่เปล่งออกมาไม่ทรงพลัง และจะทำให้เหนื่อยง่าย วิธีที่ถูกคือ ลมเข้าท้องพอง ลมออกท้องยุบ) เมื่อหายใจเข้าแล้วให้เก็บลมไว้ประมาณ 3 วินาที แล้วหายใจออก ให้ฝึกไปเรื่อยๆ เมื่อคล่องแล้วก็มาต่อกันเลย
2. ให้เอามือหนึ่งจับท้อง และอีกข้างจับใต้ซี่โครงซี่สุดท้าย แล้วหายใจเข้าให้เต็มปอด (ห้ามยกหน้าอกนะครับ ปอดให้ปอดดันกระบังลมลงไปข้างล่าง) เก็บลมไว้ 3 วินาที ค่อยๆปล่อยลมออกมาให้มีเสียงลม (เสียง ซี) ให้ได้ยาวที่สุดจนหมดลม หากจับเวลาจะเป็นการดีเพราะจะได้จดสถิติว่าในแต่ละครั้งทำได้นานเท่าไหร่ และเวลาที่ควรจะทำให้ได้คือ 20 วินาที ขึ้นไป ให้ฝึกบ่อยๆจนร่างกายเกิดความเคยชิน (ลมที่ปล่อยออกมาจะต้องนิ่งและเป็นลมเดียว)
3. เมื่อปล่อยลมออกมาให้นิ่งและนานได้แล้ว ก็มาฝึกแบบเป็นช่วงๆกันครับ การปล่อยลมเป็นช่วงเป็นการฝึกการเห็บลมหายใจเมื่อเปล่งเสียงออกมาเพื่อไม่ให้หมดลมก่อที่จะจบวรรคหายใจ ให้หายใจเข้าให้เต็มปอด ใช้ปากและจมูกดูดลมเข้าไปอย่างเต็มที่ (กินลมก้อนโตๆ) เก็บไว้ 3 วินาที ค่อยปล่อยลมออกมาเป็นช่วงๆ อย่างช้าๆ ( ปล่อยลมออก ซี่... ซี่... ซี่... ซี่... ซี่... ซี่... จนหมดลมก้อนนั้น ให้ใช้ลมหายใจเดียวนะครับ) ฝึกไปเรื่อยๆ จนคล่องนะครับ

ในการฝึกหายใจเพื่อใช้ในการร้องเพลงนั้นควรฝึกทุกวันครับ แต่ถ้าหากร่างกายเคยชินแล้วจะทำให้หายใจตามวิธีข้างต้นนี้เองอย่างอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 2 ฝึกออกเสียง เมื่อหายใจถูกต้องแล้วก็มาฝึกการออกเสียงกันครับ
1. หายใจเข้า (กินลมก้อนโตๆ... อึบ) เก็บลมไว้ แล้วเปล่งเสียง “ อา………… ” จนหมดลมก้อนนั้น ฝึกจนเสี่ยงนิ่งเป็นลมเดียว
2. เมื่อฝึกจนได้แล้วก็ลองเปลี่ยนเป็นเสียงอื่น เช่น เอ....... / อือ...... / โอ...... / อู....... / ลา......
3. จากนั้นเราก็จะมาฝึกการไล่ บันไดเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ดํ การไล่สเกลหลายคนคงเคยฝึกกันมาแล้ว และคงทราบว่าแต่ละตัวออกเสียงยังไง ให้ฝึกไล่ไปเรื่อยๆ จนสามารถจดจำว่า แต่ละตัวจะต้องออกเสียงระดับไหนและรูปปากเป็นอย่างไรโดยอัตโนมัติ จากนั้นให้เปลี่ยนจาก โด เร มี เป็นออกเสียงตัวเดียวและลมเดียว(ลมหายใจเดียว) เช่น เสียง “ อา” คือ ให้ไล่ สเกล (บันไดเสียง) โดยใช้คำว่า อา
4. ในการออกเสียงจะมีพยัญชนะ 3 ตัว ที่เสียงจะอยู่ที่โพรงจมูก หากออกเสียงถูกตำแหน่งจะทำให้เสียงที่เปล่งออกมา ก้องกังวาน พยัญชนะ 3 ตัวนั้น คือ ง น ม ให้ฝึกโดยใช้มือจับที่จมูกแล้วเปล่งเสียงพยัญชนะนั้นออกมา ถ้าหากว่าจมูกสั่นๆ นั่นแหละครับออกเสียงถูกต้องแล้วครับ หากใครยังหาตำแหน่งยังไม่เจอลองฝึกอย่างนี้ดู ให้เปล่งเสียงว่า “เงอะ” ช้าๆ นะครับ จากนั้นก็เปลี่ยนเป็น “เนอะ” และ “เมอะ”

โทนเสียง (voice project)
มี 3 ระดับ คือ
- Chest voice คือเสียงที่อยู่ระดับหน้าอก หรือที่เรียกกันว่าเสียงต่ำ เมื่อใช้เสียงระดับนี้หน้าอกจะสั่น ให้ลองเอามือจับที่หน้าอกแล้วเปล่งเสียง “เออ...” (ทำเสียงคล้ายเสียงพระเอกหล่อๆ ทุ้มๆ) ถ้าหากหน้าอกสั่นๆ แสดงว่าถูกต้องแล้ว แต่ถ้าหากยังไม่ถูกให้พูดไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าใช่แล้วคือแบบนี้นี่เอง
- Middle voice คือเสียงที่อยู่บริเวณโพรงแก้มและใบหน้า หรือที่เรียกทั่วไปว่าเสียงระดับกลาง เมื่อใช้เสียงระดับนี้ให้เสียงอยู่ระดับใบหน้า เมื่อใช้เสียงระดับนี้เสียงจะกังวาน และถ้าหากอยู่บริเวณโพรงแก้มจะทำให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น
- Head voice หรือที่เรียกกันว่าเสียง แม่มด คือเสียงสูง เสียงจะอยู่บริเวณกะโหลกศีรษะ เสียงที่เปล่งออกมาจะแหลมเหมือนเสียงแม่มด แต่เมื่อนำมาใช้ในการร้องเพลงจะเป็น “เสียงหลบ” (เสียงหลบ คือเสียงที่เปล่งออกมาไม่เต็มเสียง / ครึ่งหนึ่งของเสียง) ในการฝึก ให้พูดเหมือน แม่มด จากนั้นให้ทำเสียงแม่มดครึ่งเสียง




ฝึกการหายใจและการออกเสียงแล้วก็มาฝึกการร้องเพลง ให้เลือก เพลงที่ชอบมาหนึ่งเพลง เมื่อเลือกเพลงได้แล้วก็มาเริ่มกันเลย
1. ฟังเพลงนั้นซ้ำๆ จนสามารถจดจำ melody (จังหวะของเพลง) ได้ ซึ่งในแต่ละเพลงนั้น จะมี ท่อน A ท่อนB และท่อน Hook
2. แบ่งวรรคหายใจให้ถูกต้อง
3. ใช้ตำแหน่งเสียงให้ถูกต้อง (voice project)

ผมขอยกตัวอย่าง เช่น เพลง ขาหมู --Tattoo colour

ท่อน A /เกลียดละคร แต่ก็ดูมันทุกตอน/
เกลียดคนใจร้อน แต่ก็ชอบมวย/
เกลียดคนรวยนักชอบดูถูกฉัน แต่เมื่อคืนพึ่งฝันว่าถูกหวย/

B เกลียดใครจะได้เจอมันทุกวัน/
เกลียดคนผิดนัด แต่ฉันก็เคย/
เกลียดจังตอนแฮงค์ ปวดหัวตอนเช้า
ตกเย็นกินเหล้าไม่หยุดเลย/

C ชีวิตคนสับสนวุ่นวาย/
เพราะหัวใจมันคล้ายมีบางอย่าง/
ถึงฉันเกลียด แต่ฉันก็ต้องการ /ไม่ว่าใครๆ/

Hook 1 เกลียดความรักที่ทำให้เราต้องเสียใจ/
แต่ยังค้นยังคอยจะหามันเรื่อยไป/
เจ็บไม่จำ ทั้งๆ ที่รู้ / สุดท้ายที่รออยู่คืออะไร โอว์.../

Hook 2 เกลียดความรัก ที่ทำให้เราต้องร้องไห้/
แต่ยังเหงา ถ้าไม่มีเขาก็ไม่ได้/
อยู่คนเดียวมันยังไม่พอ/
ต้องขอใครสักคนเข้ามาทำ/
ให้ใจเจ็บช้ำ /ไม่เข้าใจ/

A2 เกลียดการพนัน แต่ก็เคยเป็นเจ้ามือ/
รำคาญมือถือ แต่ฉันก็มี/
เกลียดจังความอ้วน ใครๆ ก็รู้
แค่ยังสั่งขาหมูกินอยู่ดี/

B2 เกลียดการมองคนที่หน้าตา/
แต่พอเจอดาราขอลายเซ็น/
เกลียดคนยั้วเยี้ย / อึดอัดทุกครั้ง แต่ถ้าอยู่ในผับ ฉันก็ต้องเต้น


***Melody ท่อน A , B , A2 ,B2 เหมือนกัน
***Melody ท่อน Hook1 , Hook 2 เหมือนกัน

*** เครื่องหมาย / คือช่วงที่ต้องหายใจ พอถึงให้ดูดลมเข้าให้เต็มที่แต่อย่าให้เสียงดัง


ร้องเพลงอย่างไรให้เป็นเสียงตัวเอง (เนื้อเสียงที่แท้จริงของแต่ละคน)
คนเราแต่ละคนนั้นมีเนื้อเสียงที่แตกต่างกัน และเลนซ์เสียงที่แตกต่างกัน (การฝึกหาเลนซ์เสียงนั้นจะต้องมีตัวช่วย เช่น cd ที่สอนเรื่อง voice project หรือ ฝึกโดยการใช้ คีย์บอร์ด อันนี้เอาไว้ผมจะแนะนำให้อีกทีนะครับ) ส่วนการหาเนื้อเสียงนั้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ โดย มีวิธี ดังนี้
1. อ่านเนื้อเพลงเสียงดังๆ เต็มเสียง แต่อย่าตะโกนเพราะการตะโกนจะทำให้เส้นเสียงเสียหาย เกิดอาการเจ็บคอ
2. อ่านเนื้อเพลงเต็มเสียงและหายใจให้ตรงกับวรรคที่แบ่งไว้
3. ลองร้องเพลงทีละท่อน และฟังเสียงตัวเองว่าเหมือนกับเสียงที่อ่านหรือไม่ ถ้าหากเสียงไม่เหมือนกัน ให้อ่านทีละวรรค สลับกับร้อง ฝึกไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ได้มาซึ่งเนื้อเสียงจริงๆ ของคุณเอง

---------------------------------------
Acting ท่าทางประกอบในการร้องเพลง
ในการร้องเพลงนั้น ลีลาท่าทางก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการที่ ตัวผู้ร้องนั้นจะแสดงออกมายังไงเพื่อสื่อออกมาให้ตรงความหมายของเพลงอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ความประหม่า ความตื่นเต้น เป็นสิ่งเลวร้ายที่จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเกิดความตื่นเต้นขึ้นจะทำให้ทำอะไรไม่ถูก หรืออาจจะลืมเนื้อเพลงก็เป็นได้ การที่จะลดความตื่นเต้นได้นั้น สามารถทำได้โดยพยายามออกแสดงต่อผู้ชม ชั้นแรกอาจจะเริ่มจาดครอบครัวก่อน จากนั้นก็เป็นเพื่อนฝูง และต่อไปก็สารธารณะชน สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากคือคำติชม ถึงแม้เราพยายามทำให้ดีและเราคิดว่าทำดีแล้วแต่ผู้อื่นมักจะเห็นข้อบกพร่องของเราเสมอ ดังนั้นหากได้การ คอมเม้น ในทางที่ไม่ดี เราก็ควรที่จะยอมรับและนำมาแก้ไขให้ดี อย่าไปโกรธผู้ที่แนะนำเรา

***ท่าทางที่แสดงออกมาทางด้านร่างกาย Body Language (ภาษากาย)
คือการใช้ร่างกายเพื่อสื่อความหมาย เช่น การวาดมือ การเต้น การโยกตัวต่างๆ (การแสดงออกทางร่างกายอาจเป็นลักษณะท่าทางเฉพาะบุคคล ยกตัวอย่างเช่น พี่แบงค์ วงแคลช พี่เขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือท่ายื่นมือออกข้างหน้าเหมือนจะห้ามคนตีกัน (แซวเล่นนะครับ) หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ฝันอยากเป็นนักร้องและชอบพี่แบงค์มาก ทำท่าทางเลียนแบบเขา ครูที่สอนร้องเพลงบอกว่าไม่มีใครเอาหลอก หากเอาไปออกเทปก็โดนวิพากวิจารแน่นอน ไม่รุ่ง
ดังนั้นวิธีฝึกการใช้ร่างกายอย่างง่ายและเป็นธรรมชาติสามารถทำได้ดังนี้
** ยืนตรง กางขาออกประมาณช่วงไหล่ ปล่อยมือไว้ข้างลำตัว สะบัดหัวไหล่ไปมาเพื่อผ่อนคลายหัวไหล่
**สะบัดไหล่แล้วก็ check ขา (เขย่าขา)
**ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งสื่อความหมายของคำออกมา เช่น หากคุณร้องเพลง “ฟ้า - - แทททู คัลเลอร์” คุณจะใช้มือสื่อความหมายอย่างไร ?
// ฟ้า ถ้าไม่ส่งมาให้เธอมีใจ // คำว่า “ฟ้า” ควรผายมือขึ้นข้างบน ส่วน “ถ้าไม่ส่งมาให้เธอมีใจ” ก็ควรลดมือลงมาแล้วแตะที่หัวใจ คือในการฝึกนั้นให้ฝึกจากเนื้อหา ความหมายของเพลง หรือฝึกที่ละประโยค เพื่อให้เกิดความเคยชินในการแสดงออกทางร่างกาย แต่ที่สำคัญการแสดงออกที่มากเกินไป Over Acting ไม่ใช่ผลดี จะทำให้ผู้ที่รับชมรับฟังรู้สึกเบื่อหน่าย ดังนั้นตัวผู้ร้องเองจะต้องรู้ว่าจะแสดงออกอย่างไร อันนี้มันต้องเรียนกับครูสอน Acting ถึงจะได้ผลดี แต่ที่ผมแนะนำไปก็ใช้ได้ดีครับ หากมีความตั้งใจที่จะฝึกฝน และผู้ฝึกต้องมีไหวพริบ และสามารถ create ท่าทางและเข้าใจความหมายของเพลง

***ท่าทางที่แสดงออกมาทางสายตา Eye contract
คือการใช้สายตาสื่ออารมณ์และความหมายของเพลง ดั่งที่ว่า “ ดวงตาเปรียบเหมือนหน้าต่างของหัวใจ” การใช้สายตานั้นต้องให้สอดคล้องกับท่าทางของร่างกายด้วย วิธีการฝึกใช้ Eye contract นั้นทำได้โดย
**ยืนตรงกางขาออกประมาณช่วงไหล่ หน้าตรง
**ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับที่ปลายจมูก และจ้องที่มือเอาไว้
**ค่อยๆ ดึงมือออกจากจมูก สายตายังคงจ้องที่มืออยู่ ให้คิดเสมือนว่ามือคุณดึงดินสอออกจากจมูก และคุณก็จ้องดินสอนั้นไว้
**ค่อยๆ ดึงออกจนแขนตึง จากนั้นให้วาดมือ ไปทางขวาอย่างช้าๆ ตาจ้องอยู่ที่ดินสอแท่งนั้นอยู่ วาดไปจนสุดแขน โดยที่หน้ายังตรงไม่หันไปตามมือ แต่ให้ใช้สายตามองไปเพียงอย่างเดียว จากนั้นให้วาดมือกลับมาอย่างช้าๆ หยุดตรงหน้าสัก 5 วินาที เพื่อพักสายตา
**วาดมือออกไปทางซ้าย ตาจ้องที่ดินสอ หน้าตรง ให้สายตาจ้องไปอย่างเดียว แล้วดึงมือกลับมา ทำอย่างนี้สลับซ้าย-ชวา สัก 10 รอบ
การที่จะร้องเพลงไหนควรเข้าใจความหมายของเพลงนั้นๆ ซะก่อน ว่าความหมายของเพลงสื่อถึงอะไร เมื่อเข้าใจความหมายแล้วก็ให้คิดท่าทางที่จะแสดงออกมา ว่าจะแสดงอาการอย่างไรให้คนดูรู้สึกได้ถึงอารมณ์ของเพลง แต่จะทำให้คนอื่นอินตามเพลงนั้นผู้ร้องเพลงจะต้องเข้าถึงอารมณ์ของเพลง

ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงอารมณ์ของเพลง ???
การเข้าถึงอารมณ์ของเพลงนั้นให้ ตีความหมายของเพลงนั้นก่อน แล้วก็ฝึกแสดงท่าทางออกมา ตัวอย่างเช่น
****เพลง ฝุ่น ของพี่แด็กส์ Big ass หากใครได้ดูมิวสิควีดีโอ ก็จะเห็นว่าพี่เค้าร้องไห้ออกมาด้วย และหลายๆคนรู้สึกได้ถึงความเสียใจที่พี่เขาแสดงออกมา และเมื่อผมฟังเพลงนี้อย่างตั้งใจเพียงลำพังคนเดียว ผมน้ำตาซึมทุกที
เพลง ฝุ่น ใช้การร้องแบบ ..... (ภาษาที่ครูเขาใช้ผมจำไม่ได้ครับ) ที่เรียกกันง่ายๆ คือ ใช้เสียงสะอื้น (เสียงสะอื้นในที่นี้หมายความว่า เสียงของคนที่กำลังร้องไห้ ) แต่ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ให้ดีนะครับ หากร้องไห้ออกมาจะทำให้ร้องเพลงไม้ได้ (เปล่งเสียงไม่ได้ )
****เพลง รักแท้ยังไง - พี่น้ำชา ความหมายของเพลงนี้ ก็เป็นคนที่ไม่รู้จักความรัก และอยากรู้ว่ามันเป็นอย่างไร / อารมณ์สดใส ร่าเริง ใน MV จะเห็นว่าพี่เค้าเต้นอย่างเต็มที่เลยใช่เปล่าล่ะ แล้วรู้ไหมว่าทำไมถึงต้องเต้นแรงขนาดนี้ เพื่อที่ให้เข้ากับเสียงร้อง และให้คำร้องที่ออกมาสดใสร่าเริง (แบบว่า แอ๊บแบ๊ว)

การแสดงอารมณ์ของเพลงนั้นให้คิดว่าเนื้อหาในบทเพลงนั้นเกิดกับเราขณะนั้นจริงๆ แล้วอารมณ์เหล่านั้นก็จะมาเองครับ และหากยังทำไม่ได้ก็ให้ฝึกแสดงละคร ฝึกร้องให้ ดีใจ เสียใจ ฝึกแสดงอาการต่างๆ ให้ออกมาอย่างชัดเจน เมื่อฝึกไปในระดับหนึ่งแล้ว ก็ลองเอาความรู้สึกเหล่านั้นมาใส่ในบทเพลง เพียงเท่านี้คุณก็จะเป็นผู้ที่สามารถพาคนฟังเข้าถึงอารมณ์ของบทเพลงนั้นๆ (อิน กะ เพลง) สู้ๆๆ
***เคยดูรายการ เดอะ สตาร์ หรือ อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย หรือไม่ เขาจะมีการฝึกการแสดงละครด้วย การฝึกละครเพื่อที่จะให้ผู้เข้าแข่งขันฝึกแสดงอารมณ์ท่าทาง ว่า เสียใจควรทำอย่างไร รักทำอย่างไร ดีใจทำอย่างไร เพื่อให้นำมาใช้ในการสื่ออารมณ์ของเพลง

Eye Contract สำคัญอย่างไร ?
การแสดงอารมณ์นั้น eye contract นั้นเป็นสิ่งทีสำคัญอย่างยิ่ง เพราะดวงตาเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจ เคยไหมหากคุยกับใครแล้วเข้าไม่หันมา ทำให้เราไม่อยากคุยกับเขาต่อ การร้องเพลงก็เหมือนกันกับเราคุยอยู่กับผู้ฟังเราจะต้องสบตาเพื่อให้เขารู้สึกว่าเราคุยอยู่กับเขา หากเกิดความตื่นเต้น สายตาไม่นิ่ง (ความตื่นเต้น ประหม่า ทำให้กระพริบตาถี่ขึ้น) ให้หาจุดรวมสายตา เมื่อกลับสู่ภาวะปกติแล้วก็คอยกวาดสายตาให้ทั่วอย่างช้าๆ เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าเราคุยกะเค้า 


เทคนิคการฝึกเสียงให้นิ่ง / ไม่สั่น
วันก่อนผมพึ่งไปเรียนมาครูได้สอนเรื่องวิธีการฝึกให้เสียงนิ่งขณะที่เราเต้น หรือโยกตัว เพื่อใช้ในการร้องเพลงที่มีจังหวะแรงและจังหวะเร็ว โดยมีวิธีการฝึกดังนี้

1 . กระโดดตบพร้อมเปล่งเสียง หลายคนที่เวลากระโดดแล้วร้องเพลงเสียงจะเป็นคลื่น(ที่ไม่ใช่มืออาชีพนะครับ) และเสียงหายเป็นช่วงๆ แต่ทำอย่างไรให้เสียงคงที่เมื่อต้องกระโดดพร้อมร้องเพลง สามารถ ฝึกได้ครับ คือเวลาเรากระโดตบนั้นเราจะต้องฝึกการควบคุมอวัยวะท่อนบน(ตั้งแต่เอวขึ้นไป) ไม่ให้ขยับมากเกินไปจนเสียงสั่น แต่ไม่ใช่การเกรงส่วนบน เป็นการฝึกผ่อนคลาย
**ออกเสียง อา........... พร้อมกระโดดตบ (ใช้ลมเดียวนะครับ แล้วก็เริ่มใหม่ไปเรื่อยๆ ซัก 4 – 5 ครั้ง /มากกว่านั้นก็ได้ครับ)
**ออกเสียง อู............. พร้อมกระโดดตบ (ใช้ลมเดียวนะครับ แล้วก็เริ่มใหม่ไปเรื่อยๆ ซัก 4 – 5 ครั้ง /มากกว่านั้นก็ได้ครับ)
**ออกเสียง เออ..........
**ออกเสียง ออ...........
**ออกเสียง เอ.............
**ออกเสียง อี..............
**ออกเสียง อือ............
**ออกเสียง โอ...........

2. วิ่งพร้อมเปล่งเสียง เป็นธรรมดาคนเราถ้าวิ่งหรือกระโดดเสียงต้องสั่นแน่นนอน แต่เราต้องฝึกเพื่อไม่ให้เสียงของเราสั่น ให้ควบคุมอวัยวะท่อนบนเหมือนข้อแรกครับ เริ่มจากวิ่งช้าๆ ค่อยๆ วิ่ง พร้อมออกเสียงตามข้อแรก และให้เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนมาสามารถจะเร็วได้ แต่เสียงที่เปล่งออกมาจะต้องให้คงที่เท่าเดิม ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หรือประมาณซัก 10 ครั้ง
3. การทำ skip หรือการสไลด์ไปข้างๆพร้อมเปล่งเสียง ใช้หลักการเดียวกันคือการควบคุมอวัยวะท่อนบน

การฝึก 3 อย่างนี้ทำให้เสียงนิ่งหรือเสียงสั่นน้อยลงได้จริงๆ และถ้าหากฝึกบ่อยๆ ละก็เสียงสั่นก็จะหายใจ หากคุณเคยดูรายการ The star หรือ Academy fantasia แล้วละก็ จะเห็นว่า commenter มักจะบอกผู้เข้าแข่งขันว่า ให้ไปออกกำลังกายเพื่อที่จะได้ไม่หอบเวลาร้องเพลง การฝึก 3 อย่างนี้ก็เป็นการฝึกง่ายๆ ที่ได้ทั้งการออกกำลังกาย การออกเสียงที่ชัดเจน
ผมขอบอกไว้เลยนะครับการฝึก 3 อย่างนี้เหนื่อยมากๆ แต่อย่าเลิกฝึกนะครับ พอเราเริ่มชินก็จะไม่รู้สึกเหนื่อยเลย และหายใครท้อมากไม่เอาแล้วผมก็ขอให้คุณหันไปมองความฝันของคุณว่าคุณจะพยายามตะกายเพื่อให้ไปถึงหรือเปล่า 



**** จงจำไว้ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”****

-----เทคนิคต่างๆ เอาไว้ผมจะแนะนำให้ครั้งต่อไป อดใจรอไม่นานครับ----


วิธีการฝึกร้องเพลงให้ถูกต้อง

  โพสเมื่อ 2009-12-04 16:41:07 โดย kigdome
ปัจจุบันการร้องเพลงให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีเป็นสิ่งจำเป็นในการออกงานสังคม มาก เช่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มักถูกเชิญขึ้นไปร้องเพลงในงานเลี้ยงที่เป็นทางการของ หน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ในงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การร้องเพลงเป็นจะช่วยให้ไม่อายผู้อื่น นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ตึง เครียดจากการงาน และยังเป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่งด้วย และหากร้องเพลงได้ไพเราะยังสามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ดังนั้นการฝึกร้องเพลงจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทฤษฎีดังนี้

1. ท่าทาง การปฏิบัติที่ถูกต้องควรจะให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือยืนตรง เท้าวางห่างกันประมาณ 1 ฟุต เท้าขวาอยู่หน้าเล็กน้อย ให้รู้สึกว่ากระดูกสันหลังรับน้ำหนักทั้งหมด ฝึกหัดยกหัว เชิดหน้า ไหล่ตรง แขม่วท้อง หดสะโพก หลังตรง ไม่เกร็งตัว วางตัวตามสบายแต่ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ควรยืนห่างจากไมโครโฟนประมาณ 12 - 15 นิ้ว ออกเสียงแต่พอควรไม่เบาหรือดังจนเกินไป สำหรับผู้ใช้เสียงจากลำคอต้องยืนใกล้ไมโครโฟนมากเพราะเสียงจะออกกังวานต่ำ และเบาแผ่ว จึงจำเป็นต้องยืนใกล้ไมโครโฟนเหมือน

ผู้ใช้เสียงจาก นาสิก สำหรับผู้ใช้เสียงจากท้องเสียงจะดังมากไม่ต้องอยู่ใกล้ไมโครโฟนเกินไป

การฝึกหัดกับกระจกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะได้เห็นและแก้ไขสิ่งบกพร่องต่างๆ ให้ดีขึ้น และช่วยให้ไม่อายได้

2. การหายใจ การร้องเพลงให้เสียงดีนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการหายใจที่ถูกต้อง ขณะหายใจลมจะผ่านหลอดเสียงเกิดเป็นเสียงต่าง ๆ ขึ้น ถ้าการหายใจสม่ำเสมอเสียงร้องเพลงก็น่าจะสม่ำเสมอด้วย

- 2 -

ส่วน ของร่างกายที่ช่วยบังคับลมหรือการหายใจเรียกว่ากระบังลม กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่อยู่ใต้ปอด และอยู่เหนือกระเพาะอาหารทางด้านหน้า ถ้าปอดแฟบแสดงว่าไม่มีอากาศ กระบังลมจะมีลักษณะเหมือนชามคว่ำ ขณะที่หายใจออกกระบังลมจะดึงขึ้นไปดันปอดทำให้อากาศกลับออกมาผ่านไปตามลำ คอกระทบกับหลอดเสียงทำให้เกิดเสียงขึ้น นอกจากการขยายกระบังลมแล้ว ผู้ร้องยังใช้อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยขยายโพรงอกคือการพองตัวทำให้ซี่โครง กางออก

การฝึกหายใจ เริ่มด้วยการยืดอกและยืนตัวตรงให้แขนแนบลำตัว ไม่ควรยกไหล่ หายใจเข้าทางปากครึ่งหนึ่ง จมูกครึ่งหนึ่งพร้อม ๆ กันจะทำให้ไม่เกิดเสียงดัง โดยกระบังลมจะทำหน้าที่ชะลอลมหายใจให้ออกช้าๆ คล้ายกับคาบูเรเตอร์ของเครื่องยนต์ ผู้ร้องจะต้องฝึกหัดหายใจเข้าออกอย่างรวดเร็วแล้วปล่อยออกช้าๆ ให้ได้นานที่สุด

ข้อสำคัญก็คือ การหายใจเข้า ท้องจะป่องเพื่อเก็บลมและ การหายใจเข้าจะต้องหายใจก่อนเริ่มร้องพอดี พยายามรักษาสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด เจ็บคอหรือต่อมทอมซินอักเสบ อย่าขากเสมหะแรงๆ หรือสั่งน้ำมูกแรงๆ อย่าดื่มสุราหรือสูบบุหรี่จัดจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ

3. การจับเสียงและเข้าจังหวะ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

3.1 นึกเสียงที่จะร้องในใจ หมายถึงระดับเสียง เสียงสระ

ความดังเบา

3.2 หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ เตรียมพร้อมที่จะเปล่งเสียงออกมา

3.3 ริมฝีปาก แก้ม และขากรรไกรปล่อยตามสบาย

3.4 ลิ้นไม่กระดกหรือเกร็ง ปล่อยตามสบาย ให้ปลายลิ้น

แตะกับฐานฟันล่างเล็กน้อย

- 3 -

3.5 การส่งลม การปรับหลอดเสียง การบังคับปากและ

การร้องจะเกิดขึ้นวินาทีเดียวกัน

4. คุณภาพของเสียง ขึ้นอยู่กับหลอดเสียง กล่องเสียง ลำคอ กระพุ้งปาก ลิ้นและศรีษะ เมื่อสูดอากาศออก อากาศจะผ่านหลอดเสียงทำให้หลอดเสียงสั่นเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงก็จะผ่านลำคอและปาก ดังนั้นทั้งในปากและในศรีษะจะทำหน้าที่เป็นช่องขยายเสียง

ในขณะที่ ร้องเพลงจะรู้สึกเสียงพุ่งไปข้างหน้า และมี ?จุด? ที่เสียงรวมกันอยู่ที่หนึ่งที่ใดบนใบหน้า พยายามให้ ?จุด? นี้ อยู่ที่แถวฟันเหนือปลายลิ้น ไม่ควรให้ ?จุด? นี้อยู่ในลำคอหรือโคนลิ้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแถวนั้นเกร็งและเสียงที่ออกมาจะไม่น่าฟัง การร้องเพลงควรคิดถึงบรรยากาศที่สวยงามเบิกบานใจ อย่าเกร็งคอหรือหน้า อย่าเกร็งลิ้นหรือกระดกลิ้นขึ้นเพราะจะไปบังลำคอ ทำให้เสียงที่ออกมาเกร็ง ฟังไม่ชัดและ

ไม่ไพเราะ คือเสียงไม่มีคุณภาพนั่นเอง

5. การออกเสียงของสระและพยัญชนะ ในการร้องเพลง

ผู้ ร้องต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสอง คือการออกเสียงสระและพยัญชนะ ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดจะร้องเพลงไม่ได้ดีถึงแม้จะมีเสียงไพเราะก็ตาม

หลักการร้องสระ แบ่งออกเป็น 4 ข้อคือ

(1) ออกเสียงสระให้ตรงตัว อย่าทำเสียงอื่นปนหรืออย่า

ออกเสียงผิดๆ

(2) ในการขับร้องหมู่ ผู้ร้องทุกคนควรออกเสียงสระให้เหมือนกัน



- 4 -

(3) สำหรับคำที่มีสระผสม (เช่น คำว่า ?เดียว? มีสระ

2 ตัว คือ สระอี และสระอู) ควรร้องสระเอา (ตัวหน้า) ตามค่าของตัวโน้ตไม่เน้นสระโอ (ตัวหลัง) จนเกินไป (ในกรณีนี้ไม่เน้นสระอู จะร้องสระอีจนกว่าหมดค่าของโน้ตและสรุปคำด้วยสระอู)

(4) ร้องต่อสระคำหนึ่งไปยังอีกคำหนึ่งให้ต่อเนื่องกัน อย่าร้องขาดเป็นห้วงๆ

สำหรับการออกเสียงพยัญชนะ ผู้ร้องอาจจะปฏิบัติดังนี้คือ พยายามร้องสระให้ยาวที่สุดและร้องพยัญชนะให้สั้นที่สุดแต่ชัดเจน

หลักการร้องพยัญชนะ แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ

(1) ถ้าคำใดขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ควรร้องพยัญชนะตรงจังหวะ อย่าร้องช้ากว่าจังหวะ

(2) ควรจะเปล่งเสียงพยัญชนะ เช่น เชอะ ฟัก ก่อนจังหวะของมันเล็กน้อย เมื่อจังหวะของมันมาถึงเสียงที่ร้องจะได้ตรงจังหวะพอดี แล้วร้องสระของคำนั้นทีหลัง (พยัญชนะจะออกเสียงจากไรฟันและช่องข้างลิ้น)

(3) เนื่องจากสระเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการร้องเพลง ควรร้องพยัญชนะแต่ละตัวให้สั้น

(4) เปล่งเสียงพยัญชนะทางส่วนหน้าของปาก เพราะสะดวกในการเปล่งเสียงมากกว่าที่อื่น และเพื่อให้ชัดเจนอย่าออกเสียงพยัญชนะจากโคนลิ้น

(5) ออกเสียงพยัญชนะทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พยัญชนะเป็นตัวเดียวกันสองตัว เช่น หนักแน่น



- 5 -

หลักการร้องเพลงเสียงต่ำ แบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ

(1) ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ

(2) เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้

(3) ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง

(4) เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง

(5) บังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป

(6) ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้าย

เสียงฮัม

หลักการร้องเพลงเสียงสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ

(1) ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูง ให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน

(2) การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ

(3) การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ

(4) เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง

(5) ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง

- 6 -

6. อักขระ เป็นสิ่งสำคัญในการร้องเพลง โดยเฉพาะ

คำ ควบกล้ำ คำสั้นยาว แต่ละคำล้วนมีความหมาย เพราะบทเพลงแต่ละเพลงที่ถ่ายทอดจากจินตนาการของ นักแต่งเพลง ล้วนมีความหมายและอารมณ์อยู่ในตัวของมันเอง ผู้ร้องคือผู้ถ่ายทอดจินตนาการของบทเพลงนั้นๆ ถ้าไม่พิถีพิถันด้านอักขระจะทำให้เพลงนั้นหมดความหมายและอารมณ์ทันที เช่น ฉันรักเธอ เป็น ฉันลักเธอ ขี่ควายชมจันทร์ เป็น ขี่ฟายชมจันทร์ หนัก เป็น หนาก หรือ เพลง เป็น เพง

ความรู้เรื่องการร้องเพลงที่กล่าวมานี้เป็นเพียง หลักที่

ต้องนำไปฝึกหัดและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ยัง มีความรู้ในด้านอื่นๆ อีกเป็นส่วนประกอบ เช่น สัดส่วนของคำควรจะร้องอย่างไรสำหรับจังหวะนั้น ๆ การฝึกเอื้อน ฝึกลูกคอ การโหนเสียง ความรู้ในการรักษาเสียง ความรู้ในการใช้ไมโครโฟน วิธีการถือไมโครโฟนเป็นอย่างไร การเลือกเพลงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ สถานที่ และบุคลิกของตัวเอง รวมทั้งควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

สิ่งเหล่านี้จำเป็น ที่จะต้องศึกษาไว้ด้วย

อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ร้องควร คำนึงก็คือการวางอิริยาบทในเวลาร้องเพลงบนเวที สำหรับผู้ร้องที่ไม่ประกอบแอ็คชั่นหรือออกท่าทาง

ในเวลา ร้องเพลง ต้องอยู่ในลักษณะสงบ ไม่เอียงหน้าไปมาในขณะร้อง ไม่เอามือไขว้หลังหรือประสานมือไว้ข้างหน้า

ผู้ ที่ยังออกท่าทางไม่ได้ก็ควรออกความรู้สึกของบทเพลงบางตอนทางใบหน้าและสายตา เท่านั้นก็พอ หากบางเพลงจำเป็นต้องมีแอ็คชั่นก็ควรฝึกจากผู้สอนที่มีหลักวิธีจะทำให้ความ หมายในบทเพลงดีขึ้น

- 7 -

เรื่องมารยาทของผู้ร้องก็เช่นกัน ขณะอยู่บนเวทีสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ยิ้มและร่าเริงทันทีเมื่ออยู่บนเวที (นอกเหนือจากการแสดงที่มีการกำกับไว้ตายตัว)

ต้องเคารพ ต่อผู้ฟังผู้ชมทุกครั้ง อย่าปล่อยอารมณ์ที่ไม่พอใจเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พอใจ

No comments: