ไม่ว่าจะคนทั่วไป หรือคอกาแฟตัวจริง หลายคนคงได้ลอง หรือได้ยินชื่อ กาแฟดอยช้าง มาแล้ว ด้วยคุณภาพกาแฟชนิดพิเศษระดับท็อป “World Class Speciality Coffee, Doi Chaang Estate” โดยเฉพาะ กาแฟขี้ชะมดบนดอยช้าง ได้รับการยกย่องจากนักบริโภคว่า "เป็นอันดับหนึ่งของโลก" เมื่อปี 2010 ในหลายๆเวทีการประกวด เคยมีผู้กล่าวถึงรสชาติของกาแฟขี้ชะมดไว้ว่า "มีกลิ่นหอมดั่งดอกไม้ คล้ายน้ำผึ้งผสมผลไม้ ไม่มีรสขม ดื่มแล้วจะชุ่มคอเป็นเวลานาน" มาถึงเชียงรายแล้วแวะชิมกันซะหน่อยนะจ๊ะ
อย่างวันนี้ก็มาที่ร้านกาแฟดอยช้างแห่งนี้เพื่อมาดื่มกาแฟแก้วที่แพงที่สุดในชีวิต ถึงแม้บางครั้งอาจจะต้องจ่ายแพงบ้าง แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์และความรู้ บางครั้งก็ต้องยอมครับ
บรรยากาศภายในร้านก็ดูดีเนาะ มีเบาะนวมโซฟาให้ลูกค้าได้นั่งดื่มกาแฟ
อย่างสบายใจสบายกาย
ที่บู๊ธชงกาแฟก็มีกาแฟหลายแบบให้เลือกซื้อติดมือกลับไปบ้านด้วย
เอาละถึงเวลาที่จะบอกให้ท่านได้รู้แล้วว่ากาแฟที่ผมตั้งใจที่จะมาดื่มทดลอง
รสชาติของมันในวันนี้ก็คือกาแฟขี้ชะมดนั่นเอง เขาว่ากันว่ากลิ่นของมัน
หอมหวนชวนดื่มยิ่งนัก และรสชาติออกหวานเหมือนน้ำผึ้งผสมผลไม้นั่นเชียว
แต่อย่าเพิ่งไปเชื่อคำอวดอ้างให้มากนัก ต้องลองชิมก่อนถึงจะบอกได้ว่ามัน
เป็นอย่างที่คุยไว้หรือเปล่า
อันว่ากาแฟขี้ชะมดนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากชวาหรืออินโดนีเซียโน่นแน่ะครับ คือมี
ชาวบ้านบนเกาะสุมาตราไปเดินป่าแล้วเจอขี้ชะมดที่มีเม็ดกาแฟปนอยู่ด้วย
จึงเอามาล้างและเอาไปคั่วแล้วเอามาทดลองดื่มดู ก็รู้สึกได้ถึงรสชาติและกลิ่น
ที่หอมหวนของมัน จึงได้เกิดแนวคิดที่จะเพาะเลี้ยงชะมดขึ้นในไร่กาแฟ
ของตน และจะนำไปขายในราคาที่แพงกว่ากาแฟธรรมดา คือเพิ่มมูลค่า
ให้เม็ดกาแฟ ว่างั้นเถอะ
ต่อมากาแฟขี้ชะมดนี้ขายดีถึงแม้จะมีราคาแพงแต่คนก็นิยมดื่มเพราะรสชาติ
และกลิ่นที่ถูกใจ จึงเกิดการแพร่หลายไปยังอีกหลายประเทศเช่น ฟิลิปปินส์
ติมอร์ตะวันออก รวมทั้งเวียตนามเองก็เอากะเค้าด้วย
เจ้าของกาแฟดอยช้าง ที่ชาวบ้านเขาปลูกกันเองบนดอยช้างเห็นแล้ว
ว่าที่ดอยช้างก็มีชะมดป่าอยู่จำนวนมากและชอบมาแอบกินเม็ดกาแฟของ
ชาวบ้านอยู่เสมอ จึงสั่งให้ชาวไร่คอยเก็บเม็ดกาแฟที่ชะมดกินแล้วขี้ทิ้งไว้
เอามาขายให้เขา ให้ราคากิโลละสามหมื่นกว่าบาทแน่ะ จึงเป็นเหตุจูงใจให้
ชาวไร่คอยตามเก็บเม็ดกาแฟเหล่านี้ แต่ก่อนนั้นชาวไร่รังเกียจพวกชะมด
เป็นยิ่งนักที่มาคอยแอบขโมยกินเม็ดกาแฟ จึงต้องกำจัดทิ้งบ้างเมื่อพบเจอ
แต่ตอนนี้อยากจะกราบวิงวอนให้พ่อเจ้าประคุณชะมดทั้งหลายที่มีอยู่บนดอย
ช้างให้มากินกาแฟที่พวกตนปลูกอยู่ มาเถอะมากินกันเยอะๆแล้วขี้ทิ้งไว้
ในไร่ของฉันนะ อย่าไปขี้ที่อื่น
สำหรับกาแฟขี้ชะมดที่ดอยช้างแตกต่างจากกาแฟของหลายๆประเทศดังได้
กล่าวมาแล้ว คือ
1. เป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ส่วนประเทศอื่นนั้นใช้สาย
พันธุ์โรบัสต้า
2. ที่ดอยช้างเป็นชะมดป่าไม่ใช่ชะมดเลี้ยงในไร่เหมือนประเทศอื่น
3. ชะมดที่ดอยช้างเป็นชะมดป่าจริงๆ WILD CIVET
ส่วนที่อินโดนีเซียเป็น อีเห็น ก็คือเป็นญาติของชะมดนั่นเอง อยู่ในตระกูล PARADOXURUS
ส่วนในฟิลิปปินส์และเวียตนามเป็นเพียงพอนครับ ไม่ใช่พังพอนนะครับ
เพียงพอนเป็นญาติกับพังพอนครับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า WEASEL
และประเทศที่ว่ามานี้เลี้ยงสัตว์พวกนี้ไว้ในไร่ แล้วคอยเก็บขี้ของมันที่มี
เม็ดกาแฟเอามาล้างให้สะอาดแล้วส่งออกขาย ในราคาที่แพงสองสามหมื่น
บาทต่อกิโลกรัม
เหตุที่กาแฟขี้ชะมดมีราคาแพงก็เพราะว่ามันหายาก มีน้อย ต้องผ่านกระบวนการ
ผลิตที่ซับซ้อน และมีรสชาติดีกว่ากาแฟทั่วไป เนื่องจากช่วงที่เมล็ดกาแฟอยู่
ในท้องของชะมดนั้น เอนไซม์และสารเคมีในกระบวนการย่อยของชะมดจะทำให้
เมล็ดกาแฟมีกลิ่นและลักษณะเฉพาะของมันโดยธรรมชาติ
และสำหรับที่ร้านกาแฟดอยช้างนี้จะคั่วกาแฟขี้ชะมดในระดับกลางๆ คือไม่ใช้ไฟ
แก่ไปหรืออ่อนไป จึงเหมาะสมที่สุดสำหรับเมล็ดกาแฟขี้ชะมด
เอาละเกริ่นนำให้ท่านพอรู้เรื่องกาแฟขี้ชะมดมาพอสมควรแล้ว ตอนนี้ถึงเวลา
ที่จะทดลองดื่มกาแฟแบบจริงๆจังๆเสียที จึงสั่งน้องให้นำกาแฟขี้ชะมดของ
ดอยช้างที่ว่าแน่ๆ เอามาชงให้เห็นกันจะๆไปเลย
น้องคนสวยก็นำภาชนะที่ใช้สำหรับชงกาแฟชุดนี้มาชงให้ดู แค่เห็นแก้ว
เห็นกาชงก็ดูน่าทึ่งแล้วเห็นไหม
กรรมวิธีการชงก็คือต้องใช้เวลา 3 นาที ให้น้ำร้อนละลายกลิ่นและรสกาแฟ
ให้เนียนละเอียดเสียก่อนแล้วผ่านการกรองจึงจะได้รสกาแฟแท้ที่สมบูรณ์แบบ
ค่อยๆรินน้ำร้อนลงไปไม่รีบร้อน ผมก็นั่งดูอย่างใจจดจ่อ น้องบอกให้ใจเย็นๆ
รอแค่สามนาทีก็ได้ดื่มแล้ว
น้ำร้อนที่เทลงไปผสมกับกาแฟขี้ชะมดนี้กะดูก็ประมาณ 50 CC. เห็นจะได้
รวมแล้วก็แค่กาแฟน้อยๆ ไม่ถึงครึ่งแก้วอย่างที่เห็น ผมก้มลงไปดมเพื่อสัมผัส
กลิ่นของมัน ผมยอมรับว่ากลิ่นมันก็เหมือนๆกับกาแฟทั่วๆไปนั่นแหละครับ ทีนี้มาถึงวิธีการชงผมถามน้องเค้าว่าจะต้องเติมน้ำตาลมั๊ย น้องบอกว่าถ้ามันขมก็เติมได้ แต่ไม่นิยมเติมนมลงไป
แค่จิบแรกที่ลองชิมโดยไม่เติมอะไร ผมก็ว่ามันขมอยู่ดี เลยใส่น้ำตาลไปหนึ่ง
ช้อนชา พอให้หายขมหน่อย แล้วก็ค่อยๆละเลียดดื่มทีละน้อย ทีละจิบให้สม
กับคุณค่าราคาของมัน ในไม่ช้าก็หมดแก้วนั้น
No comments:
Post a Comment