สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอฝาง
ดอยอ่างขาง    เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ เช่น แคร์รอท ผักสลัดต่างๆ สวนสมุนไพร แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาย แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่ายและสหกรณ์ของโครงการ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล ดอยอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม. ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตาม แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลาย ป่า ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือน อ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิ้ล พระตำหนักอ่างขาง
สถานที่ท่องเที่ยว : ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม.  ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ  สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า  ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร   ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง  แปลงปลูกไม้ในร่ม  แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิล พระตำหนักอ่างขาง  รายละเอียดและจุดเด่นของแต่ละสถานที่ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ข้อมูลทั่วไป - ดอยอ่างขาง - ดอยอ่างขาง ( ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง ) 
      สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ( ดอยอ่างขาง ) เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน
ปัจจุบัน ดอยอ่างขาง ได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขาซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลกว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่โดยรอบกว่า 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
อากาศบนดอยอ่างขาง หนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ( ดอยอ่างขาง )
เรื่องกำเนิดของสถานีฯแห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ มีการจำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวในสถานีฯ มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวดูรายละเอียดในข้อมูลที่พัก

สถานที่น่าสนใจภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ได้แก่

สวนแปดสิบ (สวน80)
สวนแปดสิบ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ซึ่งมีดอกไม้เมืองหนาวสีสันสดใส ประดับประดาอยู่มากมาย อันได้แก่ กะหล่ำแฟนซี ซึ่งมีทั้งสีขาว และสีม่วง, เยอบีร่า, รูบาร์ป, คริสต์มาส, เทียนแฟนซี, แซลเวีย และดอกไม้อื่น ๆ อีกมากมาย

สวนกุหลาบ
สวนกุหลาบ เป็นที่รวบรวมกุหลาบมากมายหลายพันธ์ ส่วนใหญ่เป็นกุหลาบขนาดใหญ่ สวนกุหลาบตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของที่ทำการสถานีเกษตร ฯ

สวนบอนไซ
สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

หมู่บ้านคุ้ม
ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

จุดชมวิวกิ่วลม
จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

หมู่บ้านนอแล
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า

หมู่บ้านขอบด้ง
หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)
บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็กๆ ด้วย

หมู่บ้านหลวง
ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

กิจกรรมท่องเที่ยว
กิจกรรมท่องเที่ยวบน ดอยอ่างขาง มีหลายย่างที่สามารถทำได้เช่น เดินเท้าศึกษาธรรมชาติ ขี่ฬ่อล่องไพร เป็นต้น
- ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ สามรถขับรถวนเป็นวงกลม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท

ประเพณีและวัฒนธรรม
- เยี่ยมหมู่บ้านหลวง สัมผัสชีวิตชาวจีนฮ่อ
- เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้านจำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า
- เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอมีมัคคุเทศก์น้อยพาเยี่ยมชมภายในหมู่บ้าน เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
- เดินป่าระยะสั้น ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน
- กิจกรรมดูนก ที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่นให้ศึกษาหลากสายพันธุ์
- จุดชมวิว-จุดกิ่วลมชนิด เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้นดอยอ่างขาง

ของฝาก
- ผลิตภัณฑ์ใต้สัญลักษณ์ "ดอยคำ" มีทั้งสินค้าแปรรูป ผักสด ผลไม้ปลอดสารพิษ
- ไม้ดอกเมืองหนาว
- หัตถกรรมสาน ถัก จากหญ้าอิบุแค และหัตถกรรมสิ่งทอ

ที่พัก ร้านอาหาร
- บ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง
ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
และขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
- เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
- มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง
หมายเหตุ.- กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9

การเดินทางสู่ ดอยอ่างขาง ( ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง )
เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงสาย1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ
เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง ถึง กม. 137 แยกบ้านปางควาย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงสาย 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร
หมายเหตุ - ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,000 - 1,500 บาท
(ที่มา : http://www.ezytrip.com/travelsearch/district_attract2.php?chk=4337)


จุดกางเต็นท์พักแรม
ที่พักที่อ่างขางมีปริมาณ ไม่เพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดของช่วงฤดูหนาว  การกางเต็นท์พักแรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกสบายและประหยัด   จุดกางเต็นท์ดอยอ่างขางมีกระจายอยู่หลายจุด  จุดหลักคือบริเวณริมถนนก่อนลงสู่อ่างขาง  พื้นที่กางเต็นท์อยู่ริมถนนทั้งสองฝั่ง ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย มีห้องสุขาบริการ มีเตาให้เช่า มีฟืนขาย
อีกจุดคือจุดกางเต็นท์ บริเวณสนามหน้าโรงเรือนตรงข้ามทางเข้าสถานีเกษตรอ่างขาง  ลักษณะเป็นที่ราบข้างเสาธง มีห้องสุขาของโรงเรียนไว้บริการ ผู้ที่ไปใช้บริการพื้นที่นี้ควรช่วยค่าบำรุงสถานที่ด้วย จุดนี้มีผ้าห่มให้เช่า
อีกจุดคือ ที่จุดชมวิวกิ่วลม อ่างขางก็มีกิ่วลม  ที่จุดชมวิวมีพื้นที่กว้างอยู่บนเนินริมถนน อยู่ห่างไกลชุมชนและยังมีวิวที่สวยงาม



 ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
ดอยอ่างขางอยู่บนที่สูง อากาศเย็นสบายตลอดปี เหมาะกับการขึ้นไปพักผ่อนได้ตลอดทั้งปี  ความงดงามแตกต่างกันไปบ้างตามช่วงเวลา นักท่องเที่ยวจะขึ้นไปชมกันมากในช่วงฤดูหนาว
ช่วงฤดูหนาว  ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ที่นี่จะมีความหนาวเย็นและดอกไม้เมืองหนาวออกดอกงดงามมาก ในบางช่วงเวลาอาจจะมีน้ำค้างแข็งหรือเหมยขาบจับยอดหญ้าในยามเช้า ดอกซากุระเมืองไทยหรือต้นพญาเสือโคร่งจะออกดอกสะพรั่งทั่วทั้งขุนเขาในช่วงปลายเดือนมกราคม-ต้นกุมภาพันธ์ ( แล้วแต่อากาศของแต่ละปี ) ในช่วงที่ดอกซากุระบานนี้ก็จะมีนกมาดูดกินน้ำหวาน การเที่ยวดอยอ่างขางในช่วงฤดูหนาวควรจะเตรียมชุดกันหนาวไปให้พร้อมเพราะที่นี่หนาวมาก
 
ช่วงฤดูร้อน มีนาคม-พฤษภาคม เหมาะที่จะหลบลมร้อนมานอนในบรรยากาศที่สบายกว่า ช่วงนี้ต้นเพาโลว์เนียจะออกดอกสีม่วงอมขาวบานสะพรั่งเต็มต้น สวยงามมาก
 
ช่วงฤดูฝน  มิถุนายน-กันยายน  ทางลื่นสักหน่อยแต่ป่าหน้าฝนก็คุ้มค่าที่จะมาเยือนเพราะสภาพป่าเขาและเทือกเขาจะมีสีเขียวสดชื่น ถึงแม้อาจจะเสี่ยงต่อการเจอฝนแต่ว่าถ้าหากฝนไม่ตกก็จะเป็นช่วงเวลาที่วิเศษที่สุดเนื่องจากสภาพอากาศจะใสปิ๊ง มองชมวิวได้ไกลๆ ไร้หมอกแดดขุ่นมัว
 
ช่วงปลายฝนต้นหนาว  ตุลาคม-พฤศจิกายน  เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย ป่ายังไม่แห้งนัก ช่วงนี้ต้นเมเปิลและไม้ป่าอื่นๆ เริ่มเปลี่ยนสี กลายเป็นป่าเปลี่ยนสีที่มีสีสันแปลกตา งดงามไปทั่วทั้งหุบเขา
 
ดอยอ่างขาง
ข้อมูลทั่วไป :
อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็งนักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้าเสื้อกันหนาว

--------------------------------------------------------------------------------
การเดินทาง : 
บนเส้นทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตรเป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญหรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า

--------------------------------------------------------------------------------
สิ่งอำนวยความสะดวก : 
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีที่พักแรมได้ประมาณ 80 คน บริการอาหารวันละ 3 มื้อ/คน/วันคนละ 100 บาทเฉพาะกรณีที่สถานีฯมีความสะดวกในการรับบุคคลภายนอกเท่านั้นติดต่อรายละเอียดโครงการหลวง 65 ถนนสุเทพเชียงใหม่ 50002 หรือสถานีเกษตรหลวงอ่าวขาง ตู้ปณ.14 อำเภอฝาง เชียงใหม่ 50110
ที่พักเอกชนหน้าสถานีฯ ได้แก่ บ้านดอกเหมย, บ้านคนเมืองและร้านสามพี่น้อง มีที่พักเป็นหลังๆ พักได้ 4-8 คน อัตราค่าที่พัก 350-500 บาท/หลัง ติดต่อบ้านดอกเหมย บ้านสามพี่น้องที่ 62 หมู่ บ้านหลาจู ตำบลแม่งอนอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

--------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง : 
มีหลายอย่างที่สามารถจัดขึ้นได้รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขางริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวขึ้นที่นี่ ได้แก่
เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะสั้น
ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมน้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี
เส้นทางจักรยานเสือภูเขา
จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแลและ จากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง
จุดชมนก
มีนกมากกว่า 1,000 สายพันธุ์จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆรีสอร์ธรรมชาติอ่างขาง
การขี่ฬ่อล่องไพร
ชมความงดงามของธรรมชาติในบรรยากาศเย็นสบายรอบๆดอยอ่างขางด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้างเนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้)หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วันเพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย

--------------------------------------------------------------------------------
จุดเด่นที่น่าสนใจ : 
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
เรื่องกำเนิดของสถานีฯแห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้านจึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอดเมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่นและหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นชาวเขากลุ่มนี้ยังไว้แกละถักเปียยาวแต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตรสถานีฯจึงเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขาและทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียงสามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี่ สาลี่ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯแปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯมีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการฯ ให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล
สวนบอนไซ
อยู่ในบริเวณสถานีฯเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่งโดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชมและในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
หมู่บ้านคุ้ม
ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯเป็นชุมชนเล็กๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
จุดชมวิวกิ่วลม
อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่งและบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอกมองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล
ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปีคนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเองนับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีลจากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า
หมู่บ้านขอบด้ง
เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกันคนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายหมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)
บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอโดยชาวบ้าน ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไปและยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือนทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็กๆด้วย
หมู่บ้านหลวง
ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อและสาลี่
ที่มา : ที่ว่าการอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
โป่งน้ำร้อนฝาง
เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซสเซียล มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร) อุทยานแห่งชาติได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่าป่าเบญจพรรณมาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร
กิจกรรม -อาบน้ำแร่ - ชมทิวทัศน์
 
  
นับว่าเป็นน้ำพุร้อน ที่ประทับใจที่สุดเลยเรียกได้ว่าเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทยเลยด้วย เพราะที่นี่ มีน้ำพุร้อน ที่ค่อนข้าง เป็นบริเวณกว้าง อย่างที่เห็นในรูปนั่นแหละครับ นอกจากนั้นยังมี ไฮไลท์ คือน้ำพุ ที่ สูง ที่สุดอีกด้วย ซึ่งจะพุ่งขึ้นมาทุกๆ 30 นาที เพราะลักษณะข้างใต้จะเป็น กะเปาะ ซึ่งเมื่อน้ำมารวมกันจนเต็มกะเปาะนั้น ก็จะ พุ่งขึ้นมาครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีความร้อน ประมาณ 150 ํc เลยทีเดียว โดยการพุ่งขึ้นมาจะสูงประมาณ 30-50 เมตรเลย แต่เดี๋ยวนี้ เค้าได้ทำการใส่ วาล์วควบคุมแล้ว ซึ่งถ้าเราไปในวันธรรมดาจะปิด เพราะนักท่องเที่ยวมีน้อย เนื่องจากเค้า นำแรงดัน ความร้อน ไปปั่นไฟด้วย เราจึงควรไปในวันหยุดจะสะดวกกว่า