ไฮไชต์ของทริป วันนี้ วัดร่องขุ่น และ ไร่บุญรอด ตั้งใจมาช่วงเวลานี้เพราะแสงยามเย็นของที่นี่สวยมาก ไร่บุญรอดตั้งอยู่เส้นทางเดียวกับวัดร่องขุ่น จากถนนสายหลักของเชียงรายเลี้ยวผ่านวัดแล้วขับตรงมาประมาณ 7 กิโลเมตร มีป้ายบอกตลอดทาง จะเห็นสัญลักษญ์รูปปั้นสิงห์สีทองตัวใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า โดยปกติตรงรูปปั้นสิงห์จะมีต้นข้าวบาร์เลย์พริ้วปลิวสไวอยู่ปกคุลมอยู่โดยรอบแต่วันที่ฉันไปเก็บเกี่ยวหมดแล้ว และในปัจจุบันนี้ทราบมาว่าไม่ได้ปลูกแล้ว ท่องเทียวไร่บุญรอด ทางไร่ มีรถนำเที่ยวแบบฟาร์มทัวร์ อัตราค่าบริการคนละ 50 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบฟรี ใช้เวลาชมประมาณ 45- 50 นาที รอบเช้าเที่ยวแรกประมาณ 09.30 น. รอบบ่าย 12.30 น. รอบสุดท้าย 17.00 น. แต่ทั้งนี้เวลาการออกรถสามรถยืดหยุ่นได้ หากมีนักท่องเที่ยวเต็มในแต่ละรอบ
ข้อมูลไร่บุญรอด http://paiduaykan.com/province/north/chiangrai/boonrawdfarm.html
ภายในไร่กว้างขวางมีทัศนียภาพที่สวยงามมีพื้นที่เกษตรกรรมและไร่ชากว่า 600 ไร่
เที่ยววัดร่องขุ่น เชียงราย ชมความงามสุดตระการตา
เที่ยววัดร่องขุ่น เชียงราย ชมความงามสุดตระการตา
ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คที่ต้องไปเมื่อไปเยือนเมื่อไปถึงจังหวัดเชียงราย สำหรับ "วัดร่องขุ่น" วัดที่ออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรเรืองนาม ที่อุทิศตนสร้างวัดอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีความโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ทางศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่แสนวิจิตรอลังการ
แต่เอ...เพราะอะไรใคร ๆ ก็อยากไปสัมผัสวัดร่องขุ่นด้วยตาสักครั้ง และทำไม อาจารย์เฉลิมชัย ถึงคิดจะสร้างวัดนี้ขึ้นมา? วันนี้กระปุกท่องเที่ยวจะพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยววัดร่องขุ่น พร้อมกับบอกเล่าความเป็นมาให้รู้กัน ^^
วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรไทยที่มีผลงานจิตรกรรมไทยหลากหลาย จนได้รับการยกย่องขึ้นเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554 ผู้ซึ่งอุทิศตนสร้างวัดวัดร่องขุ่นอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ให้วัดแห่งนี้งดงามดังสวรรค์ที่มีอยู่จริง อีกทั้งมนุษย์สามารถสัมผัสได้บนพื้นพิภพ คล้ายเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คนเราใฝ่ปฏิบัติธรรม และประกอบแต่กรรมดีในการดำเนินชีวิต
ความเป็นมาของวัดร่องขุ่น
เมื่อครั้งกลับมาเยือนบ้านเกิด คือ หมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย อาจารย์เฉลิมชัย ได้เห็นว่า "วัดร่องขุ่น" ที่คนรุ่นพ่อร่วมกันสร้างนั้น มีสภาพทรุดโทรมเป็นที่สุด อาจารย์เฉลิมชัย จึงเกิดแรงดลใจว่าอยากสร้างวัดร่องขุ่นด้วยศิลปะสมัยใหม่ เหมาะกับประเทศไทย ภายใต้ร่มโพธิสมภารของในหลวง รัชกาลที่ 9 รวมถึงอยากจะสร้างงานศิลปะให้ยิ่งใหญ่ฝากไว้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ณ บ้านเกิด อาจารย์จึงลงมือก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยอุทิศทั้งชีวิตให้กับการสร้างงานชิ้นสุดท้ายของชีวิตชิ้นนี้ ด้วยเงินที่เก็บสะสมมาจากการจำหน่ายผลงานศิลปะในเวลากว่า 20 ปี
นอกจากนี้ อาจารย์เฉลิมชัย ยังเผยความในใจถึงวัดร่องขุ่นด้วยว่า ผมหวังที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผมให้ปรากฏเป็นงาน ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลกมนุษย์นี้ให้ได้ เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติทั้งโลก หากเมื่อผมตาย คณะลูกศิษย์ที่ผมสอนไว้จะสานต่อจินตนาการของผมจนแล้วเสร็จทั้งหมด ผมได้เตรียมการบริหารจัดการหลังความตายไว้พร้อมแล้ว ผมสร้างงานพุทธศิลป์ด้วยความศรัทธาจริตไม่ได้มุ่งหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน ไม่ต้องการและไม่ชอบการทำบุญเอาหน้า วัดนี้ไม่เคยเรี่ยไรเงินด้วยกฐินผ้าป่า วัดนี้ไม่รีบร้อนสร้างเพื่อฉลองในโอกาสใด ๆ ทั้งสิ้น ผมคิดเพียงอย่างเดียว ต้องดีที่สุดสวยที่สุด สร้างจนหมดภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรมของผม...ความตายเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ที่จะหยุดเสรีภาพแห่งจินตนาการของผมได้
ภายในวัดร่องขุ่น
สิ่งที่โดดเด่นเมื่อมาเยือนวัดร่องขุ่น ก็คือ พระอุโบสถ ที่มีความโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ทางศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่แสนวิจิตรอลังการ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงช่อฟ้า ใบระกา และรายละเอียดซึ่งแตกต่างไปจากวัดแห่งอื่น โดยตัวพระอุโบสถที่เน้นสีขาวบริสุทธิ์นั้น สื่อแทนพระบริสุทธิคุณ ขณะที่กระจกขาววาววับจับประกายระยิบระยับ หมายถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธองค์ที่โชติจรัสชัชวาลไปทั่วทั้งโลกมนุษย์และจักรวาล
ด้าน สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ใดจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองทิ้งลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตเราให้ผ่องใสถึงจะเดินผ่านขึ้นไป ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ได้นำหลักธรรมอันสำคัญยิ่งของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่าง (ความหลุดพ้น)
ขณะที่ ช่อฟ้าเอก หมายถึง ศีล ประกอบด้วยสัตว์ 4 ชนิด ผสมกันแทน ดิน น้ำ ลม ไฟ โดย ช้าง หมายถึง ดิน, นาค หมายถึง น้ำ, ปีกหงส์ หมายถึง ลม และหน้าอก หมายถึง ไฟ ขึ้นไปปกปักรักษาพระศาสนา บนหลังช่อฟ้าเอกแทนด้วยพระธาตุ หมายถึง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ข้อ และ 84,4000 พระธรรมขันธ์
ช่อฟ้าชั้นที่ 2 (บน) หมายถึง สมาธิ แทนด้วยสัตว์ 2 ชิด คือ พญานาคกับหงส์ เขี้ยวพญานาค หมายถึง ความชั่วในตัวมนุษย์ หงส์ หมายถึง ความดีงาม ศีลเป็นตัวฆ่าความชั่ว (กิเลส) เมื่อใจเราชนะกิเลสได้ก็เกิดสมาธิ มีสติกำหนดรู้เกิดปัญญา และช่อฟ้าชั้นที่ 3 (สูงสุด) หมายถึง ปัญญา แทนด้วยหงส์ปากครุฑ หมอบราบนิ่งสงบไม่ปรารถนาใด ๆ มุ่งสู่การดับสิ้นซึ่งอาสวะกิเลสภายใน ด้านหลังหางช่อฟ้าชั้นที่ 3 มีลวดลาย 7 ชิ้น หมายถึง โพชฌงค์ 7 ลาย 8 ชิ้นรองรับฉัตร หมายถึง มรรค 8 ฉัตร หมายถึง พระนิพพาน รวมถึงลวดลายบนเชิงชายด้านข้างของหลังคาชั้นบนสุดแทนด้วยสังโยชน์ 10 เสา 4 มุม ด้านข้างโบสถ์ คือ ตุง (ธง) กระด้าง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าตามคติล้านนา
นอกจากนี้ ยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่แสนอลังการฝีมือของ อาจารย์เฉลิมชัย ซึ่งไม่น่าพลาดชมอยู่ภายในโบสถ์อีกด้วย โดยภายในพระอุโบสถ ประกอบด้วย ภาพเขียนสีทองตามผนังทั้ง 4 ด้าน เพดานและพื้นเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตรธรรม ส่วนหลังคาพระอุโบสถได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
โดยวัดกำลังสร้างต่อเติมไปเรื่อย ๆ ให้ครบทั้ง 9 หลังตามเป้าหมาย ให้เป็นอาคารที่มีรูปทรงแตกต่างกัน เพื่อเป็นเมืองสวรรค์อันยิ่งใหญ่ให้คนทั้งโลกยอมรับและชื่นชมในผลงานการสร้างพุทธศิลป์แห่งนี้ ถึงแม้ว่าการก่อสร้างวัดนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ความงามที่ปรากฏได้สร้างความสุขทางใจให้ดื่มด่ำไปกับเรื่องราวในพุทธศาสนา กับรายละเอียดตกแต่งที่พิถีพิถันทั่วทุกมุม ซึ่งไม่เพียงแต่ความวิจิตรที่สัมผัสได้เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงหลักธรรมในศาสนาที่ลึกซึ้งให้ผู้ที่มาเยือนได้กลับไปขบคิดกันอีกด้วย
วัดร่องขุ่น เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.30 – 18.00 น. ห้องแสดงภาพเปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.30 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น. ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดร่องขุ่น โทรศัพท์ 0 5367 3579, ททท. สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 7433 และศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 5690
ไร่ชาบุญรอด โค้งวนตามไหล่เขาสวยงามาที่ปลูกเป้นชาอู่หลง ก้านอ่อน พันธุ์ดี
มาถึงจุดแรกที่รถรางจอดให้เราได้ชมและถ่ายภาพ สวนดอกไม้เมืองหนาว
มีดอกไม้เมืองหนาวสีสันสวยสะดุดตา รวมถึงไม้ประดับเมืองหนาวหลากชนิด
ตรงข้ามกับแปลงปลูกไม้ดอกเมืองหนาว คือ แปลงมะเขือเทศ ได้ชิมมะเขือเทศของไร่บุญรอด ลูกกลมโตพอประมาณรสชาติหวาน กรอบ อร่อย กินสดแบบไม่ต้องจิ้มอะไรเลย ยังติดใจรสชาติจนทุกวันนี้ ใครที่ชอบทานมะเขือเทศต้องลองทานดู ส่วนใครที่ไม่ค่อยชอบหากได้ลองชิมอาจติดใจได้
รถรางมาหยุดที่จุดสุดท้ายบริเวณร้านอาหารภูภิรมย์ ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในไร่ หากใครจะนั่งกินลมชมวิว รับประทานอาหารต่อก็นำรถส่วนตัวเข้าจอดที่นี่ได้ เพราะรถรางจะไม่ได้รอรับ ถ้ามาช่วงเดือนก.พ.-มี ค จะเห็นดอกเหลืองเชียงรายบานสะพรั่งอยู่หน้าร้านอาหารระหว่างสองทางถนน
ฉันรู้ว่าดอกไม้ชนิดเป็นดอกไม้ที่ดูสวยงามแบบไทยๆ ดี
ยิ่งบานอยู่ท่ามกลางวิวทิวทัศน์ในหุบเขาที่สวยแบบไร่บุญรอดแล้วยิ่งดูน่ามองยิ่งขึ้น
ไร่บุญรอด สำหรับฉัน เป็นไร่ที่ดูเป็นธรรมชาติ วิวและดอกไม้สวยเหมาะสำหรับมาพักผ่อน
ชื่นชมกับเจ้าดอกเหลืองเชียงรายแล้ว ก็ถึงเวลารับประทานอาหารเย็น ที่ร้านอาหารภูภิรมย์ ถือเป็นร้านอาหารที่บรรยากาศดีมากโดยเฉพาะในยามเย็น
มีมุมให้เลือกหลายมุม แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คงไม่พ้นวิวด้านในซึ่งมีระเบียง สามารถมองเห็นวิวได้อย่างเต็มที่
เมนูมีหลากหลาย รสชาติ เริ่มจากออเดิฟเมือง ขาหมูทอดเยอรมัน ยำทูน่าใบชา
กุ้งซอสมะขาม ส่วนอีกสองเมนูจำชื่อไม่ได้ แต่คอนเฟริมว่า อาหารที่สั่งมาอร่อยทุกเมนูสมราคา
นั่งรถผ่านออกมาด้านหน้าฟาร์มผ่านถนนที่เต็มไปด้วยต้นเหลืองเชียงรายที่กำลังบานสะพรั่ง หนาวนี้หากใครมาเที่ยวเชียงราย ไร่บุญรอด คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด
-
No comments:
Post a Comment