ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ
อวัยวะและเนื้อเยื่อที่บริจาคได้
ไต
ลักษณะและหน้าที่ของไต
ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง อยู่บริเวณบั้นเอวข้างกระดูกสันหลัง 2 ข้าง มีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
- ขับถ่ายของเสีย ยา หรือสารแปลกปลอมต่างๆ ออกทางปัสสาวะ
- รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรด และด่างของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ
- ควบคุมความดันโลหิต
- สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
- เปลี่ยนวิตามินดีที่ได้รับให้มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูก
การดูแลรักษาไตให้แข็งแรง
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับของสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงเกินไป หรือถ้าเป็นก้อนเล็กๆ ก็จะหลุดออกมาเองได้
- อย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ระวังอย่าให้ท้องผูก
- ไม่ควรกินอาหารเค็มเกินไป เพราะจะทำให้เกิดน้ำคั่ง แล้วทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนัก
- ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แลัว ต้องควบคุมมิให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
- รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดนิ่ว
- ดูแลทำความสะอาดหลังการปัสสาวะ และอุจจาระทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคที่เกี่ยวกับไต
- โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคไตที่เกิดจากเบาหวาน
- เนื้องอกของไต
การปลูกถ่ายไต
เป็นการเอาไตใหม่ที่ดีมาใส่ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รอการปลูกถ่ายไต แต่ด้วยปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ ทำให้มีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีไม่มากนัก ผลการปลูกถ่ายไตอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ไตใหม่สามารถทำหน้าที่ปกติใน 1 ปี ประมาณร้อยละ 85
ไตใหม่ได้มาจากไหน
- จากญาติร่วมสายเลือดกัน อาจเป็นพี่น้อง พ่อแม่ หรือลูกที่เต็มใจบริจาคไตข้างหนึ่งให้ผู้ป่วย
- จากผู้เสียชีวิตโดยภาวะสมองตาย โดยผู้ตายได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ก่อนตาย หรือได้รับความยินยอมจากญาติ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำบุญกุศลครั้งยิ่งใหญ่
ผู้ที่รอรับไต
จะต้องมีหมู่เลือดเดียวกับผู้บริจาค และต้องมีการตรวจการเข้ากันได้ของเนี้อเยื่อด้วย
No comments:
Post a Comment