4/22/2013

ตับ บริจาคได้ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สถากาชาดไทย

www.organdonate.in.th

ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ


อวัยวะและเนื้อเยื่อที่บริจาคได้


ตับ

ตับ
ตับ
ลักษณะและหน้าที่ของตับ
ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในช่องท้อง อยู่บริเวณชายโครงด้านขวาเลยมาถึงลิ้นปี่ หนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หน้าที่ของตับมีมากมายหลายอย่าง ดังนี้
  • สะสมธาตุเหล็ก วิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่ร่างกายต้องการ
  • สร้างน้ำดี ที่จะช่วยย่อยอาหาร
  • ทำลายสารพิษต่างๆ ที่กินเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ ยาต่างๆ
  • เป็นแหล่งสะสมพลังงานให้ร่างกายโดยเก็บในรูปของน้ำตาล
  • สร้างสารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  • กรองและกำจัดสารพิษ และเชื้อโรค
  • สร้างสารที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน
การดูแลรักษาตับให้แข็งแรง
  • ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา
  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้
  • ระวังอย่าสูดดมพวกละอองสเปรย์ต่างๆ
  • สวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกและหน้ากากทุกครั้งที่พ่นหรือผสมยาฆ่าแมลง
  • ไม่สำส่อนทางเพศ
  • ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โรคที่เกี่ยวกับตับ
  • โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี
  • โรคตับแข็ง
  • โรคมะเร็งตับ
  • ท่อน้ำดีตีบตันในเด็ก
  • ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
  • โรคความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมแต่กำเนิด
การปลูกถ่ายตับ
เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยตับวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าหากให้การรักษาด้วยวิธีทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือมะเร็งตับ การปลูกถ่ายตับจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีความพิการของตับมาแต่กำเนิด ตับใหม่ที่ได้รับการปลูกถ่าย สามารถทำหน้าที่ได้ดีในปีแรกของการผ่าตัดมีจำนวนถึงร้อยละ 75 และในเด็กจะมีจำนวนถึงร้อยละ 80
ตับใหม่ได้มาจากไหน
ตับใหม่ได้มาจากผู้ที่เสียชีวิต โดยภาวะสมองตาย ซึ่งญาติผู้เสียชีวิตได้เห็นประโยชน์ และยินยอมบริจาค ปัจจุบันอัตราการบริจาคอวัยวะในประเทศเรายังมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายเหล่านี้ ประมาณว่ามีผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ จำนวนหลายพันคนต่อปี ในขณะที่ผู้บริจาคอวัยวะมีไม่ถึงร้อยคนต่อปี


ด.ญ. ชนัญญา ชาญณรงค์

ด.ญ. ชนัญญา ชาญณรงค์
? หมอบอกกับเราว่า ผู้ที่มีอาการป่วยแบบนี้ มีอยู่ประมาณ 20 คนในประเทศไทย …ความคิดตอนนั้นคือ ทำไมต้องมาเกิดกับลูกของเรา ? นั่นคือคำพูดของ คุณพิณพงษ์ ขณะเล่าถึงความรู้สึก ตอนที่ได้ทราบอาการป่วยของลูกสาวที่เพิ่งคลอดใหม่ๆจากทีมแพทย์
? หลังคลอดออกมา ลูกมีอาการที่เห็นชัดๆเลยคือ ตัวเหลือง หลังจากนั้นเราก็เลยพาลูกไปตรวจที่ รพ.ศิริราช พบว่าท่อน้ำดีตีบ เลยต้องทำการผ่าตัด ต่อมาพบว่าอาการของตับเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ก็เลยต้องขอรอรับคนบริจาคตับ ซึ่งต้องให้ลูกอดทนกับการรักษาแบบประคองอาการอยู่สองปีกว่าๆ โชคจึงเข้าข้างเรา เมื่ออาจารย์แพทย์ที่ศิริราชแจ้งข่าวมาว่าเราได้รับบริจาคอวัยวะแล้ว ?
แต่หลังจากได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับแล้ว น้องชนัญญาและครอบครัวก็ยังต้องพยามอย่างหนักกันอีกครั้งหนึ่ง…
คุณพ่อเล่าว่า… ? หลังผ่าตัด เราจะพาลูกไปโรงหนัง ห้างสรรพสินค้า หรือที่อื่นๆที่มีคนเยอะไม่ได้เลยเพราะลูกจะติดเชื้อได้ง่าย ช่วงแรกๆยังมีปัญหาเรื่องเลือด ความดันและปอดด้วย ช่วงที่ลูกเข้าโรงเรียนจึงต้องขาดเรียนบ่อยมาก ดึกๆวันไหน ถ้าพี่เลี้ยงที่ดูแลบอกว่าลูกตัวร้อน แม้เป็นเวลา 4-5 ทุ่ม เราก็ต้องพาเค้าไปส่งโรงพยาบาล.. ช่วงนั้นที่บ้านจะไหว้พระทำบุญบ่อยมากๆ เพื่อช่วยให้ใจเราสบาย จนเดี๋ยวนี้ลูกก็ชอบไปทำบุญ ตอนนั้นได้ยินลูกอธิษฐานว่า…เมื่อไหร่หนูจะหาย เราก็สงสารเค้ามาก ?
การได้รับโอกาสให้มีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ครอบครัวของน้องชนัญญาช่วยกันต่อสู้กับสิ่งร้ายๆ ?แล้วเมื่อถึงวันนี้ที่เหตุการณ์เลวร้ายผ่านไปได้ ?ใบหน้าของทุกคนในบ้านก็กลับมายิ้มได้อย่างสดใสอีกครั้ง

No comments: