อีกหนึ่งวัดล้านนา .. แหล่งเรียนรู้ของโบราณสถาน
วัดพระเจ้าทันใจ เป็นอีกหนึ่งวัดสำคัญในจังหวัดลำปาง ซึ่งมีประชาชนทั่วในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงไปสักการะกราบไหว้ และชมความงดงามของ “หอธรรม” โบราณ และพิพิธภัณฑ์ สินานนท์ ซึ่งจะอยู่ในบริเวณวัดพระเจ้าทันใจ ทั้งนี้ โดยการรักษาสิ่งสำคัญโบราณเก่าแก่ไว้ให้ลูกหลานได้ดูแล้ว วัดพระเจ้าทั้งใจยังมีพระพุทธรูปสำคัญๆ หลายองค์ไว้ให้กราบไหว้บูชา รวมถึงพระบรมธาตุทันใจ สันนิษฐานสร้างโดยพระเจ้าอนันตยศ ราชโอรสพระนางจามเทวี หลังจากทรงสร้างเมืองเขลางค์นครเมื่ออดีต ทรงสร้างเป็นกลุ่มวัดอรัญวาสีประกอบด้วยวัดพระเจ้าทันใจ,ปันเจิง,กู่คำ,กู่ขาว,กู่ริ ซึ่งเท่าที่ทราบมา บูรณะครั้งหลังสุด เมือพ.ศ.2435 ศรัทธาเจ้าหลวงนรนันท์ชัยชวลิต เจ้าผู้ครอง นครลำปางพระอโนชัยธรรมจินดามุนี เจ้าคณะจังหวัดลำปาง พ่อหม่องน้อย จัทร์โอง แม่หมุก จันทรวิโรจน์ ร่วมกันบูรณะ และได้นำช่างพม่า ไทยใหญ่ มาบูรณะ ศิลปะจึงถูกปรับเปลี่ยนจากล้านนาเป็นศิลปะพม่า พร้อมกับบุรณะแทนบูชาทั้ง 2 ดังที่เห็นมีงานประเพณีสรงน้ำ เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำเป็นประจำ
ประวัติความเป็นมา / ความสำคัญ
วัดพระเจ้าทันใจ หมู่ที่ 3 บ้านพระเจ้าทันใจ ตำบลตนธงชัย ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีอาคารเก่าที่ถูกย้ายมาอนุรักษ์ไว้สองหลัง หลังหนึ่งคือ 1.หอธรรม เป็นเรือนเครื่องไม้สองชั้น หลังคาเป็นยอดปราสาท มีประวัติว่าเดิมอยู่ที่วัดศรีบุญโยง ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง โดยครูบาปินดา เจ้าอาวาสวัดศรีบุญโยง กับเจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิตย์ เจ้านครลำปาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2451ภายหลังทรุดโทรม จึงรื้อลงในปี พ.ศ.2535 ทางวัดพระเจ้าทันใจจึงขอผาติกรรมมา แล้วจัดการซ่อมแซมสร้างขึ้นใหม่ สำเร็จในปี พ.ศ.2540 ทั้งนี้ บริเวณ”หอธรรม” ยังมีเครื่องมือใช้สอยในสมัยโบราณอาทิ ไหนึ่งข้าว, กั๊วะข้าว เป็นต้น
2. พิพิธภัณฑ์ สินานนท์ อีกหลังหนึ่งคือ “พิพิธภัณฑ์สินานนท์” มีประวัติความเป็นมาตามที่เล่าไว้ในป้ายว่าเดิมเป็นตุ๊ข้าว(ยุ้งข้าว) ของหลวงกำจรวานิช(กิมเฉียน สินานนท์) และคุณนายบุญชู คหบดีในเมืองลำปาง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 ร้อยปีให้หลังทายาทได้รื้อมาถวายวัด ทางวัดพระเจ้าทันใจจึงนำมาปลูกใหม่ โดยใส่หน้าต่างขยายประตูและหล่อตอหม้อรับเสา ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ชีวิตชาวนา มีเครื่องมือทำนาแขวนประดับเต็มฝาด้านนอกทุกด้าน ส่วนภายในมีตั้งแต่อุปกรณ์ทอผ้า ทำนา หั่นยาสูบ ตีเหล็ก เครื่องครัว จักรเย็บผ้า พิมพ์ดีด เครื่องดนตรี เครื่องจักสาน ไปจนถึงกระดูกช้าง อาจเพราะตัวยุ้งข้าวมีขนาดเล็กมาแต่เดิม ประกอบกับข้าวของภายในมีมาก ผู้ชมสามารถขึ้นไปได้จำนวนไม่เยอะ หรือทีละ 2- 3 คนเท่านั้น เพราะพิพิธภัณฑ์หลังนี้เป็นบ้านไม้ค่อนข้างเก่าหากขึ้นไปบนบ้านจำนวนเยอะอาจจะทำให้บ้านเกิดผุดพังเป็นได้
No comments:
Post a Comment