11/03/2014

ดอยอ่างขาง Doi Angkhang

ดอยอ่างขาง

Doi Angkhang
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยคำว่า "อ่างขาง" ในภาษาเหนือ หมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวล้อมรอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็ค่อยๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน
เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้
จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด -3 องศาเซลเซียส
บนดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ตั้งอยู่ในเขตบ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่สถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนอแล บ้านขอบด้ง บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านคุ้ม และบ้านหลวง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ
สถานที่ท่องเที่ยวในโครงการเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ได้แก่
  • เรือนดอกไม้
    มีการจัดแสดงพรรณไม้ไว้เป็นกลุ่มตามฤดูกาล เช่น สวนกล้วยไม้ซิมบิเดียม , กลุ่มกล้วยไม้รองเท้านารี , กลุ่มดอกโคมญี่ปุ่น , ไม้ดอกกระถางตามฤดูกาล , ไม้ดอกตามฤดูกาลกลางแจ้ง และพืชกินแมลงเรือนดอกไม้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเรือนดอกไม้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเรือนดอกไม้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • แปลงสาธิตไม้ดอก
    แปลงจะอยู่บริเวณใกล้ทางเข้าสถานี จะจัดแสดงไม้ดอกกลางแจ้งชนิดต่าง มีทั้งไม้ดอกที่ปลูกลงดิน และไม้แขวนหมุนเวียนตามฤดูกาลแปลงสาธิตไม้ดอก สถานีเกษตรหลวงอ่างขางแปลงสาธิตไม้ดอก สถานีเกษตรหลวงอ่างขางแปลงสาธิตไม้ดอก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • โรงเรือนกุหลาบตัดดอก
    ภายในโรงเรือนมีพันธุ์กุหลาบที่ปลูกทั้งหมด 10 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์จากประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งภายในโรงเรือนได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์โรงเรือนกุหลาบตัดดอก สถานีเกษตรหลวงอ่างขางโรงเรือนกุหลาบตัดดอก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • สวนบอนไซ
    สวนบอนไซเป็นสวนที่จัดแสดงพันธุ์ไม้ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีตั้งแต่ยุคต้นๆ และนำมารวบรวมไว้ให้ชม โดยจัดแสดงในรูปแบบของบอนไซ ภายในสวนบอนไซอ่างขางได้จัดแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้ ส่วนจัดแสดงบอนไซไม้เมืองหนาว , โดมอนุรักษ์พันธุ์พืชภูเขาเขตร้อน , กลุ่มพืชทนแล้ง , พันธุ์ไม้ต่างถิ่น , สวนหินธรรมชาติ
  • โรงงานชา, จุดชิมชา ซื้อชา
    เป็นจุดที่สถานีจะทำการแปรรูปทำชา ที่สถานีรับซื้อจากเกษตรกรชาวเขาที่ปลูกที่แปลง 2000 และ บริเวณหมู่บ้านนอแล โดยพันธุ์หย่วนจืออูหลงจะนำมาทำชาอู่หลง ส่วนพันธุ์เบอร์ 12 จะนิยมนำมาทำชาเขียว ซึ่งโรงงานยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้มาทดลองชิมชาฟรีที่โรงงานด้วยโรงงานชา, จุดชิมชา ซื้อชา สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • แปลงไม้ผล
    ไม้ผลเขตหนาวที่ปลูกที่สถานีฯอ่างขาง ได้แก่ สตรอเบอรี่ กีวี บ๊วย พี้ช พลัม บูลเบอรี่ สาลี่ พลับ ซึ่งในการปลูกไม้ผลในพื้นที่ต่างๆ ของโครงการหลวง สถานีฯอ่างขางนั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ไม้ผลเป็นพืชหนึ่งที่จะเป็นรายได้ให้ชาวเขาปลูก ทดแทนรายได้จากการปลูกฝิ่น หยุดยั้งการทำเกษตรแบบเร่ร่อนของชาวเขาแปลงไม้ผล สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาว
    เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเขตหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง และเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยีใหม่ๆ และเป็นส่วนจัดแสดงงานด้านผักเขตหนาวให้แก่ นักศึกษาฝึกงาน คณะเยี่ยมชมงาน นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปให้ได้ชม และด้านหลังโรงเรือนจะจัดแสดงวิธีการปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิกส์ (ปลูกพืชในสารละลาย)
  • สวนสมเด็จ
    ที่เรียกสวนสมเด็จนั้น เนื่องจากเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนดอยอ่างขาง และหลังจากเสร็จภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงเสด็จประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนแห่งนี้ ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อว่าสวนสมเด็จ โดยลักษณะของสวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่นประดับ ดอกป๊อปปี้ (Poppy) และไม้ประเภทไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ซึ่งทนแล้งได้ดีและปลูกโดยการหว่านเมล็ดตามฤดูกาล
  • สวนไผ่
    สวนไผ่จะตั้งอยู่ระหว่างทางก่อนขับรถไปถึงสโมสร ในสวนจะรวบรวมไผ่หลายชนิดจัดแสดงไว้ให้ชม และยังมีศาลานั่งพักผ่อนด้านบนของสวนด้วย
  • สโมสรอ่างขาง
    สร้างในปี พ.ศ. 2523 โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไต้หวัน เป็นสถานที่พักผ่อน สังสรรค์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครโครงการหลวง สโมสรอ่างขางจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรชาวเขา นอกจากนี้บริเวณรอบๆ สโมสรอ่างขางยังรายล้อมไปด้วยสวนดอกไม้นานาชนิดสร้างบรรยากาศสดชื่นให้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ สโมสรอ่างขางเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 น. – 22.00 น. ทุกวัน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อสโมสรอ่างขาง 053-450107-9 ต่อ 113 / 114สโมสรอ่างขาง สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • สวน ๘๐ (Garden Eighty)
    เป็นสวนที่จัดตั้งในวาระที่องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4.95 ไร่ โดยการพัฒนางานจัดตกแต่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ลักษณะการจัดสวนเป็นแบบรวบรวมพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ดอกไม้ประดับ ตามฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-เดือนมีนาคม) จะมีพรรณไม้เมืองหนาวนานาชนิด ได้แก่ กะหล่ำและคะน้าประดับ แพนซีไวโอล่า เดลฟีเนียม ลิ้นมังกร และยังได้รวบรวม ศึกษาปลูกเลี้ยง พันธุ์ไม้จากประเทศต่างๆ เช่น แม็กโนเลีย คาเมลเลีย ไม้ตระกูลซากุระ และเมเปิ้ล ซึ่งจะจัดกลุ่มประเภทไม้ดอกออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
    • ไม้ดอกฤดูหนาว (ตุลาคม - มีนาคม) ได้แก่ ดอกลิ้นมังกร กะหล่ำประดับ เจอราเนียม บีโกเนีย เดลฟีเนียม อาเจอราตุ้ม ผีเสื้อ กาซาเนีย พริมูล่า แพนซี ไวโอล่า เพนสทิม่อน เดซี่ ไอซ์แพล้นท์ เป็นต้น
    • ไม้ดอกฤดูร้อนและฤดูฝน (เมษายน - กันยายน) ได้แก่ ดอกซัลเวีย สร้อยไก่ ดาวเรือง ดอกไม้จีน อากาแพนธัส ดาเลีย รู๊ดบีเกีย เป็นต้น
    • ไม้ดอกเจริญข้ามปี (perennials) ได้แก่ ปักษาสวรรค์ แคล่าลิลี่ ลาเวนเดอร์ ตาเป็ดตาไก่ เป็นต้น
    • ไม้พุ่ม (shrubs) ได้แก่ ไฮเดรนเยีย คาเมลเลีย อาบูติล่อน หอมหมื่นลี้ ซากุระ นางพญาเสือโคร่ง แม็กโนเลีย อาซาเลีย โรโดเดนดรอน แปรงล้างขวด เป็นต้น
    สวน ๘๐ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางสวน ๘๐ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางสวน ๘๐ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางสวน ๘๐ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • สวนคำดอย Rhododendron & Azalea Garden
    สวนนี้จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2547 มีพื้นที่ประมาณ 1.5 ไร่ วัตถุประสงค์ เป็นสวนรวบรวมพันธุ์ไม้ตระกูลโรโดเดนดรอน สายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งในและจากต่างประเทศ และจัดเปลี่ยนไม้ดอกไม้ประดับ ประกอบเฉพาะบางส่วน ตามฤดูกาลสวนคำดอย สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • สวนหอม Scented Garden
    จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2545 มีพื้นที่ประมาณ 2 งาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดรวบรวมปลูกพรรณไม้ที่มีกลิ่น จากส่วนต่างๆ ของต้นเช่น ใบหรือดอกมีกลิ่นหอม และบางชนิดสามารถรับประทานได้ พรรณไม้หอมมีทั้งไม้ยืนต้น เช่น หอมหมื่นลี้ มะโฮเนีย มิชิเลีย เป็นต้น ไม้เลื้อย เช่น มะลิเลื้อย วิสทีเรีย และ พรรณไม้ดอกข้ามปีและไม้ล้มลุก เช่นผีเสื้อ ลาเวนเดอร์ เจอราเนียมเพลาโกเนียม ไวโอล่า นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรอีกด้วย
  • กุหลาบอังกฤษ
    เป็นกุหลาบที่นำพันธุ์มาจากประเทศอังกฤษทั้งหมดเป็นพันธุ์ที่ปลูกประดับสวน 240 สายพันธุ์ 258 ต้น ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มคือ กลุ่มกุหลาบพัฒนาใหม่ (Modern Garden Rose) และกลุ่มกุหลาบดั้งเดิม (Old Garden Roses) ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อย เช่น กุหลาบพุ่ม กุหลาบคลุมดิน กุหลาบเลื้อย กุหลาบหนู และในแต่ละกลุ่ม แต่ละสายพันธุ์นั้นมีความแตกต่างกันทั้งเรื่องการเจริญเติบโต และการพัฒนาดอก บางสายพันธุ์สามารถให้ดอกได้ทั้งปี บางสายพันธุ์ให้ดอกปีละครั้งผลผลิตออกดอกมากสุด ช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ของทุกปี
พระธาตุดอยอ่างขาง
อยู่บนเส้นทางที่จะเดินทางไป บ้านขอบด้ง บ้านนอแล นักท่องเที่ยวและผู้สนใจสามารถเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยอ่างขางได้ในโอกาสที่เดินทางมาเที่ยวที่สถานีฯ อ่างขางเพื่อความเป็นสิริมงคล
บ้านขอบด้ง
เป็นหมู่บ้านที่มีชาวเขาเผ่ามูเซอดำอาศัยอยู่ ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร และมีงานหัตถกรรมชาว (กำไลหญ้าอิบูแค) เขาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวบ้านขอบด้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขางที่บริเวณใกล้กันยังมีไร่สตอเบอรี่ที่ปลูกตามไหล่เขาเป็นขั้นบันไดลดหลั่นกันลงมา ยามเช้ามีสายหมอกสวยงามบ้านขอบด้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขางบ้านขอบด้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขางบ้านขอบด้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
บ้านนอแล
หมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างชายแดน ไทย-พม่า มีชาวเขาเผ่าปะหล่องอาศัยอยู่ การแต่งกายของชาวปะหล่องผู้หญิงมีเอกลักษณ์โดดเด่น คือเน้นสีสดและสวมห่วงที่เอว และจากหมู่บ้านสามารถเดินทางไปเยียมฐานปฏิบัติการทหารบ้านนอแลได้
บ้านคุ้ม
หมู่บ้านตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าสถานีฯ อ่างขาง เป็นหมู่บ้านที่มีชาวจีน ไทใหญ่ และมูเซอดำบ้างส่วน อาศัยอยู่รวมกัน มีร้านค้า ร้านอาหาร และที่พักบริการให้แก่นักท่องเที่ยวด้วยบ้านคุ้ม สถานีเกษตรหลวงอ่างขางบ้านคุ้ม สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
บ้านหลวง
เป็นหมู่บ้านที่มีชาวจีนยูนานอาศัยอยู่ มีร้านข้าวซอยอิสลาม และซาลาเปา หมั่นโถจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
จุดชมวิวขอบด้ง
ตั้งอยู่บนเส้นทาง ระหว่างเดินทางไปหมู่บ้านขอบด้ง เป็นจุดที่สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ตก และทะเลหมอกได้ แต่หากมีหมอกมากจะไม่เห็นพระอาทิตย์ขึ้น ช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมากมักมีชาวบ้านไปตั้งร้านอาหาร และนำของขึ้นไปขายจุดชมวิวขอบด้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขางจุดชมวิวขอบด้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
จุดชมวิวชายแดนไทยพม่า
จุดนี้จะตั้งอยู่ ณ ฐานทหารไทยบริเวณเดียวกับหมู่บ้านนอแล ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทยและชายแดนของประเทศพม่า ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพของฝั่งประเทศพม่าได้ นอกจากนี้ ยังจะได้ชมแบบบ้านตัวอย่างของทหารว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมที่สุดคือฤดูหนาว ดอกไม้เมืองหนาวออกดอกงดงาม และดอกพญาเสือโคร่งจะบานสะพรั่งทั่วทั้งขุนเขาดอยอ่างขาง
ครอบครัว, คู่รัก, ผู้ชาย, ผู้หญิง, เที่ยวคนเดียว, เที่ยวเป็นกลุ่ม, เที่ยวผจญภัย, เที่ยวเป็นคู่
  • ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • ชมพระอาทิตย์ยามเช้าและทะเลหมอก ณ จุดชมวิว
  • ชมดอกนางพญาเสือโคร่งตามรายทาง
  • เยี่ยมชมหมู่บ้านขอบด้ง บ้านนอแล บ้านหลวง บ้านคุ้ม
  • เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น
  • ขี่ฬ่อ ชมธรรมชาติ
  • ดูนก
  • ชิมอาหารยูนาน
ผลิตภัณฑ์และผลผลิตของโครงการหลวง เช่น ผลผลิตผัก ไม้ผล ดอกไม้ ไม้ดอกกระถาง และผลผลิตแปรรูป เช่น ผลไม้อบแห้ง แยมผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานหัตถกรรมของหมู่บ้านชาวเขา เช่น ผ้าทอของชาวปะหล่อง กำไลหญ้าอิบูแคของชาวมูเซอ เป็นต้น
คนละ 50 บาท
รถคันละ 50 บาท
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ. เชียงใหม่
โทรศัพท์: 053 450-107 - 9
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสถานีฯ อ่างขาง
โทรศัพท์: 053 450-077
  • บ้านพักสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
    ติดต่อสำรองที่พักได้ที่ โทรศัพท์ 053-450107-9 ต่อ 113,114 รายละเอียดบ้านพักสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง คลิก
  • จุดกางเต็นท์พักแรม
    ที่พักที่อ่างขางมีปริมาณไม่เพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดของช่วงฤดูหนาว การกางเต็นท์พักแรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะดวกสบายและประหยัด จุดกางเต็นท์ดอยอ่างขางมีกระจายอยู่หลายจุด จุดหลักคือบริเวณริมถนนก่อนลงสู่อ่างขาง พื้นที่กางเต็นท์อยู่ริมถนนทั้งสองฝั่ง ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย มีห้องสุขาบริการ มีเตาให้เช่า มีฟืนขาย
    อีกจุดคือจุดกางเต็นท์บริเวณสนามหน้าโรงเรือนตรงข้ามทางเข้าสถานีเกษตรอ่างขาง ลักษณะเป็นที่ราบข้างเสาธง มีห้องสุขาของโรงเรียนไว้บริการ ผู้ที่ไปใช้บริการพื้นที่นี้ควรช่วยค่าบำรุงสถานที่ด้วย จุดนี้มีผ้าห่มให้เช่า
    อีกจุดคือ ที่จุดชมวิวกิ่วลม อ่างขางก็มีกิ่วลม ที่จุดชมวิวมีพื้นที่กว้างอยู่บนเนินริมถนน อยู่ห่างไกลชุมชนและยังมีวิวที่สวยงาม
    กางเต็นท์ ดอยอ่างขาง
  • บ้านพักอื่นๆ
    • รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง โทรศัพท์ 053-450110-9
    • อ่างขางวิลล่า โทรศัพท์ 053-450010
    • บ้านพักเลาติง โทรศัพท์ 053-450005
    • บ้านเอื้อมดาว โทรศัพท์ 053-450043
    • บ้านพักสุวรรณภูมิ โทรศัพท์ 053-450045, 081-7655609
    • บ้านพักนาหา โทรศัพท์ 053-450008
    • บ้านหลวงรีสอร์ท โทรศัพท์ 053-450010
    • บ้านพักจี๊ดจ๊าด โทรศัพท์ 053-450009, 087-1849951
ที่พัก ดอยอ่างขาง

No comments: