3/03/2013

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่

Taxi Chiangmai and Private Tour by Patrick 081 617 2116 Oversea Call +66 81 617 2116 E-mail:  neomart@gmail.com


จาก “โฮงสาย” สู่ “พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่”

SHARE THIS
TAGS
ช่องทางการสื่อสารตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้ได้ สัมผัส หนึ่งในนั้นก็มีช่องทางของ “ไปรษณีย์” และ”โทรเลข” รวมอยู่ด้วย โดยช่องทางนี้เป็นช่องทางการสื่อสาร “สุดคลาสสิค” ที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ “โทรเลข” นั้น เมืองไทยของเรา “เลิกใช้” ไปแล้ว คงเหลือไว้เพียง “ไปรษณีย์” เท่านั้น
สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรก หรือที่คนเมืองเรียกว่า “โฮงสาย” สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2452 ตั้งอยู่บนถนนไปรษณีย์ริมฝั่งแม่น้ำปิงใกล้ๆกับตลาดต้นลำไย โดยสาเหตุที่ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขขึ้นที่นี่ ก็เนื่องด้วย แต่เดิมการติดต่อกับเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อทางเรือ พื้นที่ตรงนี้จึงสะดวกต่อการขนถ่ายจดหมายและพัสดุที่มาจากทางเรือ
โดยครั้งแรกสร้างขึ้นเป็นอาคารไม้ไผ่ใต้ถุนสูง ต่อมาเมื่อมีการขนส่งทางไปรษณีย์มากขึ้น จึงรื้อและสร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้นทรงยุโรป
และหลังจากนั้น เมื่อมีการสร้างสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขสันป่าข่อย ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขนส่งทางรถไฟที่มาแทนเรือ สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง จึงถูกลดบทบาทลง
และเมื่อปีพ.ศ. 2533 สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง จึงได้รับการปรับปรุงและจัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่” โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงพัฒนาการการไปรษณีย์โทรเลขจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันกรมศิลปากรได้อนุรักษ์และขึ้นทะเบียนอาคารหลังเพื่อเป็นสมบัติ ของชาติและชนรุ่นหลังต่อมา
พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่ โดดเด่นด้วยรูปทรงอาคารสุดคลาสสิคสไตล์ยุโรป ที่ภายนอกตัวพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตู้ไปรษณีย์แบบเก่าจำนวน 5 ตู้ด้วยกัน จากนั้นในพิพิธภัณฑ์ชั้น 1 จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารสมัยก่อน อาทิ เครื่องเคาะรหัสมอสขนาดใช้ไฟ 12 โวลท์ , เครื่องมืออื่นๆ ตลอดจนโต๊ะเก้าอี้ยาวเคาท์เตอร์ไปรษณียากร ที่เคยใช้ในสำนักงานไปรษณีย์สมัยก่อน
ส่วนชั้นที่ 2 แสดงแสตมป์เก่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 8 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีห้องสมุด ห้องประชุมอยู่บนชั้น 2 อีกด้วย
หากอยากย้อนอดีตสู่ยุคคลาสสิคของการสื่อสาร กับไปรษณีย์และโทรเลข “พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่” พร้อมจะเป็นเครื่องย้อนเวลาพาคุณกลับสู่อดีต

No comments: