Posted by oishi-1 , ผู้อ่าน : 1869 , 00:32:01 น. ข้อมูลจาก oknation.net
Taxi Chiangmai 081 617 2116 พงศ์ศักดิ์ เช่าเหมาวัน พร้อมคนขับ หรือเป็นรายชั่วโมง
พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุประปีเกิด ปีมะแม
วัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “ วัดดอยสุเทพ ” เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย ชื่อของดอยสุเทพ เดิมเรียกกันหลายชื่อ นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีชื่อ อุจฉุบรรพต ดอยอ้อยช้าง และดอยกาละ สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ ดอยสุเทพ ” สันนิษฐานว่า เดิมมีฤาษีตนหนึ่งชื่อวาสุเทพ หรือสุเทวฤาษี มาบำเพ็ญตบะอยู่บนเขาลูกนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อภูเขา ตามชื่อฤาษีตนนั้น
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูนประดับกระจก
ประวัติ
บันไดนาค วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2453 - 2463วัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
ประเพณีขึ้นดอย
เป็นพระเพณีที่สืบทอดกันมาแต่อดีต ในคืนก่อนวันวิสาขบูชาของทุกปี ชาวบ้านจะเดินทางด้วยการเดินเท้าถือประทีปธูปเทียนเป็นริ้วขบวนประกอบด้วย
พระสงฆ์ซึ่งเดินนำหน้าขบวน และยังมีหนุ่มสาวที่เดินขึ้นดอยเป็นหมู่เป็นคณะอีกด้วย เริ่มขบวนที่บริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ใกล้กับวัดศรีโสดาในอดีต
จะแวะนมัสการวัดสักกิทาคา และวัดอนาคามีแต่ปัจจุบันวัดทั้งสองได้ร้างไปแล้วขบวนจึงเดินขึ้นไปนมัสการที่วัดพระธาตุดอยสุเทพเพื่อจะไปทำบุญตักบาตรและฟังพระแสดงพระธรรมเทศนาในตอนเช้าตรู่วันวิสาขบูชา
บันไดนาค
เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นบันไดที่มีเศียรนาค ๗ เศียร เป็นปูนปั้นประดับด้วยกระจกสี บันไดนาคมีถึง ๓๐๐ ขั้น แต่เท่าที่นับได้จริง มี ๑๘๕ ขั้น
นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันไดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นได นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันไดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า
ประวัติการสร้างบันไดนาค บันไดนาค สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2100 (ค.ศ.1557) โดยมีพระมหาญาณมงคลโพธิ ้เป็นประธานก่อสร้าง ซึ่งมีขนาดความยาว 306 ขั้น จากล่างถึงบน ประกอบด้วยพญานาคทั้ง 2ข้าง ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งอย่างปราณีต พญานาคแต่ละตัวมี 7 หัว บันไดนาคนี้สร้างมานานกว่า 400 ปี มีการชำรุดไปบ้างแต่ก็ได้รับการบำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา จนทำให้พวกเราทุกคนได้เห็นบันไดนาคอยู่ในสภาพเดิมตราบเท่าทุกวันนี้ |
No comments:
Post a Comment