8/30/2011

จิตใต้สำนึกสำคัญอย่างไร When Shit Happen, Undo it!



จิตใต้สำนึกสำคัญอย่างไร
เขียนโดย และลิขสิทธิ์งานเขียน ของ ฐิตินาถ ณ พัทลุง
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้าน neurolinguistic Programming

เบื้องหลัง
คนมากมาย ไม่พอใจผลลัพธ์ในชีวิต เช่น ความรัก ความสัมพันธ์ การงาน การเงิน สุขภาพ นำ้หนักตัว ความสุขสงบใจ ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต การเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ในชีวิตต้องเริ่มที่บริเวณต้นเหตุคือจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นส่วนที่เก็บ ประสบการณ์ ในอดีตทั้งหมด รวมมาเป็น ความเชื่อ ความเห็น อุปนิสัย พฤติกรรม ความเคยชิน กรอบในการมองโลก สิ่งที่เราให้ค่าว่าดี ไม่ดี ชอบ ไม่ชอบ อยากทำ ไม่อยากทำ ความเชื่อว่าทำได้สำเร็จ ไม่สำเร็จ

วงจร
มนุษย์แต่ละคนมีระบบในการรับข้อมูล ตีความ จากนั้นก็จัดเก็บลงในจิตใต้สำนึก ระบบการตีความหรือกรอบในการมองโลกของคนที่รู้สึกไม่ดี เมื่อรับข้อมูลใหม่เข้ามาก็จะตีความตามเครื่องกรองประสบการณ์ที่ชำรุด ทำให้ตีความประสบการณ์ซ้ำลงร่องเดิม ตอบสนองไปตามความเชื่อเดิม ทำให้ชีวิตไม่สามารถ หลุดออกมาจากผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจได้

ปราการป้องกันความเชื่อ
การเปลี่ยนความเชื่อ อุปนิสัย ที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก ไม่สามารถ ใช้เพียงความต้องการเปลี่ยนความคิด เพราะความคิดออกมาจากตัวกรองประสบการณ์และ ความเชื่อ ที่ถูก ปกป้องโดย critical factors
Critical Factors กีดกันข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเชื่อเดิมของเรา เวลาที่จิตใต้สำนึกรับและฝังความเชื่อ เกิดในภาวะจิตใจต่างๆที่ Critical factors หยุดทำงานเช่น ผ่อนคลายจนจิตสำนึกหยุดคิด เหม่อลอย กลัว ตกใจ ดูโทรทัศน์ ฟังซีดี ขับรถเพลินๆ เช่น เวลาที่ลูกไม่คาดฝัน พ่อแม่ ดุลูกอย่างกระทันหัน วินาทีที่ลูกหยุดนิ่ง อึ้งอยู่ ขณะนั้นสิ่งที่พ่อ แม่ (ครู คนรัก เจ้านาย เพื่อน) พูดต่อมา จะไหลเข้าสู่จิตใต้สำนึกของลูกทันที

สภาวะพิเศษ
จิตใต้สำนึกเราเป็นเหมือน เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ระหว่างใช้งาน อาจรับ ไวรัส ขยะ หรือ ใช้ โปรแกรมซอฟแวร์ที่หมดอายุ ไม่เวิร์คอีกต่อไป การเปลี่ยนความเชื่อที่ไม่เป็นประโยชน์กับชีวิต ก็เหมือนการปรับปรุงโปรแกรมซอฟแวร์ ที่เราใช้ ให้ใช้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้กับตัวเองและผู้อื่น ให้ชีวิตมีพลัง วิธีการที่ทำ คือ ใช้การผ่อนคลายทำให้ สมองอยู่ในภาวะที่ทางวิชาการเรียกว่า Altered state หรือ heighten state of suggestibility แล้วให้ผู้เข้ารับ สามารถ เลือก ใส่ความเข้าใจ ลงไปในประสบการณ์ในอดีต เปลี่ยน มุมมองในการเลือกรับรู้โลก เลือกความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ

ฝังใจ
เช่น คนหนึ่งเคยกินเบียร์ครั้งแรกแล้วอาเจียร ต้องทำความสะอาด นึกถึงการกินเบียร์ ดึงภาพ กลิ่น สัมผัส ของการทำความสะอาด อาเจียร จนไม่กินเบียร์อีก คนๆหนึ่งมีความรู้สึกต่อการมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครอบครัว คนที่รัก เคารพในทางลบ เพราะเคยมีประสบการณ์ ไม่ดีตอนเด็กๆ หรือจำความรู้สึก ถูกปฎิเสธ หรือล้มเหลวทางธุรกิจ หรือผิดหวังในความรัก ทำให้ไม่สามารถปรับสมองให้ คิด ทำพูด ที่ทำให้เกิด ความสำเร็จในเรื่องนั้นๆได้

หนีไม่พ้น
เมื่อคนๆหนึ่งไม่สามารถขับเคลื่อนไปสู่ชีวิตที่ต้องการ เขาก็จะ หนีจากสิ่งที่ควรทำจริงๆในชีวิต ย้ายความสนใจไปยังสิ่งดึงดูดความสนใจอื่น ( distraction) เช่น กินทั้งที่ไม่หิวจนอ้วนมาก ใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้ ทำงานเพื่อลืมความทุกข์จนเสียสุขภาพ มีแฟนเยอะแต่เหงามาก สูบบุหรี่ทั้งที่สุขภาพไม่ดี แม้กระทั่งไปอาสาทำเรื่องของคนอื่นหรือส่วนรวมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่สะสางเรื่องค้างคาของตนเอง หรือจิตใต้สำนึกสั่งให้เก็บความเจ็บป่วยหรือความทุกข์เรื้อรังไว้ เพื่อใช้เป็นที่ซ่อนตัวเพื่อจะได้ไม่ต้อง perform หรือ ส่งมอบผลงานในชีวิต และรับผิดชอบต่อครอบครัวและตนเอง
หรือพัฒนาไปสู่รอยฝังในใจที่ลึกขึ้น จนมีอาการชัดเจนจนต้องรับยาประเภทระงับตามอาการหรือแค่เพียงกดอาการไว้จากแพทย์ เช่น ซึมเศร้ายำ้คิดยำ้ทำเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยเวลาได้ทำอะไรซ้ำๆ เช่น ล้างมือ ปิดประตู เช็คกุญแจ ทำความสะอาด ทำร้ายตัวเอง
ไม่มีความสุข อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วรุนแรง จากความคิดเล็กๆพัฒนาไปสู่ความเคยชินที่จะคิดในรูปแบบที่เป็นโทษกับตัวเองซำ้ๆ หลายคนเลือกทางแก้โดยใช้วิธีใช้ยากดประสาท ยาลดอาการซึมเศร้า เพื่อบรรเทาอาการ แต่ไม่ได้รักษาในระยะยาว เพราะไม่ได้เข้าไปจัดการที่ กระบวนการอัตโนมัติที่จิตใต้สำนึกเรียนรู้การคิดให้ตัวเองเป็นทุกข์จนชำนาญ

การดูแล
เราจึงช่วยให้สามารถเลือกเปลี่ยนสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับชีวิต เพราะหากไม่เปลี่ยนก็จะทำให้เกิดความเครียด ความกดดัน ทั้งทางกายและใจ จนปรากฎป็นปัญหาสุขภาพกาย ใจ สุขภาพ การเงิน งาน ความสัมพันธ์ ความรัก
การทำงานนี้เป็นวิธีที่ผู้เข้ารับบริการ เป็นผู้ควบคุมการเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดรายการ นักบริหารจิตใต้สำนึกเป็นเพียงผู้ช่วย เป็น facilitator เป็น guide เป็นโค้ชตามแนวทางวิธีปฎิบัติที่ได้รับการยอมรับในทางวิชาการการบริหารจิตใต้สำนึกทั่วโลก
ปัจจุบันครูอ้อย ฐิตินาถ ณ พัทลุง นอกจากเป็นโค้ช ตัวต่อตัวด้านจิตใต้สำนึกที่สถาบันตรัยยา โรงพยาบาลปิยะเวชแล้ว ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ Training Specialist ที่ได้รับไลเซนต์ ในการฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติการรักษาจิตใต้สำนึกให้ผู้คน จากสถาบันเอ็นแอลพี NLP Societyแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับบริษัทเข็มทิศเอ็นแอลพี เปิดหลักสูตรพื้นฐาน เข็มทิศระบบจิตใต้สำนึก 1
สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจรักษาตัวเองและคนในครอบครัว
สำหรับ แพทย์ นักจิตวิทยา ครู นักแนะแนว ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รักษา
สำหรับนักธุรกิจ นักการตลาด มืออาชีพสาขาต่างๆ สำหรับใช้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนรอบตัว

อะไรคือ NLP
NLP ย่อมาจาก Neuro-Linguistic ProgrammingNLP คือเทคนิคการจัดพฤติกรรมของสมองและจิตใต้สำนึก (Neuro) โดยใช้ชุดภาษาพูดและทางกาย ( Linguistic) เพื่อช่วยให้บุคคลแปลความสิ่งที่มากระทบใหม่ แล้วตอบสนองเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ดีเป็นประโยชน์กับชีวิต (Programming)NLP มักใช้การทำคลื่นสมองให้อยู่ในภาวะที่เหมาะกับการสร้างความเปลี่ยนแปลง
ดร.ริชาร์ด แบนด์เลอร์ ผู้ตั้งคำว่า NLP ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1970 ได้ให้คำจำกัดความลงในดิคชันนารีภาษาอังกฤษอ๊อกซ์ฟอร์ดว่า
1) NLP คือ ระบบการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ และดีกับชีวิตโดยการจัดระบบความคิดความรู้สึกที่เกี่ยวข้องใหม่
2) NLP คือ ระบบการรักษาทางเลือกที่ช่วยให้รู้ตัวเองและสื่อสารอย่างแม่นยำเพื่อเปลี่ยนความคิดความรู้สึก
ภายหลัง ดร.แบนด์เลอร์ได้พัฒนา NLP ร่วมกับกรินเดอร์ และผู้ที่จะใช้ NLP ในการสอนหรือดูแลผู้อื่นภายใต้การโฆษณาว่าเป็น NLP ซึ่งถูกจดลิขสิทธิ์ไว้ ต้องมีใบประกาศนียบัตรไลเซนส์ที่ถูกต้องจาก ดร.แบนด์เลอร์ หรือจากสถาบันของกรินเดอร์ ซึ่งผู้เข้าอบรมกับเข็มทิศเอ็นแอลพี (compassNLP) ในหลักสูตรยาวจะได้รับใบประกาศนียบัตร Licensed Practitioner of NLP ซึ่งเซ็นโดย ดร.แบนด์เลอร์ผู้คิดคำว่าเอ็นแอลพี และเป็นผู้สอนครูอ้อย ฐิตินาถ ณ พัทลุง ตั้งแต่หลักสูตรพื้นฐานของเอ็นแอลพี ไปจนถึงหลักสูตรขั้นสูง และหลักสูตรผู้สอนเอ็นแอลพี

NLP ในปัจจุบัน
NLP ในปัจจุบันถูกใช้อย่างกว้างขวางในฐานะระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการเปลี่ยนความคิดความรู้สึกและพฤติกรรม เพื่อช่วยให้เราสร้างชีวิตอย่างที่เราต้องการ
NLP ช่วยให้เรามีการสื่อสารที่ได้ผลแม่นยำ มีความรู้ตัว จนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมความคิดความรู้สึกให้ได้รับผลลัพธ์ในชีวิตที่ต้องการ
NLP ใช้ทำอะไร?
NLP สามารถใช้ในการเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินของตนเอง และเป็นไกด์เป็นโค้ชช่วยให้คนอื่นเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินของเขาได้
NLP ช่วยให้เราเข้าถึงรูปแบบพฤติกรรมในสมองของคนที่ทำเรื่องนั้นๆสำเร็จ แล้วนำรูปแบบที่เขาใช้ในหัวมาใช้กับตนเองเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ
NLP ช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้และทางเลือกในชีวิตที่กว้างขวาง ทำให้เกิดประสิทธิภาพความยืดหยุ่น คล่องตัว ในงานและความสัมพันธ์ เพิ่มคุณภาพ และทางเลือกให้ชีวิต

NLP เชื่อว่า
1) NLP เชื่อว่าคนไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกับพฤติกรรมของเขา ยอมรับคนแต่ไม่จำเป็นต้องยอมรับพฤติกรรม เพราะคนสามารถใช้ NLP ในการเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่นได้
2) NLP เชื่อว่าทุกคนมีทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการมีความสุขประสบความสำเร็จมีชีวิตที่ดี เขาแค่ต้องรู้วิธีปลดล็อคให้ตัวเองเท่านั้น
3) NLP เชื่อว่าผลที่คุณได้รับตรงตามคุณภาพที่คุณส่งออกไป เมื่อคุณเรียนรู้ที่สื่อสารกับโลกได้แม่นยำ ถูกต้องดี มีประสิทธิภาพขึ้น โลกจะตอบสนองกับคุณดีขึ้น
4) NLP เชื่อว่าคุณเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง เพราะเป็นผู้เลือกสิ่งที่คุณคิดและรู้สึก

การอบรม NLP
คนมากมายอยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ อยากหยุดแต่ทำ อยากทำแต่ไปทำอย่างอื่น อยากทำให้ได้แต่ไม่ลอง อยากหยุดคิดแต่ยิ่งคิด อยากมีความสุขแต่ทุกข์ อยากคิดสิ่งที่ดีแต่ไปคิดสิ่งที่ทำให้หมดพลัง อยากมีชีวิตที่ดีแต่ไปทำสิ่งที่ไม่เวิร์คอยากทำสิ่งที่เวิร์คแต่ทำไม่ได้
NLP วางอยู่บนพื้นฐานว่าชีวิตเป็นของเรา เรากำหนดคุณภาพชีวิตจากสิ่งที่เราคิด พูด ทำ รู้สึก จึงสอนให้เรารู้จักใช้ตัวเองให้ได้้ให้เป็น แล้วยังช่วยเป็นไกด์ให้ผู้อื่นใช้หัวตัวเองในการทำชีวิตให้ได้อย่างที่ต้องการ

สนใจสอบถามหลักสูตรเข็มทิศจิตใต้สำนึก
โทร 086 892 0440 , 086 664 8870 คุณรินรดา
www.compassNLP.com
http://kemtid.blogspot.com/
Facebook / เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง

No comments: