9/16/2014

"กัวซา" ขูดพิษแก้ปวดเมื่อยเองได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องไปหาหมอนวด และ รู้สาเหตุ การปวดคอ

เรารู้จักการกัวซามาซักพักนึงละตั้งแต่เราปวดสะโพกที่เป็นมาเป็นเดือน
จนตอนนี้ก็ยังไม่หาย
ตอนไปนวด
ตรงไหนที่หมอนวดไม่ได้เพราะเราเจ็บมาก
หมอก็จะเอาหวีกับน้ำมันมา "กัวซา" ให้
กัวซาคืออะไร
พูดง่าย ๆ ก็คือ
การขูดพิษออกจากร่างกายทางผิวหนังเพื่อกระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิต
ส่งเสริมการไหลเวียนของพลังปราณในร่างกาย

เป็นการถอนพิษที่ไม่ถูกจำกัดทั้งเวลาและสถานที่
สามารถทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ
เพียงแต่เจียดเวลาวันละไม่กี่นาที
ขูดจากศีรษะจนถึงเท้า
ก็สามารถกระตุ้นให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น กระตุ้นระบบเมตาโบลึซึ่มของร่างกาย






เราเห็นหมอนวดที่เค้านวดเราไม่ได้เพราะเราเจ็บ
เค้าก็ลงน้ำมันแล้วเอาหวีไม้มาค่อย ๆ ขูดส่วนที่เจ็บ
แล้วมันก็จะแดงขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งหมอบอกว่าขูดพิษ
เนี่ย
เห็นมั้ย
แดงเป็นปื้นเลย
ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ลงน้ำหนักมาก
แค่ขูดไปทางเดียวกันซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ
ตอนแรกเราก็ไม่เชื่อนะ
เวลาเอาอะไรมาขูดที่ผิวหนังมันก็แดงสิ
แต่รู้สึกว่าขูดแล้วมันดีขึ้น
แล้วเหมือนพิษออกจริง ๆ
เพราะขูดเสร็จมันจะร้อนตรงที่กัวซา
เหมือนเอาพิษร้อนในร่างกายออกมา

เมื่อก่อนตอนยังไม่ปวดสะโพก
ก็ไปให้หมอนวดเค้านวดคอ บ่า ไหล่ที่พนักงานออฟฟิศเป็นกันทุกคน
หลัง ๆ ไม่เสียเงินให้หมอนวดละ
ซื้ออุปกรณ์มานั่งขูดเองที่บ้านดีกว่า
เพราะเสาร์ อาทิตย์เราก็ชอบอยู่บ้าน ไม่ได้ออกไปไหนอยู่แล้ว
เมื่อยแขนหน่อยแล้วนวดเอง ประหยัดตังค์ด้วย

เริ่มจากอุปกรณ์ซึ่งมีแค่ 2 อย่างเท่านั้น
คือไม้กัวซา




ซึ่งของเรา คนขายบอกว่าเป็นเขาควาย
ใช้สำหรับกัวซาโดยเฉพาะ
เนื่องจากทำจากธรรมชาติจึงปลอดภัยจากสารเคมี
และยังมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและขับสารพิษในร่างกาย
ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
ไม่ขูดผิวหนังจนเสียหายหรือถลอก

ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเขาควายจริงรึเปล่านะ
เพราะดูมันเหมือนพลาสติกมากมาย
แต่ก็ยอมซื้อมา เพราะเป็นร้านมาตั้งบูธในห้าง
ถ้าไม่ซื้อตอนนั้น ก็ไม่รู้ว่าจะต้องไปหาซื้อของพวกนี้ที่ไหน

อีกอย่างนึงก็คือน้ำมัน
เป็นน้ำมันอะไรก็ได้นะ
ตอนแรกเราใช้ยาหม่องที่เป็นบาล์มหลากสีนะ





แต่ขูดไปขูดมา
มันสีตกเปื้อนเสื้อผ้ารวมถึงสายเสื้อในให้กลายเป็นสีนั้นเลย
เลยเปลี่ยนมาหายี่ห้อที่มันเป็นสีขาว





แล้วตอนนี้มาบ้าน้ำมันเขียวย่านางเลยซื้อมากัวซาซะหน่อย
สีมันตกน้อยกว่ายาหม่องด้านบนนะ
แล้วให้ความรู้สึกเย็นดีด้วย
เวลากัวซาเสร็จมันก็เย็นแข่งกับพิษร้อนที่มันขึ้นมา





เริ่มต้นก็เหยาะ ๆ น้ำมันลงบนบ่า
แล้วก็เอาไม้กัวซาเนี่ยขูดลงจากต้นคอลงมาในทางเดียวกัน
ไม่ต้องแรงมาก เดี๋ยวช้ำ
แต่ไม่ต้องเบามากเหมือนลูบ ๆ นะ
เดี๋ยวพิษมันไม่ออก
ขูดด้วยแรงที่สม่ำเสมอกันไปซักพักประมาณ 10-20 ครั้งก็พอ
บ่าเราก็จะแดงแบบนี้





ถ้าแดงไม่เท่าเราก็ไม่ต้องขูดให้เท่าก็ได้นะ
บางคนก็อาจจะไม่แดงมากก็ได้ อย่าขูดให้เจ็บมากนะ
เดี๋ยวมันช้ำเหมือนเราตอนขูดแรก ๆ
ที่กลัวพิษมันไม่ออก
ขูดซะแรง
วันถัดมาช้ำม่วง ๆ เขียว ๆ เป็นจ้ำ ๆ เลย
ลองกะ ๆ ดูนะ

ทำเท่า ๆ กันทั้ง 2 ข้าง
ถ้าเราลงน้ำหนักมือและจำนวนครั้งเท่ากัน
แต่ 2 ข้างแดงไม่เท่ากันก็ไม่เป็นไรนะ
เพราะข้างใดข้างหนึ่งอาจจะพิษสะสมเยอะกว่าอีกข้างก็ได้




หลังขูดแล้วให้ดื่มน้ำแก้วใหญ่ เพื่อช่วยระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย

อ้อ
ควรทำกัวซาหลังจากอาบน้ำแล้วอย่างต่ำครึ่งชั่วโมงนะ
ให้ร่างกายกลับมาสู่อุณหภูมิร่างกายปกติซะก่อน
แล้วหลังจากทำกัวซา
ภายใน 5 ชั่วโมงอย่าเพิ่งอาบน้ำนะ
เพราะพิษมันจะออกมาเรื่อย ๆ
บ่าเราจะร้อนวูบวาบซักชั่วโมงแรกแล้วก็ค่อย ๆ อุ่น ๆ
แสดงว่าพิษมันยังออกมา
แต่ถ้าต้องอาบน้ำก่อน 5 ชั่วโมงจริง ๆ
ให้อาบน้ำอุ่นนะ
พิษมันจะได้ยังออกมาได้
สถานที่ขูดกัวซาจะต้องไม่มีลมแรง เช่น หน้าพัดลม หรือในห้องที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ
เนื่องจากจะทำให้เสียสมดุลของหยินและหยาง

อันนี้คือหลังทำประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนอาบน้ำ





ปกติหลังจากขูดแล้ว 2-3 วัน
ตำแหน่งโรคที่ขูดจะมีอาการเจ็บปวดปรากฏขึ้น
ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติหลังขูดจนซาออกหมดแล้ว
ต้องรออีก 5-7 วันจึงจะสามารถขูดซ้ำได้อีก
การขูดเพื่อสุขภาพสามารถขูดผ่านเสื้อผ้าได้ทุกวัน

อันนี้คือบ่าข้างขวา 1 วันหลังจากกัวซาแล้ว



ข้างซ้ายจะคล้ำกว่า



คือ 1 วันเนี่ย ไอ้จ้ำแดง ๆ มันจะยังไม่หายไปนะ
มันยังเป็นจ้ำ ๆ คล้ำ ๆ เหมือนโดนปั๋วซ้อม
เอิ่ม
ปั๋วก็ไม่มีกะเค้า แต่เจือกรู้ดีนะ
ก๊าก ๆ
เคยกัวซาที่คอด้วย
เรามักจะทำวันเสาร์
วันจันทร์ไปทำงาน
รอยจ้ำมันจะยังอยู่
ใครเห็น ใครก็แซวว่าไปโดนหนุ่มที่ไหนดูดมาเนี่ย
จ๊าก
หลังจากนั้น
เลิกกัวซาที่คอเลย
ซูมให้ดูรอยกัวซาหลังจากผ่านไป 1 วัน



อาการพิษสะสม (ดูที่สีผิว)

1. สีชมพูหรือสีแดงเรื่อ ๆ แสดงว่า ดี
2. เป็นปื้น แสดงว่า พิษเริ่มสะสม 
3. เป็นจ้ำเหมือนไข้เลือดออก แสดงว่า พิษสะสมนานแล้ว ในทางแพทย์ทางเลือก เรียกว่า ลมแตก
4. ถ้าเป็นลักษณะช้ำ แสดงว่า มีพิษสะสมมาก 
ยิ่งถ้าช้ำจนถึงขั้นสีม่วงหรือสีดำ ในทางแพทย์ทางเลือกถือว่า มีพิษมากถึงขั้นมะเร็ง



แต่ถ้าใครไม่ได้ขาวจัดมาก
วันนึงผ่านไปก็แทบไม่มีรอยแล้วนะ
ขึ้นอยู่กับผิวคนด้วย
ตอนทำแรก ๆ กลัวมันจะไม่หาย
กลัวมันเป็นแผลเป็นด้วยซ้ำ
แต่หลัง ๆ เริ่มรู้ละ
แต่รอยจ้ำเลือดเรา กว่ามันจะหายก็เกือบอาทิตย์เลยนะ
พอหายก็กัวซารอบใหม่ทับไปอีกละ
แต่สำหรับเราที่ไม่เคยใส่เสื้อไม่มีแขนออกจากบ้าน
มันก็ไม่เห็นอยู่แล้ว
เลยไม่ได้ซีเรียสอะไร

แล้วเราเป็นคนผิวบางด้วย
ขนาดคุกเข่าสวดมนต์แป๊บเดียว
เข่าแดงช้ำไปหลายวันเลยทีเดียว





มีคนถามว่า หวีหรือไม้กัวซาหาซื้อได้ที่ไหน

ตอบว่า ไม่รู้เหมือนกัน
เพราะอย่างที่บอก เราซื้อตอนเค้ามาเปิดบูธที่เซ็นทรัล
เป็นร้านเกี่ยวกับกัวซาโดยเฉพาะ มีไม้หลายกหลายขนาด และหลายชนิด
ทั้งเขาควาย หยก ตั้งแต่ถูกยันแพง
แต่มันมาตั้งแค่อาทิตย์เดียวมั้ง แล้วเราก็ไม่ได้เก็บรายละเอียดร้านเค้าไว้ด้วย
คาดว่าถ้าลองไปเดินตามร้านขายสมุนไพรก็น่าจะมีขาย




มีคนถามอีกว่า
อาการปวดต้นคอหรือเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว จะมีทางรักษาหายขาดรึเปล่า

ตอบว่า ไม่รู้เหมือนกัน ไม่ใช่หมอค่ะ (ไม่ได้กวนนะคะ ตอบได้เท่าที่รู้ค่ะ)
ถ้ารักษาเอง เราว่ามันต้องทำต่อเนื่องทุกวันน่ะค่ะ
เช่น ทำกายภาพต้นคอเอง+ประคบร้อนทุกวันแล้วก็กัวซาทุกอาทิตย์แบบนี้น่าจะช่วยได้ระดับนึง
เราก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรอกนะคะ
แค่รู้สึกว่าเวลากัวซาแล้วมันรู้สึกดีขึ้น
แต่ถ้าเราต้องใช้คอนั่งทำงานนาน ๆ อยู่ มันก็เป็นได้อีก
ดังนั้น
ถ้าเราใช้คอตลอด
เราควรจะแก้ให้สม่ำเสมอเหมือนกันค่ะ
ลองดูนะคะ


    ปวดคอ
    สาเหตุที่พบบ่อย
    1. กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ กล้ามเนื้อเคล็ด ซึ่งมักเกิดจาก อิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น
    - การแหงนหน้า หรือ ก้มหน้าทำงานเป็นเวลานาน เช่น ผู้ทำงานเย็บจักร ซักผ้า เขียนหนังสือ ช่างซ่อมรถ
    - นอนในท่าที่คอพับ หรือ บิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูง หรือ แข็งเกินไป
    2. ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดศีรษะ ปวดท้ายทอยหรือขมับ ตามมา โดยเฉพาะหลังจากทำงาน หรือ หลังจากมีปัญหาขัดแย้งกับผู้อื่น มักจะมีอาการในช่วงบ่าย ๆ หรือ ตอนเย็นหลังเลิกงาน
    3. อุบัติเหตุ ทำให้คอเคลื่อนไหวมากหรือเร็วกว่าปกติ อาจจะเกิดกล้ามเนื้อ / เส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกคอเคลื่อน
    4. หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน และมือ โดยอาจจะมีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง
    5. กระดูกคอเสื่อม พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่ผู้สูงอายุบางคนเท่านั้นที่มีอาการมากจนต้องรับการรักษา ถ้าเอ๊กซเรย์กระดูกคอก็จะพบว่ามีกระดูกงอก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ พบได้ในคนสูงอายุปกติทั่วไป ดังนั้นปกติแล้วแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกคอเสื่อมได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์
    6.ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค รูมาตอยด์ เก๊าท์ เป็นต้น
    7.กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดในกล้ามเนื้อและเมื่อใช้งานกล้ามเนื้อนั้นก็จะปวดมากขึ้นและรู้สึกอ่อนแรง มักจะมีจุดที่กดเจ็บชัดเจนและอาจคลำได้ก้อนพังผืดแข็ง ๆ ร่วมด้วย

    การรักษาเบื้องต้น
    1. ระวังอิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
    - หลีกเลี่ยง การก้ม-เงยคอ นานเกินไป หรือ บ่อยเกินไป ถ้าจำเป็นก็ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือ ขยับเคลื่อนไหวคอเปลี่ยนอิริยาบถสัก 2 - 3 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง
    - ควรนอนบนที่นอนแข็งพอสมควร  ไม่ควรนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรือ ดูทีวี เพราะจะทำให้คอแหงนมาก
    - นอนหนุนหมอนที่นุ่มและยืดหยุ่นพอที่จะแนบส่วนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของคอ และ มีความหนาพอเหมาะที่จะทำให้คออยู่ในแนวตรง ( เมื่อมองจากด้านข้าง ) ไม่ทำให้คอแหงนหรือก้มมากเกินไป
    2. ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น โดยใช้น้ำแข็งทุบใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10 - 15 นาที  หรือ อาจจะประคบด้วยความร้อน  4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้
    3. รับประทานยา เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หรือจะใช้ครีมนวดแก้ปวด ร่วมด้วย ก็ได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น
    4. ทำกายภาพบำบัด
    - บริหารกล้ามเนื้อคอ หมั่นบริหารกล้ามเนื้อของคอทุก ๆ วัน ให้บ่อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ( ทำมากได้มาก )
    - ใส่เครื่องพยุงคอ ซึ่งควรใช้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น
    - ดึงถ่วงน้ำหนักกระดูกคอ
    - ประคบบริเวณที่ปวดด้วย ความร้อน  ความเย็น หรือ คลื่นเสียงอัลตร้าซาวน์
    5. ลดความเครียดจากชีวิตประจำวัน โดยการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ


No comments: