4/22/2013

ลิ้นหัวใจ บริจาคได้ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สถากาชาดไทย

www.organdonate.in.th

ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ


อวัยวะและเนื้อเยื่อที่บริจาคได้


ลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจ
ลิ้นหัวใจ
ลักษณะและหน้าที่ของลิ้นหัวใจ
หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ประกอบด้วยห้องหัวใจ 4 ห้อง โดยมีลิ้นหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่คอยปิดและเปิดให้เลือดผ่านเข้าออกในแต่ละห้องหัวใจทั้งหมดจำนวน 4 ลิ้น ได้แก่ ลิ้นเอออร์ติก (Aortic Valve) ลิ้นไมตรัล (Mitral Valve) ลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid Valve)? และลิ้นพูลโมนิค (Pulmonic Valve) ลิ้นทั้งสี่นี้จะทำงานประสานกันเพื่อให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ หากลิ้นหัวใจมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดการตีบ (Stenosis) หรือรั่ว (Regurgitation) จะทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติด้วย ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ นอกจากนั้นยังอาจทำให้มีเลือดคั่งในปอด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากขึ้น จะนอนราบศีรษะต่ำไม่ได้ เนื่องจากอาการแน่น และเหนื่อยหายใจลำบาก พยาธิสภาพหรือสาเหตุของความผิดปกติของลิ้นหัวใจ แบ่งได้ดังนี้
  1. ความพิการของลิ้นหัวใจแต่กำเนิด?(Congenital Valve Disease) เช่น ลิ้นหัวใจตีบ เด็กที่เป็นโรคกลุ่มนี้ จะมีอาการตั้งแต่แรกคลอด และมักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  2. โรคลิ้นหัวใจรูมาติกส์?(Rheumatic Heart Disease) เป็นโรคลิ้นหัวใจผิดปกติชนิดที่พบมากที่สุดในประเทศไทย เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส กรุ๊ป เอ ทำให้เกิดไข้รูมาติกส์เมื่อครั้งผู้ป่วยยังเป็นเด็กและมีผลทำลายลิ้นหัวใจของผู้ป่วยในระยะยาว? ส่วนมากจะเริ่มอาการแสดงความผิดปกติของหัวใจ 5-10 ปี หลังจากเป็นไข้รูมาติกส์
  3. โรคลิ้นหัวใจผิดปกติจากการเสื่อมสภาพ?(Degenerative Valve Disease) มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดการผิดปกติของการเปิดหรือปิดของลิ้น เช่น ลิ้นไมตรัลรั่ว ซึ่งเกิดจากตัวลิ้นมีการเสื่อมและยืดตัวมาก หรือลิ้นเอออร์ติกตีบในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของเนื้อเยื่อและมีหินปูนมาเกาะที่ตัวลิ้น (Calcification)
  4. โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ?(Infective Endocarditis) เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia) และตัวเชื้อโรคไปเกาะกินที่ลิ้นหัวใจ? ผู้ป่วยจะมีอาการเฉียบพลัน และหัวใจวายรุนแรงรวดเร็วมาก? ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของตัวลิ้น และทำให้เกิดการรั่วของลิ้นอย่างรุนแรง กลุ่มโรคนี้ส่วนหนึ่งพบในผู้ป่วยที่ใช้ ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นโดยใช้เข็มที่ไม่สะอาดพอ เป็นเหตุให้เชื้อโรคเข้าในกระแสโลหิตได้ อย่างไรก็ตาม สามารถพบโรคลิ้นหัวใจอักเสบนี้ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดยาเสพติดได้ โดยเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายด้วยช่องทางอื่น เช่น ทางฟันในผู้ป่วยที่มีการอักเสบของฟันหรือฟันผุ
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
  1. การรักษาด้วยยา (Medical Treatment)
  2. การรักษาด้วยบอลลูน (Percutaneous Balloon mitral? valvulotomy, PBMV) เป็นการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ โดยการใส่สายสวนที่มีบอลลูน เข้าทางเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ และสอดบอลลูนนี้ไปถึงลิ้นที่ตีบ และขยายลิ้นโดยบอลลูนนั้น
  3. การผ่าตัด มี 2 ชนิด คือ
    • การขยายลิ้นหรือซ่อมลิ้น (Valve Repair)
    • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement)
ประเภทของลิ้นหัวใจ (Heart Valve for Replacement)
  1. ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Valve)?มีชนิดลูกบอล ทำจากสาร Silastic และชนิดโลหะเป็นบานพับ (Disc Valve) ทำงานเหมือนการปิดเปิดของประตูหรือหน้าต่าง
    ข้อดี???? : ลิ้นหัวใจเป็นโลหะ จึงคงทนไม่มีการเสื่อมสลาย
    ข้อเสีย?:?ต้องกินยากันเลือดแข็ง (anticoagulation) ตลอดชีวิต
    :?เกิดลิ่มเลือดจากลิ้นหัวใจได้
    :?เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจใหม่ได้
    :?มีเสียงของลิ้นหัวใจดังรบกวน
  2. ลิ้นหัวใจจากเนื้อเยื่อสัตว์ (Bioprosthesis, Tissue Valve)?มี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจหมู (Porcine Valve) และลิ้นหัวใจที่ทำจากเยื่อหุ้มหัวใจของวัว (Bovine Pericardium)
    ข้อดี????:?ไม่ต้องกินยากันเลือดแข็งและเกิดลิ่มเลือดที่ลิ้นหัวใจน้อย
    ข้อเสีย?:?ลิ้นหัวใจใหม่จะเสื่อมสภาพภายใน 5-10 ปี ทำให้ต้องทำผ่าตัดใหม่
  3. ลิ้นหัวใจของมนุษย์ (Homograft Heart Valve)?จากผู้บริจาคอวัยวะ วิธีนี้เป็นการนำลิ้นหัวใจจากผู้เสียชีวิตที่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ตั้งแต่ก่อนเสียชีวิต หรือได้รับอนุญาตจากญาติผู้เสียชีวิตให้นำลิ้นหัวใจมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งถ้านำมาผ่านกระบวนการเตรียมและเก็บโดยวิธีพิเศษจะสามารถเก็บรักษาไว้ใช้ได้ถึง 5 ปี? ผู้เสียชีวิตที่สามารถบริจาคลิ้นหัวใจมี 3 ประเภท คือ
    • ผู้เสียชีวิตจากสมองตาย ที่บริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ แต่หัวใจมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะนำไปปลูกถ่ายได้
    • ผู้เสียชีวิตที่หัวใจหยุดเต้น ทั้งนี้ผู้บริจาคต้องไม่มีข้อห้ามในการนำลิ้นหัวใจไปใช้ ซึ่งจะพิจารณาจาก อายุ สาเหตุการเสียชีวิต ระยะเวลาที่เสียชีวิต การติดเชื้อต่าง ๆ เป็นต้น
    • ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจใหม่ สามารถบริจาคหัวใจดวงเก่าไม่มีพยาธิสภาพที่ลิ้นหัวใจ
ข้อดี????:?โอกาสเกิดการติดเชื้อของลิ้น ต่ำมาก
อายุการใช้งานนานพอสมควร? (10-22 ปี)
ไม่ต้องรับประทานยากันเลือดแข็งตัว
เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ที่ลิ้นหัวใจน้อย
ไม่มีเสียงของลิ้นหัวใจดังรบกวน
ใช้ได้ดีมากในกรณีโรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
ข้อเสีย?:?ต้องได้จากผู้บริจาคอวัยวะเท่านั้น
มีความสลับซับซ้อนในขั้นตอนการเก็บรักษา (Valve Preservation)
การผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจนี้แก่ผู้ป่วยค่อนข้างมีความยุ่งยากมากกว่าการใส่ลิ้นหัวใจ 2 ชนิดแรก
ถึงแม้ว่าในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจให้แก่ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจผิดปกติจะมีชนิดลิ้นให้เลือกหลายชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันในคุณลักษณะ คุณสมบัติ อายุการใช้งาน ความยากง่ายในการผ่าตัดรวมถึงราคาที่แตกต่างกัน สิ่งหนึ่งที่ควรตระหนักและขอเน้นก็คือ ลิ้นหัวใจแต่ละชนิดนี้ไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสมที่สุด เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้ลิ้นหัวใจให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งต้องอธิบายเหตุผลและรายละเอียดให้ผู้ป่วยเข้าใจด้วย


ด.ญ.นพรดา อินทร์แมน (ลิ้นหัวใจ)

ด.ญ.นพรดา อินทร์แมน (ลิ้นหัวใจ)
น้องนพรดาหรือน้ำใสเป็นเด็กร่าเริง ที่สามารถวิ่งเล่นซุกซนกับเพื่อนๆได้ตามประสา ซึ่งสิ่งที่เราได้เห็นนั้นแตกต่างจากเรื่องราวที่ผ่านมาของน้ำใสอย่าสิ้นเชิง คุณแม่ของน้องน้ำใส หรือ คุณอมราพร ได้เป็นผู้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตให้เราฟังว่า..?“ทราบอาการของน้ำใสตั้งแต่เค้าเกิดเลย เพราะคุณหมอเรียกเราไปคุย ตอนนั้นรู้สึกกลัวมากที่หมอบอกว่า หัวใจของน้ำใสไม่มีลิ้นหัวใจอยู่หนึ่งห้อง พอเราได้ดูที่ปลายนิ้วมือของน้ำใสก็จะเห็นเลยว่ามีสีเขียวที่มาจากเส้นเลือด ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดดำกับแดงไขว้กันอยู่ จะต้องได้รับการรักษาให้เลือดไปทางเดียวกัน เราก็เลยจะต้องดูแลน้ำใสอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษกว่าคนอื่น ยังโชคดีอยู่บ้างที่ทางครอบครัวมีญาติที่คอยช่วยกันดูแลน้ำใสเป็นอย่างดี จึงยังไม่ค่อยเกิดเรื่องที่น่าเป็นห่วงขึ้น จะมีก็แต่เวลาที่น้องนอนหลับ เหงื่อจะออกที่ศีรษะเยอะมาก ขนาดว่านอนในห้องแอร์ ศีรษะก็ยังเปียกชุ่ม แล้วถ้าน้ำใสมีไข้ เราจะต้องพาไปส่งหมอทันที เพราะผิวน้องจะขึ้นเป็นลายไปทั้งตัวเลย และอาจจะชักได้ ?
น้ำใสช่วยคุณแม่เล่าให้เราฟังว่า?? ตอนเข้าโรงเรียน น้ำใสสามารถไปเรียนได้ตามปกติ แต่จะมีเหนื่อยมากๆในวิชาพละที่ต้องออกกำลัง และเวลาขึ้นบันไดก็จะต้องขอให้คุณครูช่วยอุ้มขึ้นไปด้วยเลย?
แต่นั่นคือเรื่องราวในอดีต เพราะปัจจุบันนี้ ภาพที่เราจะได้เห็นก็มีเพียงแต่เสียงหัวเราะ และรอยยิ้มจากน้องน้ำใสที่สามารถถีบจักรยานออกไปเล่นกับเพื่อนๆ และวิ่งเล่นกันรอบๆ บ้านได้อย่างที่เราไปพบมา

ด.ช.ชญานนท์ หมัดมอญ

ด.ช.ชญานนท์ หมัดมอญ
อายุ 9 ปี (ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ตั้งแต่ปี 2549)
ภาพที่เราได้เห็นเด็กชายตัวเล็ก วิ่งซนไปรอบๆ บ้านด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้ม สร้างความสุขให้กับคนรอบข้างที่เฝ้ามองในวันนี้ ช่างต่างกับคำบอกเล่าถึงชีวิตก่อนการได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะอย่างสิ้นเชิง?น้องชญานนท์ ได้เริ่มต้นการพูดคุยด้วยน้ำเสียงฉะฉาน ฉายแววของการเป็นเด็กอารมณ์ดีว่า…
?ตอนที่คุณหมอบอกว่าผมเป็นโรคหัวใจ ผมยังเด็กอยู่เลย คุณย่าเล่าให้ผมฟังว่า ต้องอุ้มผมไว้ตลอดเวลา เพราะโรคหัวใจทำให้ผมเหนื่อยง่าย ตัวบวม แค่เดินยังเดินไม่ไหวเลยครับ ทำให้ผมไปเรียนไม่ได้ ต้องหยุดเรียนช่วงอนุบาลไปเลย ผมไปหาหมอบ่อยมาก ที่บ้านต้องคอยผลัดกันอุ้มผมตลอด จนกระทั่งวันที่ผมได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ตอนนั้นผมอายุประมาณ 6 ขวบ ทุกอย่างก็ดีขึ้น ผมกลับได้ไปเรียนอีกครั้ง หลังจากที่หยุดเรียนในช่วงอนุบาลไป 2 ปี วันนี้ผมไม่เหนื่อยง่ายเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แล้วก็ใช่แค่เดินได้นะครับ แต่ผมยังวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ได้อีกด้วย จนกระทั่งคุณย่าบอกว่าตอนนี้ผมซนมาก?
คุณย่าที่คอยเป็นห่วงเป็นใย และดูแลน้องชญานนท์มาโดยตลอดกล่าวเสริมว่า…?จำได้เลยว่าตอนนั้นที่เขาเข้าห้องผ่าตัด เราก็ใจจดใจจ่อนั่งรอเขาอย่างเป็นห่วง ซึ่งใช้เวลาในการผ่าตัดค่อนข้างนาน และเราก็หวังว่าการผ่าตัดครั้งนี้จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี หลังการผ่าตัดน้องเขาใช้เวลาในการพักฟื้นแค่ 15 วัน ความสมบูรณ์ของร่างกายดีขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าลิ้นหัวใจใหม่สามารถเข้ากับร่างกายของเขาได้เป็นอย่างดี หลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจครั้งนั้น ทำให้เราได้เขากับมาอีกครั้ง ชีวิตเขาเปลี่ยนไปเหมือนเป็นคนละคนเลย ได้วิ่งเล่นเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ไปเรียนได้ตามปกติ แม้ว่าเขายังต้องทานยาตลอด แต่ก็ไปพบคุณหมอน้อยลงกว่าเมื่อก่อน เขาแข็งแรงขึ้นมากค่ะ เราเองก็สบายใจขึ้นมาก และเป็นกังวลกับเขาน้อยลงด้วยค่ะ?

No comments:

Post a Comment