4/22/2013

บริจากหัวใจ แก่สภากาชาดไทย


www.organdonate.in.th

ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือ การอุทิศอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ

หัวใจ

หัวใจ
หัวใจ
ลักษณะและหน้าที่ของหัวใจ
หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย มีขนาดเท่ากำปั้นของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำโลหิตใช้งานแล้วที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ไปฟอกที่ปอดต่อไป หัวใจจะเต้นประมาณ 75 ครั้ง/นาที
การดูแลรักษาหัวใจให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่ดีมีคุณค่าอย่างพอเหมาะ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากเกินไป เพราะจะทำให้ มีการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือด หลอดเลือดตีบตัน ทำให้เลือดหมุนเวียนไม่สะดวก
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ทำจิตใจ อารมณ์แจ่มใส และไม่เครียด
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ
  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ
  • โรคหัวใจรูมาติค (โรคของลิ้นหัวใจ)
  • หัวใจล้มเหลว
การปลูกถ่ายหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย ด้วยสาเหตุกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดเลือด หรือสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดทั่วไปได้ จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายที่จะรอดชีวิตได้ ในปัจจุบัน ผลการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจเป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยร้อยละ 70-80 สามารถดำรงชีวิตได้เกิน 1 ปี หลังได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ และพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้เกิน 5 ปี ถึงร้อยละ 60
หัวใจใหม่ได้มาจากไหน
หัวใจใหม่นี้จะได้รับจากผู้เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายและได้บริจาคอวัยวะให้ โดยได้รับความยินยอมจากญาติซึ่งนับเป็นการทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่


คุณพิชิต บุญเชิด

คุณพิชิต บุญเชิด
ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจคนแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุอยู่ได้นานที่สุดภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในเอเชีย ภายใต้คุณภาพที่ชีวิตที่ดี พร้อมความสมบูรณ์ของครอบครัว
ชายร่างเล็ก ท่าทางใจดี และเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพ ได้เล่าย้อนถึงเหตุการณ์เมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมาว่า…
?ผมไม่ทราบมาก่อนเลยครับว่าผมเป็นเป็นโรคหัวใจ ผมใช้ชีวิตได้ปกติมาตลอด จนเมื่อผมอายุ 19 อยู่ดีๆ ก็มีอาการเหนื่อยง่าย ตัวบวม แน่นหน้าอก และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผมได้ไปทำการรักษาเบื้องต้น ฉีดยา และทานยาแล้วก็ไม่ดีขึ้น จนได้มาพบกับอาจารย์แพทย์ชวลิต แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้ผม ท่านบอกว่าคงมีหนทางเดียวแล้ว คือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ซึ่งตอนนั้นผมไม่เคยรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนเลย และถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากในสมัยนั้น หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ผมก็ได้มาพักฟื้นที่สวางคนิวาส ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทยแห่งนี้ ซึ่งที่นี่ได้ให้โอกาสผมทำงานด้วย ชีวิตผมดีขึ้นมาก สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ออกกำลังกายได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ผมรู้สึกว่าผมได้ชีวิตกลับคืนมาอีกครั้ง ผมต้องขอขอบคุณผู้ที่อุทิศหัวใจดวงใหม่ให้กับผมด้วยครับ ซึ่งผมก็จะระลึกถึงด้วยการทำบุญให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหัวใจดวงนี้ ผู้ซึ่งทำให้ผมมีชีวิตอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ มีงานที่ดี และมีครอบครัวที่สมบูรณ์ ?
คุณมณทิพย์ ภรรยาของคุณพิชิต และเจ้าหน้าที่พยาบาลของสวางคนิวาสได้เล่าให้เราฟังว่า?รู้จักกันมานานแล้วค่ะ ตั้งแต่ตอนที่เขามาพักฟื้นหลังการผ่าตัดที่นี่ ซึ่งก็คอยดูแลกันมาตลอด จนกระทั่งตัดสินใจแต่งงานกัน โดยส่วนตัวคิดว่าคนที่เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจก็สามารถมีชีวิตเหมือนคนอื่นได้อยู่แล้วนะคะ ซึ่งสุขภาพเขาก็แข็งแรงสมบูรณ์ดี กำลังใจดี ไม่เคยท้อให้เห็น และเขาก็เป็นคนที่มีจิตใจดีมาก เราเองก็ดูแลเขามาตลอด และก็อยากที่จะดูแลกันตลอดไป วันนี้ครอบครัวเรามีความสุขทั้งเขา ตัวเราเอง และก็ลูกสาวด้วย?

No comments:

Post a Comment