5/11/2012

กระเป๋าผ้ารวยเสน่ห์ Made in Thailand


“monnet” กระเป๋าผ้ารวยเสน่ห์ พลิกโฉมล้านนาไทยให้อินเทรนด์1


ลำพังแค่หยิบผ้า ทอไทยล้านนามาทำเป็นกระเป๋า แม้จะสวยงาม แต่ยังไม่สามารถตอบความต้องการตลาดได้กว้างนัก จนลองผสมผสานวัสดุอื่นๆ อย่างเครื่องหนัง และผ้าหลากหลายชนิด บวกความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้กระเป๋าโดดเด่นขึ้นทันตา มีทั้งเอกลักษณ์ความเป็นไทยล้านนาที่มาพร้อมรูปโฉมทันสมัย เอาใจคนรุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “monnet”
เจ้าของไอเดีย คือ สาวเมืองลำพูน อย่าง “กรวิภา ไชยบุญเรือง” ที่รักงานหัตถกรรม โดยเฉพาะผ้าทอยกดอกลำพูนมาตั้งแต่เล็ก อีกทั้ง ญาติสนิทยังเปิดโรงทอผ้าอีกด้วย ดังนั้น ส่วนตัวจึงผูกพันกับผ้าทอมืออย่างมาก
moment03
ทว่า จุดที่คาใจเสมอ คือ แม้ผ้าทอมือจะสวยงาม แต่ส่วนตัวรู้สึกว่า ใช้ประโยชน์ลำบาก ส่วนมากทำได้แค่เป็นผ้านุ่ง การตลาดจึงแคบ ขายได้ราคาต่ำ ดังนั้น จึงอยากจะสร้างธุรกิจของตัวเอง โดยนำผ้าในท้องถิ่นบ้านเกิดมาแปรรูปเป็นกระเป๋า ช่วยเพิ่มมูลค่ามากกว่าที่เป็นมา
“ที่เลือกทำเป็น กระเป๋าเพราะใกล้ตัว ผู้หญิงแทบทุกคนต้องใช้ และสามารถนำผ้าทอมาแปรรูปได้สะดวก ซึ่งก่อนที่จะทำออกตลาด เน็ท (ชื่อเล่นของกรวิภา) เตรียมตัวกว่า 1 ปี เพื่อศึกษาวิธีการตัดเย็บกระเป๋าจากอินเตอร์เน็ต และสอบถามจากผู้รู้ต่างๆ เพราะก่อนหน้านี้ เน็ทไม่มีพื้นฐานการตัดเย็บเลย ต้องมาฝึกฝนใหม่เองทั้งหมด นอกจากนั้น เตรียมหาแรงงาน กับแหล่งวัตถุดิบให้พร้อมด้วย”
moment04
ด้านออกแบบนั้น กรวิภาสร้างสรรค์เอง ทั้งหมด ที่เป็นจุดเด่นสำคัญ ไม่ยึดติดจะต้องใช้เฉพาะผ้าทอลำพูน แต่ได้ผสมผสานผ้าชนิดต่างๆ และวัสดุอื่นมาร่วมด้วย เช่น ผ้าปักของชาวไทยภูเขา ผ้าขาวม้า ผ้าไหม ยีนส์ และเครื่องหนัง เป็นต้น
“เริ่มทำกระเป๋าจาก งานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น ถุงผ้า กระเป๋าใส่เศษสตางค์ แล้วค่อยๆ ปรับรูปแบบ นำผ้าอื่นๆ มาผสม เพราะอยากให้เป็นกระเป๋าที่ร่วมสมัย การนำผ้าชนิดต่างๆ มาผสม ช่วยเพิ่มทางเลือกในการดีไซน์ ออกมาแล้วดูน่าหยิบจับมาใช้งานมากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะคนที่ชอบงานผ้าทอเท่านั้น วัยรุ่นหรือคนทั่วไปก็สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่รู้สึกเชย แถมยังมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร”
moment05
สาวนักออกแบบ ระบุว่า ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก ประมาณ 50,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบและจ้างแรงงาน โดยช่องทางตลาด เริ่มจากฝากขายที่ร้านสินค้าแฟชั่นในห้างสรรพสินค้าชื่อดัง จากนั้น ออกงานแฟร์ต่างๆ ด้วยตัวเอง ช่วยให้ได้พบผู้สนใจ สั่งซื้อสินค้าไปขายต่อ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้ตามลำดับ
สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักได้แก่ สุภาพสตรีที่ชื่นชอบงานผ้าทอ และงานแฮนด์เมด ระดับกลางบนขึ้นไป ลูกค้าประมาณ 70% เป็นชาวไทย อีก 30% เป็นชาวต่างประเทศ ส่วนดีไซน์ใหม่ๆ จะเกิดจากติดตามเทรนด์แฟชั่น และอาศัยคำแนะนำจากลูกค้ามาพัฒนาปรับปรุง ปัจจุบันสินค้ามีมากกว่า 50 แบบ ตั้งแต่กระเป๋าใบเล็ก กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าสะพาย ฯลฯ นอกจากนั้น เศษผ้าเหลือ นำมาเพิ่มค่าทำเป็นสินค้าเครื่องใช้และเครื่องประดับ เช่น พวงกุญแจ ที่ห้อยโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ราคามีตั้งแต่ 50 บาทถึงสูงสุดประมาณ 5,000 บาท
moment06
ในส่วนการผลิต เธอระบุว่า เป็นงานแฮนด์เมด 100% ใช้แรงงานแม่บ้านในท้องถิ่น จ.ลำพูน ประมาณ 10 คน ส่วนวัตถุดิบจะใช้ผ้าทอลำพูนเป็นหลัก เสริมด้วยผ้าชนิดอื่นๆ ในจังหวัดภาคเหนือ เฉลี่ยทำได้สูงสุด รวมกันหมดทั้งชิ้นใหญ่ และเล็ก ไม่เกิน 500 ชิ้นต่อเดือน
ขณะที่ช่องทางตลาด ขณะนี้มีหน้าร้านที่ถนนคนเดิน จ.เชียงใหม่ และตัวแทนรับมาขายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร นอกจากนั้น จากเดิมแค่ขายสินค้าอย่างเดียว ได้เพิ่มมูลค่าสินค้า ด้วยการสร้างแบรนด์ของตัวเอง ในชื่อ “monnet” ซึ่งล้อมาจากคำอุทานในภาษาเหนือว่า “มันเน็ด” ที่มีความหมายว่า ยอดเยี่ยมหรือแจ๋วจริงๆ
moment07
อีกช่องทางตลาด เกิดจากที่ได้เข้าโครงการ SMEs Flying Geese ของสำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี (สสว.) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เข้ามาพัฒนาศักยภาพแล้ว ยังได้รับสิทธิ์ออกบูทต่างๆ ในงานที่จัดโดย สสว. อีกด้วย
ทั้งนี้ ด้วยการออกแบบโดดเด่นผสมผสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยและสากลไว้อย่างลงตัว กระเป๋าผ้า “monnet” ยังได้รับรางวัล SMEs Best Practices สาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น ประเภทผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ประจำปี 2552 จาก สสว. มาครอง
moment08
อย่างไรก็ตาม ในด้านปัญหาธุรกิจ เนื่องจากวัตถุดิบเป็นผ้าทอจากมือ แต่ละผืนจะมีปริมาณไม่มาก อีกทั้ง รายละเอียดแตกต่างกันไป ไม่สามารถจะผลิตกระเป๋าลวดลายเหมือนเดิมได้ทุกใบ ดังนั้น ก่อนที่ลูกค้าจะสั่งออเดอร์ ต้องตกลงล่วงหน้าให้ยอมรับข้อจำกัดของงานแฮนด์เมด ซึ่งกระเป๋าทุกใบล้วนเป็นงานชิ้นเดียวในโลก
อีกปัญหา เกิดจากสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลง กระทบยอดขายลดลงตามไปด้วย แนวทางแก้ปัญหา พยายามเสริมตลาดโดยรับจ้างผลิตกระเป๋าเป็นสินค้าพรีเมียมให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึง เลือกจะออกงานแฟร์ที่ตรงลูกค้าเป้าหมายอย่างแท้จริง
อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

No comments:

Post a Comment