7/13/2018

พลูคาวลดการเกิดพิษ ในหนู (Rodent) ที่ป้อนด้วยน้ำมันทอดซ้ำ!!!



ภก. อุดม รินคำ กล่าวว่า ...ในวารสาร Pharmacognosy Review ฉบับเดือน มกราคม-มิถุนายน 2558 พูดถึงฤทธิ์ต้านสารพิษที่เขาใช้คำว่า Xenobiotic ว่า มีการพบว่าพลูคาวลดการเกิดพิษ ในหนู (Rodent) ที่ป้อนด้วยน้ำมันทอดซ้ำ โดยการเพิ่ม น้ำย่อยหรือเอ็นไซม์ในระบบการย่อยสลายสารพิษในขั้นตอนที่เรียกว่า Phase 1 และ 2 รวมทั้งเอ็นไซม์ที่รู้จักกันดีที่ตับใช้สลายสารพิษคือ CYP450
ในเอกสาร Science report ที่ตีพิมพ์ในอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารหมายเลข 127671 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี พ.ศ.2559  กล่าวถึง microsomal protein หรือโปรตีนที่อวัยวะของเซลล์ที่เรียกว่า ออแกนเนล ใช้ในการสังเคราะห์เอ็นไซม์ต่างๆที่เป็นเครื่องมือช่วยการสลายสารพิษของตับ ได้มากขึ้น หมายความว่า ตับก็จะสร้างเอ็นไซม์สลายพิษได้มากขึ้นนั่นเอง ในทางวิทยาศาสตร์ถือว่า จำนวน microsomal protein ของตับที่วัดได้เท่าไรนั้น ถือเป็นตัวชี้วัดวิกฤติในทางสรีระวิทยาของหนูทดลอง ในการทำลายสารพิษ เลยทีเดียว
สำหรับข้อมูลที่ปรากฎในวารสาร Biotechnology and Applied Biochemistry ฉบับเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2549  พูดถึงผลของข้อมูลของสาร Quercetin ต่อการเผาผลาญขจัดสารพิษที่เรียกว่า Xenobiotics ที่ตรวจการเซลล์มะเร็งลำไส้ส่วนปลายเพาะเลี้ยงระหัส CO115  โดยการตรวจสอบการจัดเรียงตัวของ DNA ว่า
บทบาทของสารฟลาโวนอยส์ชื่อ เควเซตินที่มีในอาหารที่กินประจำที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ในการป้องกันและรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ได้รับข้อมูลที่เป็นเชิงบวกมากๆ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในอดีต เรารู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสารนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ เราได้นำจีโนมทั้งหมดของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับสารเควเซติน มาตรวจสอบโดยดูลึกในระดับยีน ชื่อ SMAD4 ของเซลล์มะเร็งดังกล่าวถึง 18 จุด ผลการศึกษาพบว่า สารเควเซตินที่พบทั่วไปในผัก ผลไม้ ยับยั้งเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง CO115 ที่ความเข้มข้นเพียง 100 ไมโครโมล ทั้งระยะ G(1)/S และ G(2)/M  ในรูปแบบการทดลองของรอบการบ่งตัวและการทำลายตัวเองของเซลล์มะเร็งที่สัมพันธ์กับยีนข้างต้น พบว่ายีนของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ CO115 ที่ได้แบ่งตัวและตรวจสอบใน 24 และ 48 ชั่วโมงในการทดลองที่แยกเป้นอิสระต่อกัน  เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนถึง 5060 ถึง 7000 ตำแหน่ง นั่นหมายความว่าม่ความเป็นไปได้ที่สาร Quercetin จะควบคุมการแสดงออกของยีนในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย นอกเหนือจากยีนที่เปลี่ยนไปตามข้อมูลข้างต้นแล้ว นักวิจัยยังพบอีกว่า Quercetin ส่งผลทำให้ยีนชุดที่ 35 และ 23 ที่มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งระบบพันธุกรรม ที่เข้าไปมีบทบาทในการควบคุมรอบการแบ่งตัว(Cell-cycle control) การทำลายตัวเอง(Apoptosis หรือ Program cell death)และการทำลายสารพิษที่มาจากนอกร่างกาย (Xenobiotics) อย่างชัดเจนหลังจากเวลาผ่านไปมากกว่า 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงตามลำดับ ผลลัพธ์ต่างๆที่ได้จากทีมวิจัยเป็นการแสดงให้เห็นด้านใหม่ของเรื่อง บทบาทชีววิทยาของสารเควเซตินว่า มันเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งชะลอการแบ่งตัว ผ่านการทำงานของยีนที่ควบคุมการทำลายตัวเองได้ งานศึกษาชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นก้าวใหม่ ที่สามารถใช้อธิบายกลไกการออกฤทธิ์ฐานรากระดับโมเลกุล ของ Quercetin ในการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ได้อย่างไร ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้สารนี้ในการป้องการผลข้างเคียงของการทำหรือป้องกันผลจากการทำเคมีบำบัด ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้

ท่านผู้ฟังครับ เราจะเห็นว่า ในต่างประเทศเขาสนใจและได้ศึกษาเรื่องสาร Quercetin  มาเป็นเวลานานแล้ว จนถึงเวลานี้ร่วม 12 ปี ซึ่งอันที่จริง เวลานักวิจัยทีมนี้เริ่มศึกษาน่าจะนานหลายปี จึงจะได้รับข้อมูลที่มั่นใจจนออกตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้ นับเป็นโชคดีที่ผมเอง นักวิชาการตัวเล็กๆของประเทศไทย พอมีความสามารถอ่านภาษาวิชาการและข้อมูลจากฐานข้อมูลจากทั่วโลกได้ และอยู่ในฐานะที่นำเอาฐานข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาบอกผู้คนและมาประยุกต์ใช้งานได้หลายเรื่องแล้ว เรื่องนี้นับเป็นความโชคดีของประเทศไทย ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ในต่างประเทศที่แม้จะมีเครื่องมือทันสมัย ในการวิจัยเชิงลึก แต่งานหลายชิ้นที่มีข้อมูลดีๆกลับไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้จริง เนื่องจากขาดวัตถุดิบที่จะเอาไปสนองผลงาน แต่ประเทศไทยกลับโชคดีที่มีสมุนไพรที่ดีๆและมีมากมาย เราจึงนำผลวิจัยมาต่อยอดงานได้ ไม่ต้องเสียเวลามากในการเริ่มต้นนับศูนย์ใหม่ เช่นกันกับหากท่านผู้ฟัง ที่เมื่อได้รับฟังข้อมูลสมุนไพรที่ผมจะนำมาเล่าให้ท่านฟังจนจำได้ เราก็นำไปประยุกต์ใช้ได้ พึ่งตนเองได้ จากของที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่เราปลูกได้ในเมืองไทยอย่างเช่น พลูคาวที่นับเป็นตัวอย่างที่ดีดังกล่าว  ซึ่งในปัจจุบันต่างชาติที่เราเห็นว่าเจริญสูงสุด กลับสนใจปัจจัยสี่โดยเฉพาะด้านยา ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น เนื่องจากเห็นภัยจากสารเคมีสังเคราะห์ที่ผลิตจนล้นเกิน กลายเป็นขยะและสารพิษ เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม จนโลกของเราใกล้ขีดจำกัดที่จะรองรับได้ ขยะทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซพิษ คือสารพิษที่สามารถเข้าสู่ร่างกายเราและสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลในหนังสือ เรื่องของข้าวของ ที่พลอยแสง เอกญาติ แปลจาก หนังสือเรื่อง The Story of  Stuff เขียนโดย Annie Leonard เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่อ้างข้อมูลจาก สถาบัน Worldwatch Institute, State of the world 2004 (คือ พ.ศ. 2547) บอกว่า “ตอนนี้สารพิษจากอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมปรากฎในร่างกายมนุษย์ทุกคนที่ตรวจสอบได้ในทุกแห่งหนทั่วโลก รวมถึงทารกแรกเกิดด้วย”   สวัสดีครับ
1. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16640504
2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3931198/

----------------------------------------------------------------------

ราคาพิเศษ 290 บาท 60 เม็ด สั่งซื้อ!!!
KHAOLAOR อาหารเสริม พลูคาวสกัด ผสมเบต้ากลูแคนและวิตตามินซี สะเก็ดเงิน เพิ่มภูมิต้านมะเร็ง โดย ขาวละออ (60 เม็ด) 
เลขที่ อย.11-1-08831-1-0096
ใน 1 เม็ดประกอบด้วย
พลูคาวสกัดเข้มข้น 4 เท่า 300 mg.(เทียบเท่าพลูคาวแห้ง 1,200 mg.)
เบต้ากลูแคน จากยีสต์ 50 mg.
กรดแอล-แอสคอร์บิก(อนุพันธ์วิตตามินซี) 30 mg.
รับประทานครั้งล่ะ 1 เม็ด ก่อนอาหาร เช้าและเย็น
ขนาดบรรจุ 60 เม็ด/กล่อง

สรรพคุณ (ตามตำรายาไทย) ของสมุนไพรพลูคาว หรือ คาวตอง
              ตำรายาไทย ทั้งต้น รสเผ็ด มีกลิ่นคาวปลา เป็นยาเย็น แก้กามโรค เข้าข้อ แก้น้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลแห้ง ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ รักษาปอดอักเสบเป็นหนอง หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ไอ รักษาติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบบวมน้ำ ลำไส้อักเสบ เต้านมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ แก้บิด แก้ริดสีดวงทวาร ภายนอกใช้แก้พิษงู แมลงกัดต่อย แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ฝีอักเสบ ทาภายนอกให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังในบริเวณนั้นมาก ใบ รสเผ็ดคาว แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง ทำให้แผลแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนังทุกชนิด ดอก แก้โรคตา ราก แก้เลือด และขับลม ทั้งห้า (ต้น ใบ ดอก ผล ราก) นำมาปรุงหรือกินแก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคที่เกิดตามผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง
......................................................................................

เอกสารอ้างอิง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
จากหนังสือ ผักคาวตอง สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข\
จากหนังสือ THE ASEAN JOURNAL OF RADIOLOGY

No comments:

Post a Comment