7/23/2018

รถหายที่คอนโดฯ ! "นิติบุคคล-บริษัท รปภ." ต้องรับผิดชอบมั้ย?

 


http://law4thai.blogspot.com/2018/07/blog-post_22.html
รถหายที่คอนโดฯ ! "นิติบุคคล-บริษัท รปภ." ต้องรับผิดชอบมั้ย? ต่อเนื่องจากเรื่องเดิม 


ผมว่าอันนี้มีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆพี่ๆใน TOL ที่อาศัยอยู่ใน
คอนโด หรือ ทั้งหมู่บ้านจัดสรรนะครับ
ลองดูเพื่อไว้ป้องกันและเป็นอุทาหรณ์ครับผม 
จากคุณ JackWisc Think of Living.com
.................
เช้ามาคุณโผงขับรถออกจากคอนโดมิเนียม เย็นค่ำทำงานเสร็จขับกลับไป มี รปภ.ที่นิติบุคคลคอนโดมิเนียมจ้างไว้ช่วยโบก ช่วยบอกให้ถอย ให้ซ้ายให้ขวา แล้วจอดไว้ที่ที่จอดรถ ก่อนล็อกเรียบร้อยเดินขึ้นลิฟต์ไปพักผ่อน...

ศาลฎีกาพิพากษายืนคือยืนว่า ไม่ต้องมีใครจ่ายแก่บริษัทประกันสักคนและสักบาท

อีกหนึ่งปัญหาของสังคมปัจจุบันนั่นคือ ทรัพย์สินหาย โดยเฉพาะรถยนต์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีราคาค่อนข้างจะสูง และควรได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดจากเจ้าของ แต่…เมื่อสิ่งนั่นคือสิ่งมีค่าและเป็นที่ต้องการของตลาดจึงเกิดการโจรกรรม ขึ้นคำถามในวันนี้คือ เมื่อรถหายที่คอนโดฯ ใครต้องรับผิดชอบ?
จะว่าไปคอนโดฯ เป็นสถานที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่น ทั้งกล้องวงจรปิด พนักงานรักษาความปลอดภัยในการเข้าออกต้องแลกบัตร ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้มีรถยนต์ที่อาศัยในคอนโดฯ อุ่นใจขึ้นมามากพอสมควร แต่เมื่อเกิดรถหาย ใครละจะรับผิดชอบเรื่องนี้ วันนี้เราพอจะมีคำตอบของคำถามให้หายสงสัย
💥 กรณีที่1 หากทางนิติบุคคล ไม่ได้จัดการให้ต้องมีการแลกบัตรหรือแจกสติ๊กเกอร์หน้ารถ  หรือแม้กระทั่งการมอบกุญแจไว้กับ พนักงานรักษาความปลอดภัย  กรณีดังกล่าว  ทางนิติบุคคล ไม่ต้องรับผิดชดใช้ 
ทั้งนี้  ศาลเคยมีคำพิพากษาฎีกา ที่ 3088/2557 โดยเหตุผลในคำพิพากษา  มีดังนี้
“นิติบุคคลอาคารชุดไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะดูแลรักษาทรัพย์สินของบุคคลผู้พักอาศัยในอาคารชุดแต่อย่างใด
การจอดรถ ไม่ต้องมอบกุญแจ  ไม่ต้องแลกบัตร  รวมทั้งไม่มีสติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ
ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า นิติบุคคลอาคารชุด จ้างบริษัท รปภ. มาดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลผู้พักอาศัยในอาคารชุด ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรับฝากรถยนต์ไว้โดยมีบำเหน็จ
เมื่อนิติบุคคล บริษัท รปภ. และ รปภ. เองไม่มีหน้าที่ในการดูแลรักษารถยนต์ ที่ประกันไว้กับบริษัท การที่รถยนต์ดังกล่าวสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรม จึงมิใช่เป็นความรับผิดของนิติบุคคล บริษัท รปภ.และ รปภ.”


(เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2557) 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
มาตรา 659 ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง 

ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย

ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น
Cr: matichonOnline


กรณีที่ 2 หากนิติบุคคล กำหนดไว้เป็นระเบียบของคอนโดมิเนียมว่าต้องมีบัตรผ่านเข้าออก หาก ไม่มีก็ต้องแลกบัตร หรือแจ้งชื่อ ที่อยู่ ไว้  กรณีนี้ หากรถหายไป ทางนิติบุคคล จะต้องรับผิดชอบ  (รับผิดชอบร่วมกับบริษัทรักษาความปลอดภัย)
ทั้งนี้ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5259/2551 ดังนี้
“รถยนต์ของโจทก์ ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุดติดหน้ากระจกรถยนต์ ตามระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุด  พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องดำเนินการแลกบัตร หรือให้แจ้งชื่อที่อยู่ ของผู้ขับรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออกอาคารชุด คืนเกิดเหตุ พนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณป้อมยามของทางเข้าออกอาคารชุด  เห็นแล้วว่า รถยนต์ของโจทก์ไม่มีบัตรติดรถยนต์ผ่านเข้าออกอาคารชุด มิให้เรียกให้หยุดรถเพื่อแลกบัตร หรือให้ผู้ขับรถยนต์แจ้งชื่อ ที่อยู่ตามระเบียบ  กลับปล่อยให้รถยนต์ของโจทก์แล่นผ่านออกไป อันเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยบกพร่องของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นการประมาทเลินเล่อ กระทำละเมิดต่อโจทก์  ดังนั้น นายจ้างของพนักงานรักษาความปลอดภัย จึงต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย”


ที่มา :: รายการฎีกาชาวบ้าน – MatichonTVขอบคุณภาพจาก : http://car250.com


เรื่องนี้ขอให้ระวังในการนำเอาคำพิพากษาไปใช้นะครับ เพราะว่า แต่ละคดี จะมีข้อเท็จจริงปลีกย่อยที่ต่างกันไป ซึ่งในข้อแตกต่างเหล่านั้น เป็นประเด็นสำคัญของคดีในการที่ศาลนำไปพิจารณา
ในกรณีที่ยกมาข้างต้นนี้  ข้อเท็จจริงหลักคือ  การจอดรถไม่ต้องมอบกุญแจ ไม่ต้องแลกบัตร รวมทั้งไม่มีสติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ 
ศาลนำข้อเท็จจริงนี้มาประกอบคำวินิจฉัยว่า
1. นิติบุคคลอาคารชุดไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดูแลรักษาทรัพย์สินของบุคคลผู้พักอาศัยในอาคารชุดแต่อย่างใด 
2. นิติบุคคลอาคารชุดจ้างบริษัท รปภ.มาดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลผู้พักอาศัยในอาคารชุด ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรับฝากรถยนต์ไว้โดยมีบำเหน็จ 
ดังนั้น เมื่อนิติบุคคล บริษัท รปภ. และ รปภ.เองไม่มีหน้าที่ดูแลรักษารถยนต์ที่ประกันไว้กับบริษัท การที่รถยนต์ดังกล่าวสูญหายไปเพราะถูกโจรกรรม จึงมิใช่เป็นความรับผิดของนิติบุคคล บริษัท รปภ.และ รปภ. 

ทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย บริษัทจึงไม่มีอำนาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกให้รับผิดได้ 
เมื่อดูเหตุผลประกอบแล้ว ประเด็นหลักอยู่ที่ ไม่ได้มีการจัดระบบจอดรถเป็นเรื่องเป็นราว ไม่มีแลกบัตร ไม่มีสติกเกอร์จอดรถ  หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปเป็นว่า  มีการจัดระบบจอดรถเป็นเรื่องเป็นราวในระเบียบข้อบังคับนิติบุคคล จัดให้มีการรับบัตร  แตะบัตร  มีสติกเกอร์ ฯลฯ    ผมมั่นใจว่า คำวินิจฉัยคงจะไปในอีกทางนึงครับ 
และขอให้ระวังในการนำไปใช้นะครับ  กรณีรถหายในลานจอดรถนี่ ศาลฏีกามีแนวไว้หลากหลายมาก 
คำพิพากษาฎีกาที่ 7471/2556
"...ห้างฯ ต้องให้ความสำคัญ กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ความปลอดภัย ความสะดวกสะบาย
กับทั้ง พรบ.ควบคุมอาคาร ก็ยังบังคับให้ห้างฯต้องมีพื่นที่จอดรถ ภายในอาคารเพื่อความสดวกแก่การจราจรทั้งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าต่อชีวิต และทรัพย์สิน และมีหน้าที่ต้องดูแลตามสมควร มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าต้องระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง

อีกทั้งก่อนนั้น มีการแจกบัตรเข้าออก เพื่อตรวจตราและความเข้มงวดแต่ห้างฯกับยกเลิกการรับบัตรอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงซึ่งห้างรู้ดี ดังนั้นห้างฯ จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินใหมทดแทนต่อลูกค้า

ถ้าเทียบสองฎีกานี้แล้ว จะเห็นได้ว่า มีความสับสนมาก  เพราะข้อเท็จจริงคล้ายกัน  หากจะพิจารณาว่า ห้างกับนิติบุคคล ใครมีหน้าที่ต้องลูกค้า/ลูกบ้าน เข้มข้นกว่ากัน  ผมมองว่าเป็นตัวนิติบุคคลนะครับที่ต้องมีภาระหน้าที่นี้ยิ่งกว่าตัวห้างซะอีก

No comments:

Post a Comment