7/07/2018

พระเครื่องในความใฝ่ฝันของทุก ๆ คน ที่อยากจะเป็นเจ้าของ!!!





พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์

โดย  ช้าง วัดห้วย

                พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เป็นพระเครื่องในความใฝ่ฝันของทุก ๆ คน ที่อยากจะเป็นเจ้าของ แต่คนที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเศรษฐีมีเงินเท่านั้น ส่วนพวกเซียนก็มีไว้ให้เศรษฐีเช่าต่อไปอีกทอดหนึ่ง ส่วนคนธรรมดาหมดสิทธิ์เป็นเจ้าของ เพราะพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์สวย ๆ องค์จะหลายสิบล้าน นอกเสียจากเป็นมรดกตกทอดกันมา สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ถ้าอยู่ในเกณฑ์สวย ก็ยังพอหาได้  แต่ถ้าสวยระดับแชมป์นี่ซิหายากมาก บางคนรอจนเจ้าของพระเดิมตายไป ถึงจะได้เปลี่ยนมือ และต้องสู้ราคาถึงจะได้เป็นเจ้าของและถ้าเป็นพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่สวยระดับแชมป์ 4 องค์ 4 แม่พิมพ์ และเป็นเจ้าของเดียวกัน จะหายากขนาดไหน
                ประวัติความเป็นมาของพระสมเด็จ วัดระฆังพิมพ์ใหญ่ 4 องค์ 4 แม่พิมพ์ เดิมเป็นของ อ.เต็ก นครปฐม เป็นพระที่ อ.เต็ก หวงมาก ๆ ไม่เคยให้ใครได้เห็นเลย ผู้เขียนซึ่งเป็นหลานชาย เฝ้าขอแบ่งกว่าจะได้ 1 องค์ ใช้เวลาหลายปี รวมเวลาเกือบ 20 ปี จึงจะได้ครบทั้ง 4 แม่พิมพ์ อ.เต็ก บอกว่า พระ 4 องค์นี้ ที่ทยอยแบ่งให้ เป็นสุดยอดของแต่ละแม่พิมพ์ เก็บไว้ให้ดี เพราะต่อไป พระสวยระดับนี้จะหาไม่ได้อีกแล้ว ส่วนราคาก็จะแพงกว่าหลายเท่าตัว และเมื่อเราแก่ตัวลงก็จะมีคนที่เหมาะสม จะมาดูแลต่อจากเราไป เรียกว่าสมบัติพลัดกันชม เป็นวัฏจักรแบบนี้เรื่อยไป ส่วนวันนี้เราจะมาอธิบายหลักการพิจารณาสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์ ให้จบภายในคราวเดียวกันเลย ส่วนพิมพ์ด้านหลังทั้ง 4 พิมพ์, เนื้อพระ, มวลสาร  ต่าง ๆ ที่ควรรู้ จะรวบรวมไว้เขียนแยกต่างหากอีกครั้งแบบละเอียดภายหลัง

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
“องค์สรรเสริญ”
พิมพ์ที่ 1 มีเส้นแซมใต้ตัก
            

             ถ้าพูดถึงสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 จะนึกถึงทันทีว่ามีเส้นแซมใต้ตัก มีเส้นสังฆาฏิเส้นเล็ก 1 เส้น และเท่าที่พบเจอ ก็จะเห็นแม่พิมพ์นี้แม่พิมพ์เดียวเท่านั้น ที่มีหมุนเวียนในวงการพระ ส่วนถ้าถามถึงพิมพ์ใหญ่พิมพ์อื่นมีเส้นแซมมั้ย ตอบว่ามี คือพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 2 แต่เส้นแซมจะติดจาง ๆ ไม่ชัดเจน และจะแนบใต้เข่า ผู้เขียนตั้งใจจะแยกพิมพ์ครบทีเดียว 4 พิมพ์เลย มาตั้งนานแล้ว เพียงแค่รอพิมพ์ที่ 1 พิมพ์เดียวเท่านั้น ซึ่งในเว๊บ ช้าง–วัดห้วย ก็มีพิมพ์ที่ 1 ตั้ง 3 องค์ คือ องค์ที่ 1, 2, 8 แต่ยังไม่ถูกใจเท่าที่ควร คือ ผู้เขียนต้องการพระที่มีผิวสะอาดไม่มีอะไรมาบดบัง เช่น ผิวแป้ง หรือพระลงรัก พอมาได้ “องค์สรรเสริญ” สิ่งที่รอคอยก็มาถึงแล้ว องค์นี้ ถูกใจ...ใช่เลย ตรงตามแบบที่ต้องการ คือเป็นพระสวย พิมพ์กดได้ลึก ติด ชัดเจนทุกจุด ตัดข้างได้ตรงไม่โย้เอียง พื้นผิวสะอาดแบบธรรมชาติ โดยไม่ได้ล้างขัดถู เพื่อผู้อ่านจะได้เห็นเนื้อและพิมพ์อย่างชัดเจน เมื่อเวลาขยายภาพใหญ่ ส่วนบทความเรื่องสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ผู้เขียนเคยลงในเว๊บ ช้าง–วัดห้วยไปแล้ว 1 ครั้ง ตอนนั้นจะเขียนรวม ๆ แต่คราวนี้จะเขียนแยกเป็น 4 พิมพ์ 4 เรื่อง แล้วมารวมกันคราวนี้จะเขียนและชี้ตำหนิอย่างละเอียดโดยไม่มีกั๊กเอาไว้เลย

หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1
                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ และไม่เกินข้อศอกซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว
                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี
                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ
                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 เกศจะสั้นกว่าทุกพิมพ์ของพิมพ์ใหญ่
                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 ใบหน้าจะออกเหลี่ยมไม่เป็นทรงรี
                6.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ
                7.    ให้สังเกตพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 1 ถ้ากดพิมพ์ได้ลึกจะเห็นเส้นสังฆาฏิขนาดเล็กเรียวบาง
                8.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 1 จะค่อนข้างทิ้งตรง ๆ ลงมาทั้งสองข้าง
                9.    ช่วงระหว่างระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 1 จะดูสั้นกว่าพิมพ์อื่น ๆ
                10.  ที่หัวไหล่ซ้ายพระ เฉพาะแม่พิมพ์ที่ 1 จะมีจุดเว้า 2 จุดตามลูกศรชี้
                11.  หัวเข่าด้านซ้ายพระจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายพระเสมอ
                12.  หัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ
                13.  ร่องระหว่างปลายฐานชั้นบน ด้านขวามือพระกับปลายหัวเข่าด้านขวามือพระจะแคบ ส่วนปลายหัวเข่าและปลายฐานชั้นบน ด้านซ้ายมือพระจะกว้างกว่า
                14.  เส้นแซมใต้ตักให้สังเกตให้ดี จะเป็นเส้นนูน เส้นนี้จะเริ่มลากมาจากใต้เข่าขวาพระโดยจะมีช่องห่างจากเข่าเล็กน้อย เส้นนี้จะลากโค้งขึ้นไปเกือบติดใต้เข่าแล้วค่อยโค้งม้วนลงไปซุกใต้เข่าซ้ายพระ เส้นแซมนี้จะเป็นเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ที่ 1
                15.  ส่วนบนสุดของฐานชั้นบนตามลูกศรชี้ จะมีเส้นนูนเส้นเล็ก ๆ 1 เส้น ลากยาวเกือบสุดฐานน่าจะเป็นร่องรอยของเครื่องมือแกะแม่พิมพ์
                16.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น
                17.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นรอบตัวองค์พระ


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
“องค์ปาฏิหาริย์”
พิมพ์ที่ 2 พิมพ์อกตัววี
      


                สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 พิมพ์อกตัววี จะเป็นพระสมเด็จที่มีค่อนข้างมาก และมีหมุนเวียนในวงการพระมากพอสมควร หลักการสังเกตให้ดูที่อกจะเป็นรูปทรงตัววี มีทั้งอกวีแคบ และอกวีกว้าง ให้ตีรวมเรียกว่า พิมพ์อกตัววีทั้งสิ้น จริง ๆ แล้ว แม่พิมพ์ที่ 2 จะมีแม่พิมพ์หลายตัว แต่ละพิมพ์จะ  คล้าย ๆ กันจะต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น
                สำหรับ “องค์ปาฏิหาริย์” องค์นี้เป็นพระสวยระดับแชมป์ พิมพ์ทรงลึกชัดเจนทุกจุด ส่วนพื้นผิวยังมีคราบแป้งอยู่ตามส่วนลึกขององค์พระ สาเหตุที่เกิดคราบแป้งก็เนื่องจากตอนกดพิมพ์ เนื้อพระที่นำมากดพิมพ์จะเป็นเนื้อค่อนข้างเหลว พอกดพิมพ์แล้ว นำไม้มากดหลังให้แน่น น้ำปูนก็จะไหลลงไปสู่ด้านล่าง ก็คือด้านหน้าขององค์พระ สรุปแล้วคราบแป้งก็คือคราบน้ำปูนนั่นเอง ส่วนมวลสารต่าง ๆ เช่น เม็ดพระธาตุ เม็ดมวลสารต่าง ๆ ก็มีกระจายอยู่ทั่วพื้นผิว สำหรับส่วนสูงของเส้นซุ้มครอบแก้ว, ตัวองค์พระ และฐานพระจะถูกสัมผัสบ้างบางส่วน ทำให้พื้นผิวดังกล่าวสีจะเข้มขึ้นจัดขึ้น และจะตัดกับพื้นผิวทั่วไปที่เป็นคราบแป้ง     ที่เป็นสีขาว จึงทำให้ตัวองค์พระ, ฐาน, เส้นซุ้ม จะดูโดดเด่นขึ้น และพระจะดูลึกขึ้น คือสวยขึ้น สง่าขึ้นแบบธรรมชาติ แบบที่ไม่ได้เสริมแต่ง ส่วนด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ ด้านล่างจะมีรอยคลองเลื่อยของไม้กระดานที่มากดพิมพ์ ลักษณะเป็นบั้ง ๆ เป็นเส้นตามขวาง 6-7 เส้น ส่วนเม็ดพระธาตุ, เม็ดมวลสาร ก็มีกระจายอยู่ทั่วไป

 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์
หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3
                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและจะแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว
                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี
                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ
                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 เกศจะค่อนข้างยาวกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะเอียงไปทางซ้ายมือพระเล็กน้อย
                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 ใบหน้าจะเป็นรูปไข่
                6.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ
                7.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 3 จะกว้างกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะโย้ไปทางขวามือพระ
                8.    ช่วงลำตัวตั้งแต่อกไปถึงเอวจะเป็นรูปทรงกระบอกให้ดูอกและเส้นข้างลำตัวจะทิ้งลงมาเป็นเส้นตรง ๆ ลงมาเลยทั้งสองข้าง และอกทรงกระบอกจะเป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ 3
                9.    ช่วงระหว่างระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 3 จะดูยาวกว่าแม่พิมพ์ที่ 1
                10.  หัวเข่าด้านซ้ายพระจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายพระเสมอ
                11.  หัวเข่าด้านขวามือพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ
                12.  ร่องระหว่างฐานชั้นบนกับหน้าตักพระ ทางขวามือพระร่องจะตื้นแล้วค่อย ๆ ลึกลาดลงไปทางซ้ายมือพระ
                13.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น
                14.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นที่รอบตัวองค์พระ
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
“องค์ทองพันชั่ง”
พิมพ์ที่ 3 พิมพ์อกกระบอก


สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 3 พิมพ์อกกระบอก จะเป็นแม่พิมพ์ที่หายากมากกว่าทั้ง 4 พิมพ์ เป็นพระพิมพ์ใหญ่ที่มีน้อยไม่ค่อยเจอ และจะหายากกว่าพิมพ์ที่ 1 เสียอีก หลักการดูง่าย ๆ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า พิมพ์อกกระบอก ก็ให้ดูที่อก และข้างลำตัว เส้นข้างลำตัวจะทิ้งลงมาเป็นเส้นตรง ๆ เลยทั้งสองข้าง ส่วนหลักการดูจุดอื่น ๆ ก็คล้าย ๆ กับพิมพ์ที่ 2 ไม่ต่างกันเท่าไร
                สำหรับ “องค์ทองพันชั่ง” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่มีการลงรักปิดทองมาแต่เดิม จากข้อมูลตามโบราณกล่าวไว้ว่า พระลงรักปิดทองส่วนใหญ่จะเป็นพระคะแนนนับ เช่น กดพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ได้ 100 องค์ จะปิดทองไว้ 1 องค์ เวลาเราจะนับพระที่กดพิมพ์เสร็จแล้ว ก็มานับพระที่ปิดทองแทน คือ 1 องค์ = 100 องค์ ไม่ต้องมานั่งนับทีละองค์จะเสียเวลา และเป็นที่น่าสังเกต พระคะแนนนับ    ที่ปิดทองทุกองค์จะคัดเอาแต่พระสวย ๆ มาปิดทองเป็นแบบนี้ทุกองค์ ดั่งเช่น “องค์ทองพันชั่ง” เป็น       พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ที่ปิดทองมาแต่ดั้งเดิม และปิดทองเต็มทั่วพื้นผิวด้านหน้า มีแค่บางส่วนที่หลุดร่อนออกเฉพาะส่วนที่ถูกสัมผัส ก็คือด้านบน เช่น ตัวองค์พระ, ฐาน, และเส้นซุ้ม นอกนั้นทองเต็มสมบูรณ์ 100% พูดถึงพระปิดทองเก่า ลักษณะทองเก่าต้องแห้งไม่มันเงา เนื้อทองจะเป็นสีเหลืองออกแดงและจะ  หม่น ๆ สภาพด้านหน้า จะเป็นพระสวยมาก ลึกมาก พิมพ์สมบูรณ์ทุกจุด ตัดข้างได้ฉาก ไม่โย้เอียง ถ้าผู้เขียนจะบอกว่า “องค์ทองพันชั่ง” สวยที่สุด ในพระประเภทปิดทองเก่าที่มีอยู่ทั้งหมดก็ไม่เกินเลยจริง ๆ ส่วนด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ มีรอยปริแตกด้านข้างเล็กน้อย มีเม็ดพระธาตุบ้างแบบประปราย
 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
“องค์สมประสงค์”
พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม
        


                สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นพระสมเด็จที่มีค่อนข้างมาก แบ่งออกเป็นหลายแม่พิมพ์ แต่แม่พิมพ์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิมพ์เกศทะลุซุ้ม อกวี เอวผายออก และพิมพ์เกศทะลุซุ้ม อกวี ส่วนแม่พิมพ์อื่น ๆ ก็จะคล้าย ๆ กัน เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพิมพ์ที่ 4 ก็คือ จะตัดปีกกว้าง หรือจะเรียกว่ามีกรอบกระจกก็ได้ ถ้าถามว่า พิมพ์ 4 แบบตัดชิด มีมั้ย ตอบว่ามี แต่จะมีน้อย มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยคุยกับ อ.เต็ก นครปฐม อ.เต็ก กล่าวว่า ในบรรดา 4 พิมพ์ใหญ่ อ.เต็ก จะชอบพิมพ์ 4 มากที่สุด ผู้เขียนก็ไม่ได้ถามเพราะเหตุใด แต่ถ้าถามว่าผู้เขียนชอบพิมพ์ไหนมากที่สุด คำตอบก็คือ พิมพ์ 1 มีเส้นแซมใต้ตัก เพราะพิมพ์ 1 มีเอกลักษณ์ต่าง ๆ ของพิมพ์ที่ 1 ให้เห็นได้ชัดเจน พิสูจน์ให้เห็นได้ แต่จริง ๆ แล้ว พิมพ์ไหนก็ได้ ขอให้เป็นพระสวยระดับแชมป์ก็แล้วกัน ผู้เขียนชอบหมด
                สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 พิมพ์เกศทะลุซุ้ม “องค์สมประสงค์” เป็นพระ        ที่ได้มากว่า 10 ปีแล้ว เป็นพิมพ์ใหญ่ที่สวยงามระดับแชมป์ สภาพพิมพ์ด้านหน้าเป็นพระที่กดพิมพ์ได้ลึกมาก โดยเฉพาะซอกแขนจะเห็นได้อย่างชัดเจน ฟอร์มพระองค์นี้งามสง่าทั่วทั้งองค์ การตัดปีกกว้างพอควรไม่กว้างเทอะทะ และได้ฉากดี สภาพพื้นผิวมีคราบความเก่า คราบฝุ่นปกคลุมบาง ๆ เนื้อในเป็นเนื้อขาวอมเหลือง มีเม็ดมวลสารบ้างเล็กน้อย มีรอยหดตัว, ปริแตก ตามตีนเส้นซุ้มตลอดทั้งเส้น ด้านหลังเป็นแบบหลังเรียบ มีรอยปริ รอยปูไต่ ตามขอบบ้างเล็กน้อย สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 “องค์สมประสงค์” ถือว่าเป็นพระสวยสมบูรณ์มาก ทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
 หลักการพิจารณาตำหนิพิมพ์
หลักการพิจารณา พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4
                1.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือพระ จะเป็นเส้นนูน ลากยาวลงมาถึงบริเวณกึ่งกลางแขนซ้ายพระ และไม่เกินข้อศอกซ้ายพระ แล้วจะชิดซุ้มและจะแนบกลืนหายไปในซุ้มครอบแก้ว
                2.    เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือขององค์พระจะลากยาวลงมาถึงด้านล่าง และจะชิดเส้นซุ้มตรงมุมล่างพอดี
                3.    ส่วนโค้งของซุ้มครอบแก้ว ด้านซ้ายมือพระตามลูกศรชี้จะล้มไปทางขวามือพระเสมอ
                4.    เกศพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 เกศจะยาวกว่าพิมพ์ที่ 1 และจะทะลุซุ้มครอบแก้วเล็กน้อย จุดนี้คือเอกลักษณ์ของพิมพ์ที่ 4
                5.    ใบหน้าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 4 ใบหน้าจะเป็นรูปไข่เรียวได้สัดส่วน
                6.    กรณีกดพิมพ์ได้ลึก แม่พิมพ์ที่ 4 จะเห็นหูพระแบบรำไรทั้งสองข้าง
                7.    รักแร้ซ้ายพระจะโค้งสูงกว่าข้างขวาพระ และเนื้อที่ระหว่างรักแร้กับหัวไหล่ ข้างซ้ายพระจะมีเนื้อที่บางกว่าด้านขวามือพระ
                8.    การวางแขนของพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 4 แขนทั้งสองข้างจะทิ้งลงมาตรง ๆ แบบแม่พิมพ์ที่ 1 แต่จะกว้างและยาวกว่าพิมพ์ที่ 1
                9.    ช่วงลำตัวตั้งแต่อกไปถึงเอว อกจะเป็นรูปตัววีลงไปถึงเอวแล้วจะผายออกทั้ง 2 ข้าง
                10.  ช่วงระดับไหปลาร้าจนถึงมือประสาน แม่พิมพ์ที่ 4 จะดูยาวกว่าแม่พิมพ์ที่ 1
                11.  หัวเข่าด้านซ้ายจะยกสูงกว่าหัวฐานชั้นบนด้านซ้ายมือพระเสมอ
                12.  หัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือเสมอหัวฐานชั้นบนด้านขวามือพระ
                13.  ร่องระหว่างฐานชั้นบนกับหน้าตักพระ ทางขวามือพระร่องจะตื้น แล้วค่อย ๆ ลึกลาดลงไปทางซ้ายมือพระ
                14.  พื้นที่ในซุ้มครอบแก้วจะต่ำกว่าพื้นที่นอกซุ้มครอบแก้วเล็กน้อยต้องส่องกล้องแบบตะแคงข้างส่องจึงจะมองเห็น
                15.  ร่องระหว่างฐานชั้นกลางกับฐานชั้นบน พื้นที่ภายในร่องจะสูงเสมอกับพื้นรอบตัวองค์พระ
                16.  พิมพ์ที่ 4 ส่วนใหญ่จะตัดปีกกว้าง หรือจะเรียกว่ามีกรอบกระจก

http://rich-monk.blogspot.com/2018/07/facebook.html

-------------------------------------------------------------------------

กล้องส่องพระไฟวงแหวน 30X LED LOUPE Triplet 30X เลนส์ 3 ชั้น มีไฟ LED และ UV สำหรับใช้เป็น กล้องส่องพระเครื่อง พระสมเด็จ เพชร ธนบัตร แถมฟรี ถ่านกระดุม LR927 195/1.5V จำนวน 2 แผง และผ้าเช็ดเลนส์ไมโครไฟเบอร์....ราคาพิเศษ 1,000 บาท จากราคาเดิม 2,100 บาท สั่งซื้อ!!!

  • กล้องส่องพระไฟวงแหวน เลนส์ 3 ชั้น สว่างใส คมชัด
  • กล้องส่องพระ 30x หน้ากว้างเลนส์ 21 mm.
  • ระบบ Dual Lights ไฟวงแหวน LED และ UV
  • ไฟ LED ส่องเจาะถึงเนื้อใน ชัดเจน
  • ไฟ UV สำหรับตรวจสอบธนบัตร
  • พร้อมซองหนังแท้อย่างดี
  • แถมฟรีถ่านกระดุม LR927 2 แผง ( 20 เม็ด)
  • จัดส่งด่วนฟรีโดย KERRY
ราคาพิเศษ 1,000 บาท จากราคาเดิม 2,100 บาท
สั่งซื้อ!!!

กล้องส่องพระไฟวงแหวน 30X LED LOUPE Triplet 30X

กล้องส่องพระไฟวงแหวน 30X LED LOUPE Triplet 30X เป็นกล้องส่องพระกำลังขยายสูง ใช้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดมวลสารได้เป็นอย่างดีเหมาะสำหรับตรวจสอบพระผง และพระสมเด็จ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการตรวจสอบอย่างละเอียด
1. ประกอบด้วยไฟLED 6ดวงและ ไฟUV 6ดวงวงแหวนรอบตัว(12ดวง )
2. เป็นกล้องส่องพระไฟวงแหวน ที่เต็มประสิทธิภาพการส่องเนื้อพระ พระสมเด็จ เหมาะสำหรับพระผง คมชัด สว่างใส
3. เลนส์คุณภาพสูงส่องได้ละเอียดสุดเลนส์แก้วใส3ชั้น (Triplets)
4. ระยะโฟกัส 1/8 นิ้ว
5. ขนาดเลนส์กล้องส่องพระไฟวงแหวน กว้าง21 mm. กำลังขยาย 30x ( เนื้อเลนส์ขยาย 30เท่า )
6. โครงสร้างคุณภาพสูง แข็งแรง ทนทาน
7. กล้องส่องพระไฟวงแหวน UV ใช้สำหรับตรวจสอบธนบัตรได้ สามารถใช้ตรวจสอบธนบัตรปลอมได้
8. กระแสไฟ 3 mA. ใช้งานถ่านกระดุมครั้งละ 3 เม็ด แถมฟรีทันที 20 เม็ด ( 2 แผง )
9. แถมซองหนังอย่างดีสำหรับจัดเก็บและผ้าเช็ดเลนส์

No comments:

Post a Comment