1/02/2015

ธุรกิจนำเที่ยว วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ

ธุรกิจนำเที่ยว

ลักษณะธุรกิจ
                การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร ทัศนาจร หรือมัคคุเทศก์ ให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมุ่งหมายถึง "การนำเที่ยว" เป็นสำคัญ โดยจะเป็นการนำเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ
การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
ประเภทบุคคลธรรมดา
มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน
ผู้ประกอบธุรกิจบริการนำเที่ยวประเภทบุคคลธรรมดา ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
                                ประเภทนิติบุคคล  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 
                                ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน
กรุงเทพฯ  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 - 7  และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง  สำนักทะเบียนธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์
ต่างจังหวัด  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด  ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ค่าธรรมเนียม
                                                จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
                                -  ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน                                                       1,000                     บาท
-  ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน  ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก  คนละ 200  บาท
                                                จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
-  จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ                                                  500 - 25,000     บาท
-  จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด                                                       5,000 - 250,000              บาท


ภาษีเงินได้
 บุคคลธรรมดา
                                ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
·       ต้องยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี   เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและครึ่งปี (...90 และ 94)
·       หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.. 30
 นิติบุคคล
                                ต้องยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อ สรรพากรพื้นที่ ที่ตั้งของสถานประกอบการ
·       ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ประจำปี และ ครึ่งปี (...50 และ 51)
·       หากมีรายได้เกิน 1,200,000 ต่อปี ต้องยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.. 30

ภาษีป้าย
                                ผู้ประกอบธุรกิจที่ติดตั้งป้ายใหม่ หรือแสดงป้ายใหม่ จะต้องชำระภาษีป้ายต่อเจ้าพนักงาน ภายใน 15 วัน และจะต้องยื่นชำระภาษีป้ายทุกปีที่ยังติดตั้งป้าย
สถานที่ขออนุญาต             
กรุงเทพฯ    ยื่นขอ ณ สำนักงานเขต ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ   สำนักงานเทศบาล หรือสุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล  ซึ่งดูแลพื้นที่ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่                     
                                นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ

กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจ
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 
สถานที่ขออนุญาต              
กรุงเทพฯ   และจังหวัดภาคกลาง ยื่นขอ ณ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์  กทม.    
จังหวัด อื่น ยื่นขอ ณ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ประจำภูมิภาค
ภาคเหนือ  ตั้งอยู่ที่  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก    ตั้งอยู่ที่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก     ตั้งอยู่ที่  อำเภอเมือง  จังหวัดภูเก็ต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ค่าธรรมเนียม       ตั้งแต่ 100 -500   บาท  ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดนำเที่ยว
ค่าหลักประกัน    ตั้งแต่ 10,000 - 500,000  บาท/2 ปี  ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดนำเที่ยว
                             นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้าน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ

รายละเอียดการลงทุน
                ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น
                จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกเป็น
·       ค่าตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน คิดเป็นร้อยละ 48
·       เงินทุนหมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 52 ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเป็นค่าเช่าสถานที่ ค่ามัคคุเทศก์
เงินเดือนพนักงาน  ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์   เป็นต้น
             
                 อัตราผลตอบแทนทางการเงิน
                อัตราผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจนำเที่ยวขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของธุรกิจภาวะการแข่งขัน และความสามารถในการบริหารธุรกิจ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า  ผลตอบแทนที่ได้รับจากรายได้ทั้งปี ประมาณ ร้อยละ 9   ส่วนผลตอบแทนที่ได้จากเงินลงทุนทั้งหมด  ประมาณร้อยละ 13 ต่อปี   โดยจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืน ภายในระยะเวลาประมาณ 4  ปี
               
การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม
                        ปัจจัยการตั้งราคา
                       ประกอบด้วย
·       ต้นทุน
·       ลักษณะของกลุ่มลูกค้า สนใจด้านคุณภาพ หรือ ราคา
·       ช่วงเวลาการให้บริการ  ในหรือนอกฤดูการท่องเที่ยว
·       ปริมาณของการซื้อบริการในแต่ละครั้ง
·       ค่าบริการของการผู้ประกอบกิจการรายอื่นระดับเดียวกันในท้องตลาด
                       โครงสร้างราคา
      คำนวณโดย ต้นทุนผันแปร บวก ต้นทุนคงที่จัดสรร  บวก กำไรที่ต้องการ
                       ต้นทุนผันแปร ประกอบด้วย ค่าเช่ายานพาหนะ ค่าโรงแรม/ที่พักแรม ค่าน้ำมันรถ และค่ามัคคุเทศก์ เป็นต้น
      ต้นทุนคงที่จัดสรร ประกอบด้วย  ค่าเช่าสถานที่  ทำการ  เงินเดือนพนักงาน ค่าบริการสาธารณูปโภค ค่าเสื่อม ราคาสิ่งปลูกสร้างและ เครื่องมืออุปกรณ์
                               

การบริหาร/การจัดการ
                       โครงสร้างองค์กร
                       ประกอบด้วยงานหลักดังนี้
1.    ด้านการบริหาร รับผิดชอบด้านบัญชี การเงิน จัดซื้อ บุคคล การตลาด ธุรการ และบริหารงานทั่วไปด้านการให้บริการ
2.    ด้านบริการลูกค้า รับผิดชอบด้านการจัดนำเที่ยว จำหน่ายโปรแกรมการท่องเที่ยว รับจองตั๋วโรงแรม     เครื่องบิน รถไฟ  และบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องการการท่องเที่ยว
                พนักงานและการอบรมพนักงาน
                พนักงาน
·       ธุรกิจนำเที่ยวจะมีพนักงานประจำเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า  
·       การจ้างมัคคุเทศก์  จะพิจารณาจากผลการทดลองงาน เพื่อกำหนดอัตราค่าจ้าง  จำนวนมัคคุเทศก์จะขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่มาใช้บริการ              
การอบรมพนักงาน
                จะเน้นการให้บริการ เลือกบุคลากรที่มีบุคลิกภาพที่ดี และมีใจรักด้านบริการ      
               
วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค
      ข้อดีและข้อด้อย
                ข้อดี
1.             เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะการเป็นตัวแทนรับจองตั๋วเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำลงทุนต่ำ เครื่องมืออุปกรณ์ไม่แพง สามารถหาซื้อง่าย
2.             ผู้ประกอบกิจการที่รักการเดินทางท่องเที่ยวสามารถหาความรู้เพิ่มเติมทักษะประสบการณ์ได้ตลอดเวลา
                ข้อด้อย
1.             พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีใจรักด้านการบริการจะหาได้ค่อนข้างยากมัคคุเทศก์ที่มีความสามารถหาได้ยาก
2.             ทำเลที่เหมาะสมมีค่อนข้างจำกัด ต้องเสียค่าเช่าในอัตราสูง
                 โอกาสและอุปสรรค
                โอกาส
1.             ผู้ใช้บริการนำเที่ยวในปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สนใจใช้บริการเพิ่มขึ้น
2.             รัฐบาลโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยว
3.              ค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ราคาสินค้า อาหารและที่พักในประเทศถูกลง จูงใจให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
4.             ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นจำนวนมากและมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
5.             ประเทศไทยมีการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและการคมนาคมสะดวกรวดเร็ว
                อุปสรรค
1.             การปรับราคาของค่าโดยสารเครื่องบิน รถทัวร์และค่าใช้จ่ายด้านที่พัก/โรงแรม
2.             แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งที่มีผู้ไปใช้บริการจำนวนมากขาดการปรับปรุงพัฒนาทำให้มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
3.             การจราจรในกรุงเทพค่อนข้างหนาแน่น ติดขัดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน
4.             ปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

ข้อเสนอแนะ
      ด้านการบริหารจัดการ
1.             ผู้ประกอบกิจการจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในธุรกิจให้บริการของตนเอง
2.             ผู้ประกอบกิจการต้องมีความเป็นผู้นำและมีพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ
3.             ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร
4.             ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกระดับ และมีระบบสิ่งจูงใจที่เหมาะสม
5.             สร้างความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
6.             ควรดำเนินการให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภาครัฐ
7.             ควรจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างมีทิศทาง
8.             เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับการบริหารธุรกิจอย่างใกล้ชิด
          ด้านการตลาด
                                                 การบริการและสถานที่ให้บริการ
                                การบริการ
1.             ให้บริการที่รวดเร็ว และตรงต่อเวลา แก่ผู้มาใช้บริการ
2.             ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ ยืดหยุ่น และเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ
3.             สร้างตราหรือเครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้าระลึกและจดจำได้ง่าย
4.             สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ
                                                สถานที่ให้บริการ
1.     เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมและสะดวกต่อการเดินทางมาติดต่อ
2.      ตกแต่งสำนักงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
                                                การส่งเสริมการขาย
1.    ลงโฆษณาในสื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
2.    ทำโบชัวร์ แผ่นพับ และเอกสารอื่นๆเพื่อเผยแพร่และแนะนำบริการ เพื่อแจกจ่ายยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
                ด้านบัญชีและการเงิน
1.             ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป
2.             มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป
3.             บริหารด้านการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง
4.             พยายามนำกำไรจากการดำเนินงานมาเป็นเงินทุนสำรองหรือใช้สำหรับการขยายธุรกิจ
5.             แยกบัญชีและการเงินระหว่างของธุรกิจและส่วนตัว
6.             ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง
7.             การนำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีและอื่นๆมาช่วยในการทำงาน
                                                                               
ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
โทร 0-2547-5954-5  โทรสาร 0-2547-5954

ตัวอย่าง  รายละเอียดเงินลงทุนของธุรกิจนำเที่ยว
รายการ                                                  จำนวนเงิน(บาท)
ค่าตกแต่งสำนักงาน                                                        65,000
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน                        
   - ชุดรับแขก                                                               3,400
   - โต๊ะ/เก้าอี้                                                              17,000
   - ตู้เอกสาร/ตู้โชว์                                                        11,000
   - เครื่องปรับอากาศ                                                       40,000
   - ตู้เย็น                                                                    5,200
   - เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์                                    126,000
   - เครื่องถ่ายเอกสาร                                                      40,000
   - เครื่องโทรสาร                                                           8,800
   - เครื่องโทรศัพท์                                                         36,000
   - เครื่องคิดเลข                                                             2,800
   - เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ                                                       12,000
                รวม                                                          302,200
เงินทุนหมุนเวียน                                                        390,000
                รวม                                                          757,200
ที่มา  ประมาณการจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย ในช่วงเดือน
          ธันวาคม พ.ศ.2543-มกราคม พ.ศ.2544 และปรับรายการลงทุนซึ่งผู้ประกอบกิจการ
          ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนและมีความจำเป็นต่ำออก




ตัวอย่าง   รายละเอียดรายรับ - รายจ่าย ของธุรกิจนำเที่ยว
รายการ                                                                                                    จำนวนเงิน(บาท)
รายรับ                                                                                                                      1,776,000
รายจ่าย                                                                                                   
   - เงินเดือนพนักงาน                                                                                            641,400
   - ค่าจ้างรายวัน                                                                                                        73,200
   - ค่าเช่าสถานที่                                                                                                     193,440
   - ค่าเช่ายานพาหนะ                                                                                             144,000
   - ค่าเช่าเครื่องมืออุปกรณ์                                                                                      28,200
   - ค่าวัสดุสิ้นเปลือง                                                                                                 14,550
   - ค่าน้ำมัน                                                                                                                36,000
   - ค่าน้ำประปา                                                                                                          1,572
   - ค่าไฟฟ้า                                                                                                               49,800
   - ค่าโทรศัพท์                                                                                                         85,800
   - ค่าประกันภัย                                                                                                       32,635
   - ค่าภาษีต่างๆ                                                                                                        10,140
   - ค่าต่อทะเบียน                                                                                                       7,000
   - ค่าทำบัญชี                                                                                                            17,000
   - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                                                              60,460
   - ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย                                                                 155,958
            รวม                                                                                                         1,551,155
กำไร(ขาดทุน)ก่อนหักภาษีเงินได้                                                                       224,845
หัก ภาษีเงินได้(30%)                                                                                               67,454
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ                                                                                                 157,392
ที่มา  ค่าเฉลี่ยจากผลประกอบการปี พ.ศ.2543 ของผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย



ตัวอย่าง การคำนวณราคา ผู้ประกอบกิจการนำเที่ยวรายหนึ่งลงทุนเช่าอาคารพาณิชย์  3 ชั้น 1 คูหา อายุสัญญาเช่า 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 7,000 บาท มีพนักงานประจำ 3 คนและมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

1.    ต้นทุนคงที่
1.1  ต้นทุนคงที่ที่เป็นตัวเงิน (ต่อปี)
(1) ค่าเช่าอาคาร                                 =             84,000                               บาท
(2) เงินเดือนพนักงาน                            =           180,000                               บาท
(3) ค่าไฟฟ้า                                     =             48,000                               บาท
(4) ค่าน้ำประปา                                 =               6,000                               บาท
(5) ค่าโทรศัพท์                                         =           240,000                               บาท
(6) ค่าประกันภัย                                 =             20,000                   บาท
(7) ค่าภาษี                                      =             50,000                   บาท
(8) ค่าทำบัญชี                                   =              36,000                  บาท
        รวม                                    =            664,000               บาท
1.2  ต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นตัวเงิน
                                (1)     ค่าตกแต่งอาคาร 20,000 บาท
คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                        =              4,000                                บาท
                (2)  ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน 207,000 บาท
                       คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                       =            41,400                                บาท
                             รวม                                    =            45,400                บาท
                รวมต้นทุนคงที่ทั้งหมดต่อปี                       =          709,400        บาท

2.    ประมาณการจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการต่อปี
2.1 ในเวลา 1 ปี สามารถให้บริการลูกค้าได้สูงสุด        =              1,200                    คน
2.2 ประมาณการมีลูกค้ามาใช้บริการร้อยละ 80                   =                 960                    คน

        3. ต้นทุนคงที่จัดสรรต่อคน                  =           709,400       =          738.96   บาท
                                                                            960

        4. ต้นทุนผันแปรต่อคนต่อโปรแกรม (โปรแกรมนี้มีผู้เดินทาง 30 คน) (บาท/คน)
                       4.1 ค่าเช่ายานพาหนะ 30,000 บาท เฉลี่ยต่อคน                =             1,000                     บาท
               4.2 ค่าที่พักแรม                                     =             1,200                     บาท
                       4.3 ค่าอาหาร                                     =                400                     บาท
               4.4 ค่าน้ำมันรถ 3,000 บาท เฉลี่ยต่อคน               =                100                     บาท
               4.5 ค่ามัคคุเทศก์ 1,500 บาท เฉลี่ยต่อคน               =                  50          บาท
                        รวม                                    =             2,750           บาท

        5. ต้นทุนทั้งหมดต่อคน           = 2,750.00   +  738.96     =           3,488.96               บาท

        6. ผู้ประกอบกิจการต้องการมีกำไรร้อยละ 30 ของต้นทุนทั้งหมด =      1,046.69               บาท

        7. ผู้ประกอบกิจการตั้งราคาให้บริการโปรแกรมท่องเที่ยวต่อคน
                                                                                                             =   3,488.96 + 1,046.69                  บาท
                                                                =   4,535.65                         บาท

                                            หรือประมาณ          = 4,500                 บาท/โปรแกรมท่องเที่ยว  

No comments:

Post a Comment