1/02/2015

เคาน์เตอร์ทัวร์ต้องขอใบอนุญาตหรือไม่

เคาน์เตอร์ทัวร์ต้องขอใบอนุญาตหรือไม่

โทร ไปแล้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องจด .. ก็เลยไม่แน่ใจแล้วค่ะ คืออย่างนี้นะคะ ขออธิบาย ให้ละเอียดไปเลยก็แล้วกันค่ะ คือว่าดิฉันจะเปิดร้านนะคะ ตั้งใจไว้ว่า จะติดต่อการ รถไฟ บริษัท เฟอรรี่ ขอเป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋ว นอกจากนั้นแล้ว ก็จะขายทัวร์ด้วย ทัวร์ที่ว่านี้ ไม่ได้นำเที่ยวเอง ไม่ได้จัดโปรแแกรมเอง แต่จะไปนำโบรชัวร์ของทัวร์ท้องถิ่น แต่ละที่มาให้ลูกค้าดู ขาย แล้วก็ส่งแขกไปให้ ผู้ทำทัวร์แต่ละที่ดูแลลูกค้าเอง เราก็เก็บมาเฉพาะ ค่าคอมมิชชั่น แบบนี้ค่ะ ต้องจดหรือเปล่าคะ
เรียนคุณ NANA
                    หากคุณNANA ดำเนินกิจการขายโปรแกรมนำเที่ยวใหกับนักท่องเที่ยวในนามของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวอื่น ที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้อง โดย คุณNANA มีการออกเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้น ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวไว้เป็นหลักฐาน คุณNANA จึงไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากนายทะเบียน แต่หากปรากฎว่า คุณNANA ขายโปรแกรมนำเที่ยวโดยออกเอกสารหลักฐานใบเสร็จรับเงินในนาม คุณNANA การ ดำเนินการดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากนายทะเบียน มิฉะนั้น จะถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 15 ประกอบมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551


ใน แง่ของการประกอบธุรกิจทัวร์ ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นหากมีการดำเนินธุรกิจในรูปของนิติบุคคลก็จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า บุคคลธรรมดาครับ ซึ่งก็จะต้องแลกด้วยความยุ่งยาก ภาระภาษีและหน้าที่ในการจัดทำและยื่นงบการเงิน ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่มากกว่าบุคคลธรรมดาครับ 

ดังนั้นในอันดับแรก ควรสอบถามตัวเองก่อนครับว่า จะเลือกดำเนินธุรกิจในรูปของบุคคลหรือนิติบุคคล เพราะจะมีผลกระทบเกี่ยวกับภาระภาษี ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะตามมาครับ

หากไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินธุรกิจในรูปของนิติบุคคล ก็ให้เลือกดำเนินธุรกิจในรูปของบุคคลธรรมดาดีกว่าครับ
เพิ่มเติมคือ
ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า นะครับ



ภาษีที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้างครับ
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ( ขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจที่คุณเลือก )

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่มีรายได้ในปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาทก่อนหักรายจ่าย และให้ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 116/2545 เพิ่มเติม
 
http://www.rd.go.th/publish/10511.0.html
 

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีที่เป็นผู้รับ ถ้าผู้จ่ายเป็นนิติบุคคล ทางเราก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 3 ส่วนในด้านการจ่าย หากเราเลือกรูปแบบในการดำเนินธุรกิจเป็นนิติบุคคล เมื่อเราจ่ายค่าบริการก็จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 

http://www.rd.go.th/publish/3479.0.html
 

4. อากรแสตมป์ ในกรณีที่มีการทำเป็นสัญญา
 

5. แนะนำให้ลองศึกษาข้อหารือที่ กค 0811/11473 วันที่ : 12 ธันวาคม 2544 เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีกิจการท่องเที่ยว 

http://www.rd.go.th/publish/25227.0.html
 

6. ภาษีป้าย ในกรณีที่มีการทำป้ายโฆษณา
 

No comments:

Post a Comment