6/26/2014

การเต้นลีลาศจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า (CHA CHA CHA)

ช่าะช่ำช่า เพลง สุขกันเถอะเรา





Basic 
















Grapevine



รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "ชาย" 




รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "หญิง" 







 โชว์เดอร์ ทู โชว์เดอร์ (Shoulder To Shoulder)

รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "ชาย" 





รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "หญิง" 




 อันเดอร์ อาร์ม เทิน (Under arm turn)

รายละเอียดการเดินและรอยเท้าของฝ่ายชาย มีดังนี้







การเต้นลีลาศจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า (CHA CHA CHA)

ในบรรดาจังหวะเต้นรำแบบละตินอเมริกันที่มีอยู่ด้วยกัน 5 จังหวะนั้น ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นจังหวะเต้นรำที่มีกำเนิดหลังสุด กล่าวคือเป็นจังหวะที่รับการพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ ( MAMBO) ซึ่งในอดีตเรียกชื่อจังหวะนี้เต็มๆ ว่า แมมโบ้ ช่ะ ช่ะ ช่า ต้นกำเนิดมาจากคิวบันการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากอิทธิพลของดนตรีที่พัฒนาไป ทำให้การเต้นรำพัฒนาตามไปด้วย
     ต้นกำเนิดของ ช่ะ ช่ะ ช่า เริ่มในปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ดนตรีของคิวบันได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษนั้นได้มีเพลงจังหวะสวิง (SWING) ซึ่งเกิดใหม่และนิยมกันมากเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบัน ทำให้เพลงของคิวบันที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้เคาะจังหวะเริ่มเล่นพลิกแพลงผิดเพี้ยนออกไป เริ่มเคาะให้ไม่ลงจังหวะ ( OFF BEAT) สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่า “ แมมโบ้ ” และมีการสาธิตเต้นรำจังหวะแมมโบ้ ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเต้นรำ แบบบอลรูมที่แบลคพูลประเทศอังกฤษ ( INTERNATIONAL DANCE CONGRESS IN BLACKPOLL) รูปแบบการเต้นแมมโบ้พื้นฐานก็คือ ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วถอยกลับ 2 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าว แล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว
(ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่) แมมโบ้ได้รับความนิยม ทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลงสำหรับการเต้นจากแมมโบ้ที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าว และชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าว ซึ่งเป็นรูปแบบของ ช่ะ ช่ะ ช่า ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก     การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นักดนตรีของวง “ ซีซ่า วาเลสโก ” ได้นำลีลาการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย ซึ่งลีลาการเต้นนี้เป็นที่ประทับใจบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม

ลวดลายที่ใช้เต้นรำในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีอยู่หลายลวดลาย ณ ที่นี้จะนำเสนออยู่ 7 ลวดลาย ดังนี้มาเริ่มเรียนรู้ในลวดลายแรกกันเลย 

1. เบสิคมูฟเมนท์  (ฺBasic movement)
2. 
อันเดอร์ อาร์ม เทิน (Under arm turn) 
3. 
โชว์เดอร์ ทู โชว์เดอร์ (Shoulder to shoulder)
4. Grapevine
5. ออกเดี่ยว
6. ท่าใหม่
7. นิวยอร์ก (New York)
มาเริ่มเรียนรู้ในลวดลายแรกกันเลย 
  เบสิคมูฟเมนท์  (Basic movement)


   รายเอียดการก้าวเดินของฝ่ายชาย ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา 
ปริมาณการหมุน : หมุนตัวไปทางซ้าย 1/8 รอบในก้าวที่ 3 และหมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/8 รอบในก้าวที่ 8 นั่นคือเมื่อเดินครบ 10 ก้าวแล้วจะหมุนตัวไปทางซ้าย 90 องศา หรือ 1/4 รอบ ควรฝึกลวดลายนี้จนกระทั่งเต้นได้ถูกต้องตรงตามจังหวะดนตรีแล้วจึงฝึกลวดลายอื่น ๆ ต่อไป



ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด และน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย 
ปริมาณการหมุน : หมุนตัวไปทางซ้าย 1/8 รอบในก้าวที่ 3 และหมุนตัวไปทางซ้ายอีก 1/8 รอบในก้าวที่ 8 นั่นคือ เมื่อเดินครบ 10 ก้าวจะหมุนตัวไปทางซ้ายครบ 90 องศาหรือ 1/4 รอบ ควรฝึกลวดลายนี้จนกระทั่งเต้นได้ถูกต้องตรงตามจังหวะดนตรีแล้วจึงฝึกลวดลายอื่น ๆ ต่อไป 




 อันเดอร์ อาร์ม เทิน (Under arm turn)



การเต้นลีลาศจังหวะช่ะ ช่ะ ช่า (CHA CHA CHA)... (ต่อ)

 โชว์เดอร์ ทู โชว์เดอร์ (Shoulder To Shoulder)

รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "ชาย" 


รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "หญิง" 


 Grapevine



รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "ชาย" 




รายละเอียดการเดิน การก้าว และรอยเท้าของฝ่าย "หญิง" 




 ออกเดี่ยว



อีกหนึ่งลวดลายในการเต้นลีลาศจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มาดูรายละเอียดการก้าวเดิน และรอยเท้าของฝ่ายชาย - หญิง ด้วยการเิริ่มต้นท่า Basic



 ท่าใหม่

รายละเอียดรูปแบบการเดิน จังหวะ และรอยเท้าของฝ่าย"ชาย" มีดังนี้ เริ่มด้วยด้วยท่าเดิน Basic


รายละเอียดรูปแบบการเดิน จังหวะ และรอยเท้าของฝ่าย"หญิง" มีดังนี้ 


 นิวยอร์ก (New York)

นิวยอร์กเป็นลวดลายที่ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกหัดควรทำต่อจาก เบสิค มูฟเม้นท์ ต่อเมื่อได้ฝึกลวดลายอื่น ๆ แล้วจึงเต้นเชื่อมเข้ากับลวดลายอื่น ๆ เช่น ฮอกกี้ สติ๊ก ต่อไป
รายละเอียดรูปแบบการเดิน จังหวะ และรอยเท้าของ่าย"ชาย" มีดังนี้ 
ท่าเริ่มต้น
 : เริ่มต้นด้วยการจับคู่แบบปิดแล้นำคู่เต้นเข้าสู่ นิวยอร์ก โดยในก้าวที่ 6 – 10 ของเบสิค มูฟเม้นท์ ฝ่ายชายจะปล่อยมือขวาที่จับอยู่ด้านหลังและยกขึ้นข้างลำตัว ยืนห่างจากคู่พอสมควร 

การจบ
 : เมื่อเต้นลดลายนี้ครบ 15 ก้าวให้ต่อด้วย สปอต เทิร์น ซึ่งเปนการหมุนตัวอยู่กับที่ไปทางซ้าย 



นิวยอร์ก ของหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้

     ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการจับคู่แบบปิดแล้วเต้น เบสิค มูฟเม้นท์ ในก้าวที่ 6 – 10 ผู้หญิงจะปล่อยมือซ้ายออกจากคู่


ยกแขนด้านนี้ขึ้นข้างลำตัว
การจบ : เมื่อเต้นลวดลายนี้ครบ 15 ก้าวให้ต่อด้วย สปอต เทิร์น ซึ่งเป็นการหมุนตัวอยู่กับที่ไปทางขวา



ภาพรอยเท้าของฝ่ายชาย - ฝ่ายหญิง ของการเต้นนิวยอร์ก จังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า

No comments:

Post a Comment