1/02/2012

เจ้าแม่อุมา เทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุด

 พระอุมาเทวี (เทวนาครี: सती) หรือพระศรีมหาอุมา หรือ ปารวตี เป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา
 พระอุมาเป็นชายาขององค์พระศิวะบรมเทพแห่งสวรรค์ 
มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ 
พระบรมเทพขันทกุมาร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และ 
พระบรมเทพศรีมหาคเนศ หรือ พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล 

พระอุมานั้นทรงมีหลายปางด้วยกันแต่ปางที่เป็นที่รู้จักมากคือ(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)


  1. ปางพระแม่กาลี (พะนางกรีกกาลราตรี) โดยมีลักษณะดังนี้ มี 10 พระกร ถืออาวุธครบมือ แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก สังวาลเป็นงูมีลักษณะดุร้าย
  2. พระศรีมหาทุรคาเทวีโดยมีลักษณะดังนี้ มี 8 ถึง 12 พระกร ลักษณะดุทรงเสื้อ เทศกาลที่มีการบูชาพะอุมาคือเทศกาลนวราตรีคุเซราห์ 

    
พระแม่อุมาเทวี... เจ้าแม่อุมา หรือ ปารวตี คือพระนามแห่งพระแม่ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุด พระองค์ทรงประทานยศถาบรรดาศักดิ์ และความเป็นใหญ่แก่ผู้หมั่นบูชาต่อพระองค์อย่างสม่ำเสมอ..!!!

อำนาจแห่งพระแม่อุมานั้น ยิ่งใหญ่หาสิ่งใดเทียบได้ พระองค์ทรงประทานชัยชนะเหนือศัตรู ประทานกำลังวังชาแห่งอิสตรี ทำลายสิ่งชั่วช้า ตลอดจนประทานบริวารและอำนาจในการปกครอง พระองค์ยังทรงประทานพรด้านความสมบูรณ์ ความอิ่มเอม ความผาสุขในการครองเรือน ครอบครัวที่เปี่ยมสุข ตลอดจนการคุ้มครองผู้ศรัทธาให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

   Ganesh_Family1  
พระแม่อุมา ทรงเป็นมารดาแห่ง พระพิฆเนศ.และพระขันธกุมาร.. เป็นชายาแห่ง พระศิวะ มหาเทพผู้ทำลายโลก 1 ใน 3 แห่ง พระตรีมูรติ พระแม่อุมาจึงเป็น 1 ใน 3 แห่งพระตรีศักติ ด้วย (ตรีศักติหมายถึง พระแม่ทั้งสาม ได้แก่ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี) พระองค์มีวิมานสถิต ณเขาไกรลาส เช่นเดียวกับพระศิวะเทพ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์คือ โยนี (ฐานรองศิวลึงก์) มีทิพยรูปเป็นหญิงที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์หลากสีสัน ประดับด้วยทองคำอย่างวิจิตร (จาก  http://www.siamganesh.com)
พาหนะแห่งพระแม่อุมาเทวี คือ เสือ อันหมายถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ และความสง่างาม

ศาสตราวุธ 
แห่งพระแม่อุมาเทวีคือ
- ตรีศูล เป็นสัญลักษณ์แห่งการปราบปรามสิ่งชั่วร้าย และ 
- ดาบ 
คือสัญลักษณ์แห่งความเฉียบขาด เป็นผู้ตัดสิน และอยู่เหนือผู้อื่น
  
พระแม่อุมาเทวี (เจ้าแม่อุมา) มีอวตารอยู่หลายปาง ปางที่สำคัญที่สุดอีก 2 ปางจากพระแม่อุมา คือปางพระแม่ทุรคา (ทุรกา) และ ปางพระแม่กาลี (เจ้าแม่กาลี) อ่านได้จากบทความตำนานพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี
อีกปางหนึ่งที่อยากแนะนำ แต่ไม่ค่อยมีคนไทยรู้จัก นั่นคือ ปางพระแม่อุมาตากี คือการอวตารของพระแม่อุมาเทวี ที่รวมเอาพระแม่อีก 2 พระองค์เข้าไว้ด้วย คือ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี ได้อวตารรวมเป็นร่างเดียวกัน เหมือนกับพระตรีมูรติ นิยมนับถือกันในหมู่ผู้นับถือนิกายศักติ หรือนิกายที่นับถือเฉพาะเทพสตรีทั้ง 3 พระองค์ว่ายิ่งใหญ่เหนือกว่า พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ อันเป็นเทพบุรุษสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

การบูชาพระแม่อุมา

โต๊ะ
 หรือ แท่นบูชา สำหรับพระแม่อุมาเทวี ควรปูด้วย ผ้าสีขาว สีทอง สีแดง สีเงิน (หากไม่มีผ้าสำหรับปู สามารถใช้สีทาได้)
ดอกไม้ที่พระองค์โปรด คือ ดอกไม้ที่มี สีเหลือง และ สีแดง โดยเฉพาะ ดอกดาวเรือง ดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบ
ควรมี ธูปหอม หรือ กำยาน ไว้จุดเพื่อถวายกลิ่นหอมด้วย และสามารถใช้ เตาน้ำมันหอม (แบบอโรม่า) เติมน้ำมันหอมระเหยแล้วจุดเพื่อถวายกลิ่นหอมได้เช่นกัน

เทศกาลสำคัญแห่งการบูชาพระแม่อุมาเทวี คือ เทศกาลนวราตรี ตรงกับวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 จะมีการประกอบพิธีกรรมบูชาพระแม่อุมาเทวีในอวตารต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ไม่แพ้เทศกาลคเณศจตุรถี มีการถวายเครื่องสังเวยอย่างอลังการ สรงน้ำองค์เทวรูป สวดมนต์บูชาตลอดวันตลอดคืน มีการแห่องค์เทวรูปพระแม่อุมาไปรอบโบสถ์และรอบเมือง ผู้บูชาจะต้องทานอาหารมังสวิรัติ ผู้เคร่งครัดการบำเพ็ญจะถือศีลอดตลอดระยะเวลา 9 วัน
อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมที่มีรสชาติมัน ปราศจากเนื้อสัตว์ และไม่มีกลิ่นหอมแรงเกินไป สามารถนำขนมโมทกะ หรือขนมลาดู (ขนมชนิดเดียวกับที่ถวายพระพิฆเนศ) มาถวายก็ได้เช่นกัน ตลอดจนผลไม้ และธัญพืชทุกชนิด


Goddess Parvati is the wife of Lord Ishwara. She has several names, each with a special significance. Since Ishwara or Shiva is also called 'Bhava' his wife is known as 'Bhavani.' She is 'Parvati', being the daughter of the king of mountains, Parvataraja. With the  same connotation she has two other names - 'Girija' and 'Shailaja'. As she I the source of all good things to all those who have faith and follow the  path of virtue, she is 'Sarvamangala.'Since her childhood days she was a devotee of Lord Shiva. She would constantly engage herself in meditation and worship of Shiva, without even   changing the posture. So her mother Mena would out of exasperation say "Parvati, don't do this tapas (meditation)." In Sanskrit ‘u’ is a word of address and 'ma' means 'don't' or 'not wanted’ Hence she got the name 'Uma'.

(Sanskritपार्वती PārvatīMalayalamപാര്‍വതി ParvathyMalay: Parwati, Thai: Nang Uma-Devi) is a Hindu goddess. Parvati is also regarded as a representation of Shakti, albeit the gentle aspect of that goddess because she is a mother goddess. Parvati is considered by some schools of Hinduism as the supreme Divine Mother or Lordess and all other goddesses are referred to as her incarnations or manifestations. Shaktas consider her as the ultimate Divine Shakti — the embodiment of the total energy of the universe.
After she grew up, she perforrmed a severe penance in the forest with the  purpose of securing Lord Shiva as her husband. Much moved by the hardship endured by her tender body, Mena frequently went near her fondly calling her "Uma", Uma." Who would not be thrilled by the story of the life of Parvati who, though born human, became, through hard penance the consort of Shiva and became Mahadevi, the great goddess?
Affection for and obedience to the  elders, loyalty to tradition, determination steady devotion to Shiva, kindness towards those in trouble, perseverant effort till the completion of a good deed-these are the traits Parvati had. Her story is narrated in Sanskrit by Vyasa in the Shiva purana. The great poet Kalidasa has narrated it in the poem Kumara-Sambhava. The Kannada poet Harihara has dealt with the story  in Girija-Kalyana, a mixture of verse and prose.
 Parvati
Parvati is nominally the second consort of Shiva, the Hindu god of destruction and rejuvenation. However, she is not different from Satī, being the reincarnation of that former consort of Shiva. Parvati is the mother of the gods Ganesha and Skanda (Kartikeya). Some communities also believe her to be the sister of god Vishnu. She is also regarded as the daughter of the Himalayas.
Parvati when depicted alongside Shiva appears with two arms, but when alone, she is shown having four arms, and astride a tiger or lion. Generally considered a benign goddess, Parvati also has fearful aspects like DurgaKaliChandi, and the Mahavidyas as well as benevolent forms like Mahagauri, Shailputri, and Lalita.

No comments:

Post a Comment