3/03/2013

ผลิตภัณฑ์ทอผ้าแบบกะเหรี่ยงภูมิปัญญาชาวบ้าน อ.ดอยเต่า เชียงใหม่

Taxi Chiangmai and Private Tour by Patrick 081 617 2116 Oversea Call +66 81 617 2116 E-mail:  neomart@gmail.com


ผลิตภัณฑ์ทอผ้าแบบกะเหรี่ยงภูมิปัญญาชาวบ้าน อ.ดอยเต่า

SHARE THIS
TAGS
สตรีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง รู้จักและคุ้นเคยกับทอผ้าแบบดั้งเดิมมาช้านาน การทอผ้าแบบกะเหรี่ยงมีความแตกต่างกับการทอผ้าที่เรารู้จัก เพราะไม่ต้องใช้กี่ แต่ใช้อุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้เพียงไม่กี่ชิ้น และใช้ลำตัวหรือเอวเป็นตัวยึด แต่เดิมสตรีกะเหรี่ยงบ้านหนองปู ต.ปงตัน อ.ดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ทอผ้าแบบดั้งเดิมเพื่อใช้ในครอบครัวแบบครบวงจร กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นด้วย ทอผ้าผืน และทำผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยความแห้งแล้งการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักไม่ได้ผล จึงต้องหารายได้เพิ่มด้วยอาชีพทอผ้าที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว ได้มีการรวมกลุ่มปรึกษาหารือกันว่า ควรดำเนินการแบบครบวงจรเพื่อให้มีรายได้ทั้งชายและหญิง แบ่งหน้าที่กันตามสภาพ ให้มีส่วนร่วมกันอย่างทั่วถึงตั้งแต่ส่งเสริมการปลูกฝ้ายเป็นวัตถุดิบ และปั่นด้ายมาใช้เอง
จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและกลุ่มสตรีทอผ้ากะเหรี่ยงได้กล่าวสีที่ใช้ย้อมเส้นด้ายแต่เดิมใช้สีวิทยาศาสตร์ที่ฉูดฉาด แต่ไม่เป็นที่นิยมของตลาด ให้มีการนำวัสดุธรรมชาติ เช่น ขมิ้น ข่า ขี้เหล็ก อัญชัญ ตะโก ประดู่ มาริดไม้ (เพกา) ฯลฯ เพื่อให้ได้สีที่เป็นที่ธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งปรับปรุงพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าหลากหลายยิ่งขึ้น จากแต่เดิมที่มีเพียงย่ามและเสื้อเท่านั้น เพิ่มผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า ผ้าคลุมตู้เย็น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ที่ใส่ซองจดหมาย ฯลฯ  โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ เช่น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอดอยเต่าสนับสนุนให้มีการพัฒนาอาชีพทั้งโดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้เทคนิคเพิ่มเติม หรือให้มีการศึกษาดูงานแหล่งอื่น, สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความรู้ด้านการใช้วัสดุธรรมชาติในการย้อมผ้า
กระบวนการผลิตนำฝ้ายที่ปลูกมาปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยตนเองของชาวบ้าน เริ่มมีปัญหาเรื่องการผลิตวัตถุดิบ กล่าวคือ ฝ้ายปลูกได้เพียงฤดูกาลเดียว คือ ปลูกในหน้าฝนและเก็บเกี่ยวหน้าหนาว ผนวกกับพื้นที่ทำกินมีจำกัด วัตถุดิบจึงไม่เพียงพอต้องซื้อหาจากร้านค้าในตัวจังหวัด ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงตามไปด้วย ส่วนการตลาดที่ยังคงอาศัยพ่อค้าคนกลาง และราคาจำหน่ายที่ไม่แต่นอนรวมทั้งรูปแบบการผลิตที่ต้องคิดและสร้างใหม่ ๆ ขึ้นมาให้เป็นที่ถูกตาต้องใจตลาด
โดยศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอดอยเต่า ได้เข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ สนับสนุนการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่มีเพียงไม่กี่อย่างให้หลากหลายมากขึ้น และเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์โดยการศึกษาดูงานแหล่งความรู้ นอกจากนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันสวยงามเป็นที่ต้องการตลาด แต่เดิมใช้สีวิทยาศาสตร์ย้อมฝ้ายทำให้สีสันฉูดฉาด เปลี่ยนมาใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น มะริดไม้ (เพกา) ขี้เหล็ก ข่า ฯลฯ
กาชาดจังหวัดเชียงใหม่สนับสนุนการก่อสร้างอาคารทอผ้า ๑ หลัง และหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานและทุนหมุนเวียนอีก เช่น มูลนิธิเขื่อนภูมิพล, พัฒนาชุมชนอำเภอ, อบต.บงตัน, นิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพล
นับล่วงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ที่มีการร่วมกลุ่มทอผ้าบ้านหนองปู ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาตั้งแต่กรรมวิธีการผลิต การพัฒนารูปแบบ การตลาด โดยวิธีการผลิตที่มุ่งเน้นให้มีเอกลักษณ์ภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยง รวมทั้งการพัฒนารูปแบบการผลิตให้มีลวดลายเป็นที่ต้องการของตลาดส่วนใหญ่ ใช้เทคนิคการย้อมที่ให้สีธรรมชาติและไม่ตกสี ค้นหาวัสดุธรรมชาติที่ที่หาได้ในท้องถิ่นมาใช้ในการย้อมสีเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสีสันใหม่ ๆ ด้านการตลาดแต่เดิมให้พ่อค้ามารับซื้อในหมู่บ้านไปจำหน่ายตามแหล่งต่าง ๆ ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับพ่อค้ากำหนด ส่งไปจำหน่ายโดยตรง และเมื่อมีผลิตเพิ่มมาก จึงได้มีการขยายทางด้านการตลาด ผนวกกับรัฐบาลสนับสนุนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล
เมื่อปี ๒๕๔๕ นำผลิตภัณฑ์ส่งเข้าประกวดที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ได้รับรางวัลที่ ๓ ประเภทผ้าทอ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัดด้วย โดยขณะนี้มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากที่ทำการกลุ่มในหมู่บ้านแล้ว ยังมีจำหน่ายที่ ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร้านคูลาน แกลลอรี่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และร้านสุนทรี ร้านเฮือนฝ้ายด้ายงาม อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ผู้ที่สนใจสามารถเลือกซื้อหาหรือเป็นตัวแทนจำหน่ายได้

No comments: