3/03/2013

“กุหลาบเวียงพิงค์” เป็นสัญลักษณ์และเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่

Taxi Chiangmai and Private Tour by Patrick 081 617 2116 Oversea Call +66 81 617 2116 E-mail:  neomart@gmail.com


เส้นทางสาย กุหลาบ ล้านนา

SHARE THIS
TAGS
กุหลาบได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งดอกไม้” เป็นสื่อแห่งความรักความปรารถณาดี แต่สำหรับล้านนาได้ชื่อว่า “กุหลาบเวียงพิงค์” เป็นสัญลักษณ์และเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ดอกสีสวยกลีบดอกงามๆที่ยังสื่อความงามความหมายเรื่องราวประวัติศาสตร์วัฒนธรรมมาของช่วงสมัย เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบเวียงพิงค์แห่งล้านนา ที่นำพาให้เราร่วมเดินทางค้นหา
กุหลาบ นั้นนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงดงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่าได้  จนได้รับชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งดอกไม้” (Queen of flower) กุหลาบถือกำเนิดมานานประมาณ  30  ล้านปี มาแล้ว  มีทั้งหมดประมาณ 200 สปีชี่ส์  ในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาพัฒนาสายพันธ์มานานนับร้อยๆ ปี
กุหลาบ เป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาตั้งแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของ กุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน  ประเทศสหรัฐอเมริกา พิสูจน์ได้ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง  40  ล้านปี  แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้  เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่างๆ มากมาย
ความจริงแล้วกำเนิดของ กุหลาบ หรือ กุหลาบป่า นี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้น ศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือ แถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย  แอฟริกาเหนือ  แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย
ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรด์จีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว  ที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญเป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย
บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ
จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa  จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง
กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอก กุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ
กุหลาบมาจากคำว่า “คุล” ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า “สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ” และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า “คุล” แปลว่า “ดอกไม้” และคำว่า “คุลาพ” หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น “กุหลาบ” ส่วนคำว่า “Rose” ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า “Rhodon” ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก
กุหลาบ นั้นได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์  กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

No comments: