11/11/2012

วัดโลกโมฬี ตำนานสุริโยทัย เชียงใหม่


Posted by oishi-1 , ผู้อ่าน : 4598 , 21:27:53 น.   ข้อมูลจาก oknation.net

Taxi Chiangmai 081 617 2116 พงศ์ศักดิ์ มีทั้งราคาเหมาวัน ครึ่งวัน

วัดโลกโมฬี

ประวัติวัดโลกโมฬี

วัดโลกโมฬีสร้างขึ้นในสมัยใดนั้นยังหาหลักฐานได้ไม่แน่ชัดแต่จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ (ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔) มีความว่า " เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๐ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ล้านนารัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์เม็งรายและรัชกาลที่ ๓๑ หากนับแต่พระเจ้าลวจังกราช เป็นต้นมา พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม และมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระมหาอุทุมพรบุปผมหาสวามีเจ้า เมืองมติมา(เมืองเมาะตะมะ) จึงใช้ให้ราชบุรุษไปอัญเชิญพระมหาเถระเจ้ามาสืบศาสนาในล้านนาไทย แต่พระมหาเถระทรงชราภาพ จึงให้พระอนันทะเถระและพระเถระที่เป็นศิษย์อีก ๑๐ รูป มายังนครเชียงใหม่และจำพรรษาอยู่ที่วัดโลก" และการที่พระเจ้ากือนา นำพระเถระที่พระองค์เคารพศรัทธาและเป็นแขกต่างเมืองไปพักจำพรรษาที่วัดโลก วัดนั้นจะต้องเป็นวัดที่เหมาะสมใหญ่โต เป็นสัปปายะสถานเป็นแน่แท้.

สถานที่ตั้ง

วัดโลกโมฬี ตั้งอยู่ตำบลศรีศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ด้านทิศเหนือนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ตามประวัติแล้วชื่อของวัดปรากฏในสมัยของพระเจ้ากือนา ทรงโปรดให้คณะสงฆ์ของพระมหาอุทุมพรบุปผา มหาสวามี จำนวน 10 รูป จำพรรษาอยู่ที่วัดโลก สมัยพระเมืองแก้วในปี พ.ศ.2070 โปรดให้สร้างวิหารและมหาเจดีย์ ในปี พ.ศ.2088 พระเมืองเกษเกล้าถูกปลงพระชนม์ ได้นำอัฐิมาบรรจุไว้ที่เจดีย์วัดโลกนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2121 พระนางวิสุทธิเทวี ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ทิวงคต ได้ทำการถวายพระเพลิงและบรรจุอัฐิไว้ในเจดีย์วัดโลกนี้โบราณสถานแห่งนี้ประกอบด้วย ฐานอุโบสถและเจดีย์ ลักษณะเจดีย์มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ชั้น ถัดขึ้นไปเป็น ฐานปัทม์มีลูกแก้วคาด เส้น เรือนธาตุตั้งอยู่ในผังสี่เหลี่ยมยกเก็จด้านละ ครั้ง แต่ละด้านมีซุ้มจรนัมประดิษฐานพระพุทธรูป มุมเรือนธาตุมีเทวดาปูนปั้นประดับ มุมละ องค์ เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลายกเก็จซ้อนลดหลั่นกันรองรับองค์ระฆังกลม ปล้องไฉนและปลียอด วัดแห่งนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19ส่วนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมองค์เจดีย์มีอายุในช่วง พุทธศตวรรษที่ 21


  
ประวัติความเป็นมา

     วัดโลกโมฬี ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา พบว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองเชียงใหม่      สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่ได้ปรากฏชื่ออยู่ในตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ      (พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2514) พบว่าเมือปี พ.ศ. 1910 พระเจ้ากือนาธรรมมิกราช กษัตริย์ล้านนารัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ ์มังรายจนถึงรัชกาลที่ 31 นับตั้งแต่พระเจ้าลวจังกราช เป็นต้นมา   พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงเลื่อมใสในพระมหาอุทุมพรบุปผมหาสวามี      เจ้าเมืองมติมา (เมืองเมาะตะมะ) พระองค์ทรงให้ราชบุรุษไปอัญเชิญพระมหาเถระเจ้ามาสืบศาสนา ในล้านนาไทย     แต่พระมหาเถระทรงชราภาพมาก จึงให้พระอนันทะเถระและพระเถระที่เป็นศิษย์อีก 10     รูป มาสืบทอดพระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนาซึ่งคณะสงฆ์เหล่านั้นได้จำพรรษาที่วัดโลกโมฬี      อันเป็นสถานที่ใช้ในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากต่างเมือง กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2070 พญาเมือง เกศเกล้าได้ถวายบ้านหัวเวียงให้เป็นอารามวัดโมฬี และใน พ.ศ.     2071 ได้ทรงให้สร้างมหาเจดีย์และวิหารโลกโมฬี ต่อมาเมื่อพญาเกศเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์  เมื่อปี พ.ศ. 2088 เหล่าข้าราชการ ขุนนาง ได้ทำพิธีที่วัดแสนนอก นำพระบรมอัฐิมาบรรจุไว้ที่วัดโลกโมฬีนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านเหนือของพระอาราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงประจำพระองค์ จากนั้นเสนาอมาตย์จึงได้ทูลเชิญพระนางจิรประภา ราชธิดาขึ้นครองราชย์ บางตำนานให้ความเห็นว่า พระนางจิรประภา น่าจะเป็นพระมเหสีของพญาเมืองเกศเกล้า  เพราะมีบันทึกชื่อของพระนางว่า "พระนางจิรประภามหาเทวี" ซึ่งก็น่าจะเป็นชื่อของพระองค์ในสมัยพระนางจิรประภามหาเทวี  ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2088 - 2089 อันเป็นช่วงที่เหล่าขุนนางเรืองอำนาจ ทำให้เมืองเชียงใหม่อ่อนแอ  เป็นเหตุให้สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยายกทัพมาหมาย จะตีเมืองเชียงใหม่ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระนางจิรประภา มหาเทวี จึงรักษาเอกราชไว้ได้ ด้วยการแต่งเครื่องบรรณาการไปถวายขอเป็นมิตร พร้อมทูลเชิญ พระไชยราชาธิราชเสด็จมาทำบุญที่กู่พญาเมืองเกศเกล้าที่วัดโลกโมฬี  และยังพระราชทานทรัพย์สร้างกู่พญาเมืองเกศเกล้าใหม่ ด้วย 5000 เงิน กับผ้าทรง 1ผืนให้สมพระราชเกียรติ ในรัชสมัยของพระนางวิสุทธิราชเทวี กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์มังรายได้ทรงทำนุบำรุงในพระศาสนาอีกครั้ง ทรงเลื่อมใสในพระสังฆราชโลกโมฬีเจ้า จวบจนพระนางเสด็จทิวงคต พ.ศ. 2121 ได้มีการถวายพระเพลิงพระนางวิสุทธิราชเทวีและบรรจุพระอัฐิไว้ในบริเวณพระอาราม หลวงวัดโลกโมฬี   หลังจากนั้นเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2122 เป็นต้นมารวมระยะเวลานานกว่า  200 ปี ช่วงนั้นวัดวาอารามต่าง ๆ ถูกเผา ทำลายแต่วัดโลกโมฬีไม่ได้ถูกเผา เนื่องจากกษัตริย์เมืองเชียงใหม่     พระเจ้ามังทรานรมัยคุย ( ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนองครองราชย์ พ.ศ. 2122 - 2150      )ได้ทรงเมตตาธรรมพระมหาสมเด็จ วัดโลกโมฬีไว้กับวัดวิสุทธาราม และเป็นวัดสำคัญในพระราชสำนักมาโดยตลอด   จวบจนถึงสมัยของพระเจ้าสุทโธธรรมราชา พ.ศ. 2182 ได้ทรงมีพระราชศรัทธาถวายทานอันยิ่งใหญ่ให้วัดทุกวัดเป็นราชฐานทำบุญเดือนยี่เป็งบูชาพระพุทธรูป พระธาตุเจ้า พระภิกษุสามเณร และสมเด็จพระสังฆราชโลกโมฬี เป็นประจำทุกปีถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สำคัญในช่วงเวลานั้นแต่เดิมเมื่อปี   พ.ศ. 2440 วัดโลกโมฬีตั้งอยู่แขวงบ้านทับม่าน แคว้นเจ็ดยอด เจ้าอธิการ ชื่อ ตุ๊พวก นิกายเชียงใหม่ รองอธิการ ชื่อ ตุ๊คำ มีโฉนดออกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2482 ผืนที่ 1 มีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา ผืนที่ 2กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดโลกโมฬีถูกทิ้งให้ร้าง  จนถึงปี พ.ศ. 2502 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโลกโมฬีเป็นโบราณสถานแห่งชาติ     



  สิ่งที่น่าสนใจ

   

 เจดีย์วัดโลกโมฬี มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า เจดีย์ของวัดโลกโมฬีในปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ตำนานระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระเมืองเกศเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2071

 เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องที่เจดีย์วัดโลกโมฬี  การพัฒนารูปแบบได้เพิ่มความสูงของเจดีย์คือ ส่วนฐานได้แก่ชุดฐานปัทม์ ลูกแก้ว อกไก่ เพิ่มเป็น ๒ ชุดอย่างชัดเจนโดยฐานปัทม์ชั้นล่างไม่มียกเก็จ ที่ฐานปัทม์ชั้นที่สองมีจำนวนยกเก็จที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นมุมที่มีขนาดเล็ก  ส่วนกลาง ยังคงเป็นเรือนธาตุในผ้าสี่เหลี่ยมยกเก็จ ที่มีขนาดของมุมเล็กลง และจำนวนของมุมมากขึ้นเช่นเดียวกับฐานปัทม์ด้านล่าง ทั้งสี่ด้านของเรือนธาตุมีซุ้มจระนำ มีรูปแบบของซุ้มลดได้ กรอบซุ้มจระนำมีการผสมผสานกันทั้งกรอบแบบคดโค้ง และกรอบแบบวงโค้ง ตลอดจนแนวของลูกแก้ว อกไก่ที่ประดับเสารับซุ้มจระนำ ก็มีขนาดเด่นขึ้นกลายเป็นรูปงอนคล้ายบัวคว่ำที่เรียกกันว่า ปากแล  ส่วนยอด เหนือเรือนธาตุ มีการพัฒนาความสูงโดยเพิ่มจำนวนของชั้นลดรูปฐานปัทม์ลูกแก้ว      อกไก่ ยกเก็จซ้อนกันสามฐาน รับทรงระฆังและบัลลังก์สิบสองเหลี่ยม ปล้องไฉนและปลี  ซึ่งองค์ระฆังและบัลลังนั้น เป็นลักษณะร่วมของเจดีย์ทรงระฆัง ปี พ.ศ. 2544 คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีมติให้พระญาณสมโพธิ เจ้าอาวาสวัดดอยสุเทพราชวรวิหารเป็นประธานในการก่อสร้างและฟื้นฟูวัดโลกโมฬีให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา  โดยมี ดร. ดวงคำ อภิวัฑฒโน เป็นหัวหน้าสงฆ์ทำหน้าที่ดูแลรักษาตลอดมาและมีการเททองหล่อพระพุทธสันติจิรบโลกนาถพร้อมทั้งวางศิลากฤษ์พระวิหาร กระทั่งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 กรมการศาสนาได้อนุมัติให้ยกฐานะวัดโลกโมฬีจากวัดร้างให้เป็นพระอารามที่ถูกต้องตามกฎหมาย  และได้แต่งตั้งให้พระญาณสมโพธิเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการเททองรูปเหมือนพระนางจิริประภามหาเทวี  และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เศียรพระประธานในวิหารวัดโลกโมฬี สำหรับผู้สนใจเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่และต้องการเข้าไปสัมผัสกลิ่นไอแห่งพุทธศาสนาที่วัดโลกโมฬี

No comments: