11/11/2012

วัดพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน

ลำพูน จังหวัดเล็กๆ ในภาคเหนือที่เรื่องราวของประวัติศาสตร์ไม่ได้เล็กตามพื้นที่ แต่กลับยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในดินแดนล้านนา เดิมลำพูนมีชื่อว่า "นครหริภุญไชย" สร้างขึ้นราว พ.ศ.1200 โดยฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตร หรือละว้า ล่องเรือลงมาจากต้นแม่น้ำปิง เพื่อสร้างเมืองใหม่ ครั้นเมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระนางจามเทวี พระธิดาแห่งเมืองละโว้มาปกครองเมืองเป็นพระองค์แรก จากนั้นนครหริภุญไชยก็มีกษัตริย์ครองเมืองสืบต่อมาอีกหลายพระองค์ยาวนานกว่า 600 ปี ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา และต่อมาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกกว่า 200 ปีจนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี เจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าตากสินมหาราชขับไล่พม่าสำเร็จ จนได้ครองเมืองเชียงใหม่ แล้วให้เจ้าคำฟั่น น้องชายครองเมืองลำพูน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองลำพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมา จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร และยกฐานะเป็นจังหวัดลำพูนจนถึงปัจจุบันลำพูนในปัจจุบันมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในเชิงศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งวัดวาอาราม เจดีย์เก่าแก่ ศิลปะล้านนาแท้ที่มีลวดลายอันวิจิตรงดงาม อีกทั้งงานหัตถกรรมที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนานจนเป็นสินค้าขึ้นชื่อ อย่างผ้าไหมยกดอก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งปลูกลำไย กระเทียม แหล่งใหญ่ของภาคเหนือ ส่วนด้านอุตสาหกรรม ลำพูนนับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบน และมีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่

ทางเลือกใน ลำพูน, ประเทศไทย
จังหวัดลำพูนมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายรูปแบบ ทั้งวัดวาอาราม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น วัดพระธาตุหริภุญไชย วัดจามเทวี วัดมหาวัน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง เขื่อนภูมิพล เป็นต้น

แท็กฃี่จากเชียงใหม่ โทร 081 617 2116 พงศ์ศักดิ์ คิดราคาเป็นกันเอง แล้วแต่โปรแกรมการท่องเที่ยว แต่ขอแนะนำ ไหว้  3 พระธาตุสุดยอดของล้านนา นั่นคือ 
วัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง 
วัดพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน
วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
ทั้ง 3 ทีคิดราคา 3000 บาทพร้อมคนขับที่ชำนาญทาง และ มีอัธยาศัย รวมค่าน้ำมันเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะคนปีชงในปีต่างๆ

Posted by oishi-1 , ผู้อ่าน : 2701 , 22:11:39 น.   oknation.net


 
ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงพระราชให้เป็นสังฆาราม

            วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์

 “เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา




   พระบรมธาตุหริภุญชัย

ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำ เจดีย์ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับพระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ มีสัตถบัญชร (ระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือและทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม หอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระบรมธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนามาตั้งแต่สมัยโบราณ

ประวัติองค์พระธาตุก่อนเป็นองค์ปัจุบัน

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง

เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. ๑๙๕๑ โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. ๑๙๙๐ พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๙๒ ศอก กว้างยาวขึ้น ๕๒ ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

No comments: